40ชม.ท้าสกิลดิจิทัล


เพิ่มเพื่อน    


    ยุคดิจิทัลแบบนี้พนักงานขององค์กรใหญ่จะต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโตไปกับองค์กร เพราะบุคลากรคือกำลังหนุนอันสำคัญในการโกยรายได้ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี พนักงานจะต้องมีสกิลในเรื่องนี้ดีกว่าพนักงานของบริษัททั่วไป ซึ่งองค์กรหลายแห่งพยายามเปิดคอร์สอบรมสร้างความรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน
    หากให้ยกตัวอย่างสักบริษัทที่เห็นการต่อยอดทางความรู้ให้พนักงานได้อย่างชัดเจนในขณะนี้คงหนีไม่พ้นค่ายมือถือสีฟ้า "ดีแทค" ที่ประกาศชัดว่าจะพัฒนาบุคลากรในเชิงรุก โดยจัดอบรมหลักสูตรดิจิในโปรแกรม 40 ชั่วโมงแห่งความท้าทาย “40-hour Challenge” 
    โดยดีแทคท้าพนักงานทุกคนให้พัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และเข้าร่วมคอร์สอบรมผ่านระบบออนไลน์จำนวน 40 ชั่วโมง ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2561 นี้ ซึ่งจำนวนชั่วโมงการอบรมดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยปัจจุบันของดีแทคถึง 3-4 เท่า และมากกว่าที่กฎหมายกำหนดสูงสุดถึง 10 เท่า โปรแกรมนี้จะนำเสนอชั้นเรียนออนไลน์ระดับโลก ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือระหว่าง Lynda.com Coursera และเทเลนอร์
    ทั้งนี้ นางสาวนาฎฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า  เป้าหมายการฝึกอบรมให้สำเร็จภายในสิ้นปีนี้ ตั้งไว้ว่าจะต้องมีการใช้เวลามากกว่า 100,000 ชั่วโมงสำหรับทั้งองค์กร
    หัวใจสำคัญในโปรแกรมนี้ คือการสนับสนุนหลักความเชื่อของดีแทคที่ว่า ทุกคนสามารถกลายเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัลได้ ถ้ามีกระบวนการทางความคิดที่ถูกต้อง โดยมากกว่า 50% ของบริษัททั่วโลก มีช่องว่างเพิ่มขึ้นในทักษะด้านดิจิทัลของพนักงาน และช่องว่างนั้น กว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพูดถึงซอฟต์สกิลด้านดิจิทัล นั่นหมายถึงไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมและการวิเคราะห์ที่มีความต้องการสูง แต่ทักษะอื่นๆ  เช่น ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความชำนาญ ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรก็เป็นที่ต้องการด้วยเช่นกัน
    DNA ของดีแทค คือ การลงมือทำอย่างรวดเร็ว คิดแตกต่าง กล้าที่จะทำ และมีความกระตือรือร้นที่จะมุ่งสู่ชัยชนะ โปรแกรม ‘40-hour Challenge’ เป็นเครื่องมือที่พนักงานต้องการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    โดยโปรแกรม “40-hour Challenge” นี้ จะช่วยพัฒนาบุคลากรทั้งทักษะดิจิทัลในรูปแบบฮาร์ดสกิลและซอฟต์สกิล โดยจะมีคะแนนของแต่ละคลาสในหัวข้อ ตั้งแต่รูปแบบการทำงานแบบอะไจล์ ไปสู่การวิเคราะห์ และประสบการณ์ของลูกค้าดิจิทัล คลาสต่างๆ ที่มีให้เรียนออนไลน์จะพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ผ่านโทรศัพท์มือถือ การอบรมครั้งนี้ใช้เกมเข้ามาประยุกต์ (gamification) ซึ่งเมื่อเรียนคลาสไหนสำเร็จแล้ว สามารถปลดล็อกรับ badge คอร์สขั้นสูงและรับดีแทคคอยน์ 
    การฝึกอบรมจะได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลหน้าใหม่ๆ และการโยกย้ายภายในของพนักงาน ดีแทคมีอัตราการย้ายหน่วยงานภายในสูงมากถึง 38% ต่อปี และกำลังประกาศรับพนักงานใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) การตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เพิ่มเติม
    ทั้งนี้ ในปี 2560 ที่ผ่านมา ลูกค้าดีแทคมากกว่าครึ่งชำระเงินค่าบริการผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมถึง 50% มีลูกค้าเข้ามาแช้ตบอท (Chatbot) มากถึง 30% และจะมีการขยายช่องทางไปยัง Facebook ซึ่งทำงานแบบ Project-driven โดยที่บุคลากรต่างสายงานมาทำงานร่วมกัน และสามารถทำงานได้สำเร็จอย่างรวดเร็วในระยะเวลาแค่สองสัปดาห์เป็นเรื่องท้าทาย
    โดยปีนี้สำคัญสำหรับดีแทคมาก การฝึกอบรมจะช่วยให้ผู้ที่เต็มใจที่จะรับโอกาสเพื่อจะได้มาอยู่ในตำแหน่งแถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงองค์กร
    อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่าการเร่งพัฒนาคนในองค์กรให้เต็มใจเปิดรับการเปลี่ยนแปลง การยอมรับในวัฒนธรรมใหม่ของการให้บริการ จะช่วยทำให้การทำงานนั้นออกมาจากความตั้งใจและใส่ใจอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลมาถึงลูกค้าที่ได้รับบริการ เพราะสิ่งที่เต็มใจทำคนรับจะสัมผัสได้ งานบริการก็เช่นกัน หากยินดีให้ คนได้รับก็ชื่นใจ.

 

 นัจกร สุทธิมาศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"