จากประชารัฐถึงไทยนิยม


เพิ่มเพื่อน    

    เกือบเป็นวาระแห่งชาติมั้ยล่ะ...
    "เมย์" กับ "เจ" เลิกกัน เป็นข่าวร้อนฉ่าทั้งวัน  
    โซเชียลแทบล่ม 
    สรุปคือไม่มีฤกษ์แต่งงาน สินสอดแพงไป ครอบครัวไม่เข้าใจ จำต้องจากลา แต่ยังรักกันอยู่ 
    ชีวิตคล้ายการเล่นเกมก็ตรงที่ Level ที่สูงขึ้น ความยากก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
    เหมือนเป็นบททดสอบ   
    ถ้าถอดใจ ก็ไม่ผ่าน ต้องจอดกลางทาง 
    หรือถ้าไปแล้วไม่ใช่ จำต้องถอย ก็ถอย ดีกว่าไปแล้วหลงทาง เสียเวลาชีวิต 
    เช่นเดียวกับการเมือง ยิ่งอยู่นาน ความไม่เข้าใจก็ยิ่งมากขึ้น  
    รัฐบาล คสช.บริหารประเทศมาแล้ว ๓ ปี และปีที่ ๔ จะเป็นปีที่ยากที่สุด
    เป็นธรรมดาของทุกรัฐบาลที่จะมีทั้งคนรักคนชัง  
    แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่มักเกิดวิกฤติศรัทธาในปีที่ ๒-๓ 
    ยากที่จะอยู่ครบเทอม! 
    สมัยทักษิณ อยู่ครบเทอม ๔ ปี ช่วงปี ๒๕๔๔-๒๕๔๘ มีเหตุให้เข้าใจได้  
    นั่นเพราะเผด็จการรัฐสภาเต็มขั้น ทุนหนาควบรวมพรรคเล็กพรรคน้อย กวาดต้อนเสือสิงห์กระทิงแรดทางการเมืองไปกองรวมกันไว้ในไทยรักไทย  
    สังคมไทยขณะนั้นเห่อของใหม่ที่มาโดยบกพร่องโดยสุจริต เพลิดเพลินกับนโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถม 
    รู้ตัวอีกที ถูกถอนทุนคืนไปอื้อซ่า!
    เทอมที่สองของทักษิณ จึงเจองานที่ยากกว่าเดิม จาก "บกพร่องโดยสุจริต" ไปจนถึง "ติ๊กผิด" ประชาชนรู้เช่นเห็นชาติมากขึ้น 
    สุดท้ายมวลชนออกมาขับไล่ แล้วตามด้วยรัฐประหาร
    โดยภาพรวมแล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักอยู่ให้ครบเทอมด้วยสาเหตุคล้ายๆ กัน นั่นคือ 
    คอร์รัปชัน! 
    ระบอบทักษิณมีวิวัฒนาการที่สนใจ
    หากจำกันได้ เลือกตั้งครั้งแรกของพรรคไทยรักไทย มาด้วยสโลแกน "คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน" 
    หลังจากอยู่ครบเทอม เลือกตั้งอีกครั้งปี ๒๕๔๘ ใช้สโลแกนใหม่ "๔ ปีซ่อม ๔ ปีสร้าง" และ "พรรคไทยรักไทย หัวใจคือประชาชน"
    เลือกตั้งปี ๒๕๕๐ ภายใต้ชื่อพรรคพลังประชาชน ใช้สโลแกน "ทุกนโยบาย สำเร็จได้ ด้วยพลังประชาชน"
    และเลือกตั้งปี ๒๕๕๔ พรรคเพื่อไทยกลับไปใช้สโลแกนเดิม "ขอคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน"
    ที่จริงคำว่า "คืนความสุข" รัฐบาลลุงตู่ไม่ได้นำมาใช้เป็นรายแรก พรรคเพื่อไทยต่างหาก 
    พรรคนี้ยังมีอีกสโลแกนคือ "คืนความสุข คืนประชาธิปไตย เพื่อไทยทุกคน"
    จะเห็นว่าการเมืองมีพลวัตสูง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ 
    รัฐบาลระบอบทักษิณถูกรุมเร้าด้วยเรื่องอื้อฉาว ทุจริตเชิงนโยบาย และผลประโยชน์ทับซ้อน
    คิดใหม่ โกงใหม่ แต่ก็ยังชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง
    นั่นเป็นเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับ โกงไม่เป็นไร ขอให้แบ่งกัน 
     สุดท้ายถูกรัฐประหารไป ๒ รอบ ด้วยสาเหตุเดียวกัน
    หลักๆ ก็คือ คอร์รัปชัน! เกิดความแตกแยกในสังคม 
    มันสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยโดยรวมไม่ตระหนักถึงพิษภัยของการคอร์รัปชัน แต่มองถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับเฉพาะหน้ามากกว่า 
    "ลุงตู่" เข้ามาพร้อมกับนโยบายประชารัฐ ที่ถูกมองว่าลอกนโยบายประชานิยม แต่นำมาปรับแต่งให้ความช่วยเหลือประชาชนถูกกลุ่มขึ้น 
    ไม่หว่านเหมือนประชานิยมสุดขั้ว 
    เรียกง่ายๆ ว่า ประชารัฐมาปิดจุดอ่อนประชานิยม 
    ในมุมทหารเล่นการเมืองก็มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจเช่นกัน 
    ไม่ทื่อเหมือนในอดีต
    สวนทางกับนักการเมืองด้วยซ้ำ
    ปัจจุบันศรัทธาในตัวนักการเมืองตกต่ำลง เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งวนเวียนอยู่กับข้อกล่าวหาคอร์รัปชัน 
    สำคัญไปกว่านั้น นักการเมืองไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชาติได้ 
    ซ้ำร้ายกลายเป็นต้นตอของปัญหาเสียเอง 
    ขณะที่รัฐบาล คสช.ทำการบ้านมาดี 
    ๓ ปีแรกกับนโยบายประชารัฐ ไม่ล้มเหลว
    การแจกจ่ายความช่วยเหลือ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น  
    ไม่ได้ปูพรมสร้างความนิยมในวงกว้างแบบนโยบายประชานิยม ที่สุดท้ายสร้างปัญหาให้ต้องแก้ไขมาจนถึงทุกวันนี้
    แต่...เข้าปีที่ ๔ สถานการณ์เปลี่ยนไป
    ทำไม นายกฯ ลุงตู่ ปรับเปลี่ยนจากประชารัฐ เป็นไทยนิยม ที่ฟังดูมีความอนุรักษนิยมสูง ไม่เข้าสถานการณ์
    ไม่น่าจะถูกที่ถูกเวลา!
    คงคล้ายกับที่ "เมย์" บอกว่า ครอบครัว "เจ" ไม่ยอมรับ ซึ่งเป็นเหตุผลที่อนุรักษนิยมสูงเอามากๆ 
    "เมย์" ตัดใจขอไม่ไปต่อ 
    แต่ "ลุงตู่" หยุดไม่ได้ ต้องไปต่อ จนกว่าฤกษ์แต่งงานจะมาถึง
    ลงจากหลังเสือมันไม่ง่าย  
    การประกาศนโยบายไทยนิยม ดูมีความอนุรักษนิยมก็จริง แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไป นั่นคือสิ่งที่ประเทศไทยต้องเป็น 
    และเป็นเส้นทางที่เลือกแล้ว หลังนายกฯ ลุงตู่ ยอมรับว่า เป็นนักการเมือง 
    "วันนี้ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะผมไม่ใช่ทหาร เข้าใจไหม เป็นนักการเมืองที่เคยเป็นทหาร"
    ประชาธิปไตยไทยนิยม โผล่มาเมื่อวันเด็กที่ผ่านมา พร้อมกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ประชาธิปไตยแบบล้าหลัง ครึ่งใบ ค่อนใบ 
    โดยรวมคือ นายกฯ ลุงตู่ ถูกตำหนิว่า วนอยู่กับค่านิยมเก่าๆ 
    ถัดมาวันที่ ๑๗ มกราคม ที่แม่ฮ่องสอน นายกฯ ลุงตู่ ไปตรวจราชการติดตามการแก้ไขปัญหาความยากจน 
    ที่นั่นคือกำเนิดนโยบายไทยนิยม 
    "...ไทยนิยมคือการขับเคลื่อนจากบนลงล่าง ระดับข้างล่างก็มีประชารัฐอยู่ในพื้นที่ วันนี้เราจะขับเคลื่อนไทยนิยม คือประชาชนร่วมมือกันทำในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของเขา นั่นแหละคือไทยนิยม ถ้าเราไปทำอะไรที่ไม่ตรงตามความต้องการของเขา มันก็ไม่สำเร็จสักอย่าง ฉะนั้นกลไกสำคัญในเรื่องนี้คือประชารัฐ และต้องสอดคล้องกับการปรองดองสมานฉันท์ ทำสัญญาประชาคม ทั้งหมดจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน...."
