ส่งเสริม “วินัยการออม”


เพิ่มเพื่อน    

เพิ่งผ่าน “วันเด็กแห่งชาติ” มาได้ไม่นาน เชื่อว่าหลายคนคงยังอินกับแนวคิดในการสนับสนุนให้ผู้ปกครองและเยาวชนให้ความสำคัญกับการออมอยู่ไม่มากก็น้อย โดยต้องยอมรับว่าเรื่องการออมไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ยาก แต่มีประโยชน์อย่างมหาศาลเลยทีเดียว

และที่บอกว่าเรื่องการออมไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องทำได้ยาก แต่ก็มีไม่มากก็น้อยคนที่ยัง “ทำไม่ได้” ส่วนหนึ่งคาดว่าน่าจะเพราะการขาดวินัยในการออม เรื่องวินัยถือเป็นประเด็นสำคัญ เพราะในโลกยุคปัจจุบันมีสิ่งเร้าที่กระตุ้นความต้องการใช้จ่ายอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหารการกินต่างๆ มากมาย เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีผลกับวินัยในการออมด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ระบุว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3 ปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 4.4%  

แม้ว่าความสามารถในการชำระหนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมแล้วจะพบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2.74% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 2.66% โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ และยังมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน แต่ไม่ถึง 3 เดือน ที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.26% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 3.20%

“สถานการณ์หนี้ครัวเรือน” อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ที่ผ่านมารัฐบาล โดยกระทรวงการคลังต้องมีการออกแนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญของการบริการการเงิน ให้รู้จักออมและรู้จักใช้จ่ายอย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้เองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาหนี้สินและมีเงินออมเพื่อใช้หลังเกษียณอายุอย่างพอเพียง สร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันการออมในระดับชุมชนได้มากขึ้น 

ทั้งการจัดทำแผนการส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ (วาระแห่งชาติ) โดยการเสนอร่างแผนการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน ปี 2560-2564 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยให้ความสำคัญกับการบริการเงินส่วนบุคคล และสามารถวางแผนและบริหารจัดการเงินของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีการสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันหรือองค์กรการออมที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในระบบ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสหกรณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกของสหกรณ์ โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันพิจารณาแนวทางการกำกับดูแล พร้อมทั้งการเพิ่มผลิตภัณฑ์การออมและมาตรการลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีเงินเหลือในการออม โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นจะเน้นการออมแบบระยะยาวเพื่อจูงใจให้ประชาชนมีการออมเพิ่มขึ้น

พร้อมทั้งยังมีการเติมเต็มระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ เช่น การเร่งรัดการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ...., การปรับปรุงกฎหมายของกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นต้น รวมทั้งยังมีการปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกระบบมีการออมเงินผ่านกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุโดยเฉพาะ “กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)” เพิ่มมากขึ้น

ที่เขียนตรงนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่ให้มีการใช้จ่ายในสิ่งเร้าต่างๆ แต่เพียงต้องการให้มีการกำหนดวิธีการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ เงินในหนึ่งจำนวน ควรมีการจัดสรรให้ลงตัว ทั้งการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และการใช้จ่ายพื่อตอบสนองความต้องการ แต่ในส่วนนี้ต้องไม่ลืมจัดสรรเงินมาเพื่อ “เก็บออม” ด้วย และหากมีการปลูกฝังเรื่องการออมให้กับเยาวชนมากขึ้นก็ยิ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน.   

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"