โหมโรงชิงเก้าอี้ 'ผู้ว่าฯ กทม.' สนามวัดกระแส 'การเมือง'        


เพิ่มเพื่อน    

                                             

        คึกคักกันตั้งแต่ไก่โห่ การเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. หรือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลังจากมีสัญญาณจาก คสช.ไฟเขียวให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น อันเป็นผลพวงจากสมาชิกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะหมดวาระครบทุกระดับทั่วประเทศในเดือน พ.ค.2561

        โฟกัสกันที่การเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. แม้ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า มีทั้งพรรคทหารและพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นพรรคภาคีที่เตรียมให้การสนับสนุน พรรคทหาร ต่างเข้ามาทาบทามผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง โดยเฉพาะพรรคภาคีที่พร้อมมอบตำแหน่งเลขาธิการพรรคให้

        แต่เจ้าตัวก็ตอบปฏิเสธ เพราะต้องการลงชิงชัยในตำแหน่งปัจจุบันมากกว่า ซึ่งตัว บิ๊กวิน เอง หากจะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ก็เป็นไปได้ว่า อาจลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากมีภาษีที่ดีกว่าทางเลือกอื่นๆ

        แต่ด้วยกับสถานการณ์ขณะนี้ เมื่อบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ทั้งหลายต่างออกมาประสานเสียงสวด “คสช.” โดยเฉพาะปมเลือกตั้งแบบไม่เว้นวัน บิ๊กวิน เอง แม้จะมีสายสัมพันธ์เหนียวแน่นกับ ปชป. แต่ด้วยภาพลักษณ์ของผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้งโดย อำนาจพิเศษ ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับแนวทางที่พรรคเรียกร้อง

        เป็นไปได้ว่า ตัวแทน ปชป.น่าจะเป็น คนอื่น ที่เฟ้นกันมาอย่างละเอียดมากกว่า

        หลังก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวจากฝาก ปชป.ว่า แคนดิเดตอาจเป็น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ที่จะมาท้าชิงตำแหน่ง พ่อเมือง แต่ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2560 ปชป.เองจึงต้องหากันใหม่

        จนเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา บิ๊กวิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังแถลงข่าววาระการพัฒนากรุงเทพมหานคร ประจำปี 2561 โดยแย้มเป็นนัย

       “สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งต่อไป ตนขอใช้เวลาพิจารณาก่อนว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ถ้าตัดสินใจจะลงสมัครเลือกตั้ง ก็อาจจะลงสมัครแบบอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง อาจลงแบบวันแมนโชว์ก็ได้”

        หมายความว่า หากมีการเลือกตั้ง กทม. คนกรุงเทพฯ อาจจะพบกับชื่อ พล.ต.อ.อัศวินอีกครั้ง ในฐานะผู้ลงสมัคร แต่จะอยู่สังกัดพรรคใด หรือไม่มีสังกัด คงต้องจับตาดูกันต่อไป

        ทว่าอย่างน้อยเจ้าตัวยังมีความได้เปรียบกว่าผู้สมัครรายอื่นๆ อยู่ไม่น้อย เมื่อเจ้าตัวได้โอกาสพิสูจน์ฝีมือทำงานให้คนกรุงสัมผัสไปแล้วปีกว่าๆ โดยเจ้าตัวตัดคะแนนตนเองเพียงแค่ 50 คะแนนเท่านั้น ในการแถลงวาระการพัฒนากรุงเทพฯ ในปี 2561 เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา และพูดชัดว่า ที่กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินนโยบายต่างๆ เป็น 100, 200, 300 วัน และ 1 ปีนั้น เปรียบเสมือนการผูกคอตัวเอง พร้อมเป็นการส่งสัญญาณไปยังสังคมกลายๆ ว่า

       เอาแน่

        ฟากพรรคเพื่อไทยแว่วมาว่า มีแคนดิเดตอยู่ 3 ราย ได้แก่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม นักการเมืองใจวัยรุ่น พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน ที่เดินสายสวด คสช.อย่างเมามัน และ 3.อีกหนึ่งผู้ท้าชิง ที่อยู่ระหว่างการเฟ้นหาเด็กในสายของ เจ๊หน่อย-สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

        อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ พิชัย นั้น มีเสียงแว่วมาว่าเจ้าตัวให้น้ำหนักกับตำแหน่ง รัฐมนตรี ในรัฐบาลระดับชาติไว้มากกว่า แต่ทั้งหมดทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม สุดท้ายแล้วก็ต้องขึ้นกับ ใบสั่ง ของ นายจากแดนไกล ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจเงื่อนสุดท้าย

        การเลือกตั้ง กทม.ในครั้งนี้จึงมีความเข้มข้นมากกว่าครั้งไหนๆ ไม่แน่ว่า จากม้าที่แข่งกันอยู่เพียงแค่ 2 ตัว ดันมีม้าอีกตัวโผล่มาร่วมสังฆกรรม และที่สำคัญคือ ม้าตัวดังกล่าวได้มีโอกาสแสดงศักยภาพให้บรรดาผู้ตัดสินใจดูไปแล้วเสียด้วย แต่จะถูกใจ หรือไม่ถูกใจ อันนี้ก็แล้วแต่รสนิยมของคน แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ ม้าตัวที่ 3 นี่แหละ ที่มีผลต่อการดึงฐานคะแนนจากคนรัก ปชป.

       สุดท้ายอาจเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองกรุงก็เป็นได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"