คร.เตือนภัยฝุ่นจิ๋วกลุ่มเสี่ยง เผยเมื่อวาน"มหาชัย"สูงสุด


เพิ่มเพื่อน    

คร. เตือนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ดูแลตนเองเป็นพิเศษช่วงมีฝุ่นขนาดเล็ก โดยเฉพาะ PM2.5   พบมีค่าสูงในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมื่อวันที่ 24ม.ค. ค่าเกินมาตรฐานสูงสุดในมหาชัย สมุทรสาคร พร้อมแนะนำการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อเกิดฝุ่นขนาดเล็ก

วันที่ 25 ม.ค. นพ.สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีค่าฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ  สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เมื่อวันที่24 ม.ค.   พบค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในบางพื้นที่ โดยพบสูงสุดที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  ซึ่งในวันนี้ก็ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป  โดยสภาพอากาศดังกล่าว มาจากหลายสาเหตุ เช่น การจราจร อุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง เป็นต้น  ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชนที่ป่วยด้วย 4 กลุ่มโรคสำคัญ  ได้แก่ 1.โรคระบบทางเดินหายใจ 2.โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.โรคเยื่อบุตาอักเสบ และ 4.โรคผิวหนัง รวมถึงผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว  ที่อาจเกิดอาการกำเริบได้ง่ายจากการสูดดมฝุ่นขนาดเล็ก

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ขอแนะนำการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อเกิดฝุ่นขนาดเล็ก ดังนี้ 1.ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน ปิดประตูหน้าต่างป้องกันฝุ่นเข้า หากปิดไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำทำเป็นม่านปิดแทน เพื่อเป็นตัวกั้นฝุ่นและ หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ ปิดจมูกและปาก 2.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่ออกแรงมาก เพราะการหายใจเร็วจะทำให้ร่างกายรับฝุ่นละอองเข้าไปมาก  3.ให้ดื่มน้ำมากๆ และไม่สูบบุหรี่ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่เป็นสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป  และ 8.ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ก่อปัญหาซ้ำเติม หรือทำให้คุณภาพอากาศแย่ลงอีก

อธิบดีกรม คร.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในกลุ่ม .ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง  และโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็ก จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ พักผ่อนอยู่ในบ้าน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการทรุดลง  และหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับอากาศที่มีฝุ่นละออง หรือมีการใช้หน้ากากกันฝุ่น   พร้อมทั้งประชาชนที่ดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวขอให้ดูแลอย่างใกล้ชิดและหมั่นสังเกต  หากพบอาการผิดปกติให้รีบนำตัวส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที  ที่สำคัญควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม

.พญ.ฉันทนา  ผดุงทศ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม คร. กล่าวว่า   สำหรับค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า ค่าฝุ่นละอองไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศ์กเมตร (มคก./ลบ.ม.) ในเวลา 24 ชั่วโมง แต่ค่าของประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ไม่ควรเกิน 50  มคก./ลบ.ม.  ซึ่งจากการคำนวณพบว่าหากประชาชนได้รับตามค่าดังกล่าว ร้อยละ 80 จะไม่มีอาการป่วย แต่อาจมีในกลุ่มเสี่ยงประมาณกว่าร้อยละ 10 จะป่วยได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้างหรือตำรวจจราจร ก็มีความเสี่ยงเยอะ แต่หากทำงานในห้องแอร์ เจอฝุ่นละอองประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็จะไม่กระทบ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"