    "...ที่มาวันนี้นั้น อยากเรียนว่า การพัฒนาประเทศไม่สามารถพัฒนาด้วยระบบพรรคการเมืองได้ทั้งหมด มันเป็นเรื่องของทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะรัฐบาลนี้ รัฐบาลหน้า หรือต่อๆ ไปก็ตาม ต้องเดินหน้าควบคู่ไปกับนโยบายของพรรค คือต้องดูแลคนทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะตามนโยบายพรรค หรือตามที่ ส.ส.ขอไปเฉพาะพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น..."
    ลุงตู่สรุปรวม การเมืองไทยนิยม คือการเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ ๑๑ ด้าน
    ตบท้ายด้วย แม่ฮ่องสอนจะดีขึ้นใน ๕ ปี 
    เห็นอะไรมั้ยครับ?
    ประชารัฐคือกลไกของไทยนิยม 
    และไทยนิยมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยระบบพรรคการเมือง 
    ไทยนิยมจึงไม่ได้แปลความถึงแนวคิดอนุรักษนิยม แต่มันคืออนาคตที่ประเทศไทยต้องเป็น และเป็นแนวทางเฉพาะของไทยเอง 
    การรัฐประหารในอดีต มีเงื่อนไขสะท้อนถึงสถานการณ์ขณะนั้นๆ
    บางช่วงรัฐประหาร เพราะชิงอำนาจกันเอง
    บางช่วงรัฐประหารด้วยเหตุผลภัยด้านความมั่นคง โดยเฉพาะคอมมิวนิสต์ 
    และช่วงหลังๆ รัฐประหารด้วยเหตุผลคอร์รัปชัน 
    คสช.ก็มาด้วยเหตุผล รัฐบาลเลือกตั้งคอร์รัปชัน สร้างความขัดแย้งในชาติ
    ๓ ปีแรกคนใกล้ชิดรัฐบาล คสช.เองก็ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องคอร์รัปชัน นั่นไม่ระคายผิว
    แต่เข้าปีที่ ๔ หนักหนาสาหัส "บิ๊กป้อม" แก้ปมนาฬิกาเพื่อนไม่ออก 
    แน่นอนคนเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่เฉยไม่ได้  
    ก็อย่างที่บอก ทหารยุคนี้ไม่ซื่อบื้อทางการเมืองเหมือนในอดีต 
    เมื่อ "บิ๊กป้อม" ยังต้องอยู่ต่อ ก็ต้องมีเรื่องใหม่มาสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน 
    อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจะพาชาติไปทางไหน 
    ไทยนิยม จึงมาถูกที่ถูกเวลา 
    เท่านั้นยังไม่พอ นายกฯ ลุงตู่รุกหนัก     
    วันพุธที่ผ่านมา เกิดวาทกรรมให้ต้องติดตาม 
    "สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือ สื่อ นักการเมืองที่มีปัญหา พยายามจะล้มรัฐบาลและ คสช.ให้ได้ในช่วงนี้ กฎหมาย คำสั่งทุกฉบับจะแก้ไขให้กลับไปที่เดิม และข้าราชการไม่สุจริตร่วมมือ"
    ก็ไม่แปลก เพราะมี สื่อ นักการเมือง ข้าราชการขี้ฉ้อ เปิดหน้าชกมานานแล้ว 
    แต่...มีสิ่งหนึ่งที่ "ลุงตู่" ยอมรับ ณ เวลานี้ไปจนถึงการเลือกตั้งคือ ไม่มีใครล้มรัฐบาล คสช.ได้ 
    แค่คิดก็ยาก 
    เพราะงานการเมืองของรัฐบาล คสช.แน่นจริงๆ
    เว้นเสียว่า สะดุดขาตัวเอง 
    และถ้าจะให้ "ไทยนิยม" ปลอดข้อกังขา 
    ต้องจบกรณีนายพลโรเล็กซ์ให้ได้.
                            ผักกาดหอม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"