ทีดีอาร์ไอคาดอีก15ปีไทยมีค่าใช้จ่ายสุขภาพ1.8ล้านล้านบาท


เพิ่มเพื่อน    

 ทีดีอาร์ไอชี้ อีก 15 ปีข้างหน้า อนาคตค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพของไทย จะพุ่งสูงหากเข้าสู่สังคมสูงวัย ถึง1.825 ล้านล้านบาท  แต่หากรัฐควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ราว 1.319 ล้านล้านบาท ลดลงประมาณ 505 แสนล้านบาท แต่ถ้าหากไม่พัฒนาเทคโนโลยีรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายจะพุ่งสูงถึง 2ล้านล้านบาท แนะรัฐพุ่งเป้าเน้นไปที่การสร้างเสริมสุขภาพที่ตรงจุด  ทำฐานข้อมูลแต่ละช่วงวัยทั้ง 3กองทุนสุขภาพ

    วันที่ 23 ม.ค. ที่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มีการแถลงข่าวการวิจัย “อีก 15 ปีข้างหน้า อนาคตค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพของไทยจะเป็นอย่างไร”  โดย ดร.ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ในฐานะ หัวหน้าโครงการศึกษาฯ กล่าวถึงผลการศึกษา “การประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากผลของการสร้างเสริมสุขภาพ” กล่าวว่า โครงการศึกษาดังกล่าวเพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพในอนาคต และเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในการเข้าถึงบริการของกลุ่มคนที่มีรายได้แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลไม่ได้รวมถึงรายได้ในการส่งเสริมป้องกัน โดยใช้ฐานการวิจัยแบบ OECD ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยที่ผ่านมาในแต่ละปีรัฐบาลจะพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ในด้านสุขภาพ ให้อยู่ในช่วง 10-15 % ของงบประมาณทั้งหมด โดยในการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งนอกเหนือจากข้อมูลการใช้งบประมาณในด้านสุขภาพยังมีการนำอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องมาทำการวิจัยเพื่อให้ครบถ้วนในการประมาณการ โดยแบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ 1.โครงสร้างประชากร เช่นอายุ วัย  และ2.ปัจจัยอื่นเช่น เรื่องรายได้ ค่าจ้างบุคลากร และราคา เพราะในปัจจุบันมี รพ.เอกชนเป็นตัวเลือกในการรักษา ที่ต้องเสียค่ายา ค่าหมอ รวมทั้งการตรวจค่าอาการแทรกซ้อน หรือค่าคลาดเคลื่อนต่างๆ ค่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษา การจ่ายตามนโยบายรัฐบาลที่เปลี่ยนไป 


 ดร.ณัฐนันท์ กล่าวอีกว่า การใช้กรอบแนวคิดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)ในปี 2556  มาปรับใช้กับประเทศไทย เพื่อประมาณค่าใช้จ่ายในอีก 15 ปี โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ พบว่า หากประเทศหรือประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มในอัตราส่วนที่น้อยกว่า (ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น 1 เท่า มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 0.8 เท่า) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทยในอีก 15 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ประมาณ  4.8 แสนล้านบาท และหากประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 1.4 ล้านล้านบาท 
 แต่หากรายได้ของประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เทียบเท่ากันกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น 1 เท่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็เพิ่มขึ้น 1 เท่า)  ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทย จะมีค่าประมาณ 6.3 แสนล้านบาท   และหากเข้าสู่สังคมสูงวัยจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงถึง 1.825 ล้านล้านบาท แต่หากรัฐควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ราว 1.319 ล้านล้านบาท ลดลงประมาณ 505 แสนล้านบาท 


ดร.ณัฐนันท์ กล่าวอีกว่า โดยสรุปการเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ประเทศไทยหรือประชากรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดัน และโรคในระบบหายใจ โรคมะเร็ง และโรคระบบทางเดินอาหาร  โดยการเพิ่มขึ้นของประชากรในแต่ละปีอาจจะไม่เยอะ เพราะแต่ละคนอายุเพิ่มแค่ 1 ปี แต่ใน 1 ปี บางคนอาจจะไม่ป่วยเลย แต่บางคนอาจจะป่วยจนทรุดต้องใช้เงินในการรักษา  นอกจากนี้ ในการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นยังเกิดจากค่าความยืดหยุ่นที่อาจเกิดความฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะจากข้อมูลสถิติแห่งชาติ คนมีรายได้ปานกลางจะเป็นกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นสูงเพราะจะมีการซื้ออาหารเสริมมากินเพราะคิดว่าช่วยทางการรักษาป้องกันโรคได้  ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเพราะทำให้ค่ารักษาสูงขึ้น 


“ทั้งนี้หากรัฐบาลยังมีแนวทางการควบคุลมที่ไม่ชัดเจน ยังไม่มีการคุมเทคโนโลยี ยังใช้แบบเดิมๆโดยไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยีการรักษาใหม่ๆ ในปี 2575 หรือ15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีค่ารักษาพยาบาลเกือบ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งตอนนี้มีแนวทางคุมไม่ชัดเจน การดูแลผู้สูงอายุไม่ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งการส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่เกือบทุก รพ.มีการเต้นแอโรบิก ซึ่งไม่มีประโยชน์ในบางกลุ่ม ทำไมไม่แบ่งงบไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่น เช่น การให้ผู้สูงอายุวาดรูป ที่มีการวิจัยในต่างประเทศแล้วว่าสามารถลดความดันได้ และควรมีการทำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในแต่ละช่วงวัย เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 3 กองทุน  เพราะหากมีข้อมูลชุดเดียวกันจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางควบคุมตัวเลขให้ลดลงได้”ดร.ณัฐนันท์ กล่าว 


นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล นักวิชาการจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กล่าวว่า รัฐบาลมีการคุมในเรื่องค่าใช้จ่ายอย่างน้อยใน 2 กองทุน เช่น บัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งการพัฒนากลไกการควบคุม ก็ต้องดูต่อไปและในปัจจุบันก้มีสิ่งยั่วยุการโฆษณาต่างๆมอมเมาผู้บริโภคทำให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และต้องมีกลไกที่ทำให้การสูบบุหรี่และเหล้าให้ลดลง. 
------------------------------------


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"