สมาคมค้าปลีก 'โวย' ขึ้นค่าจ้างสร้างปัญหาแรงงาน


เพิ่มเพื่อน    

กรณีคณะกรรมการกลางค่าจ้าง มีมติให้ปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 7 อัตราตามโชนจังหวัด ตั้งแต่ต่ำสุด 5 บาทถึงสูงสุด 22 บาท พร้อมตั้งแท่นนำเข้าที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้านั้น นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย แสดงความไม่เห็นด้วยโดยระบุว่า จะส่งผลกระทบใน 4 ประเด็นสำคัญ

ได้แก่ 1.ปัญหาขาดแคลนแรงงานในพื้นที่เมืองหลวง เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเอง 2.ปัญหาค่าจ้างแรงงานรายชั่วโมงเพิ่มสูงขึ้น โดยการจ้างพนักงานพาร์ทไทม์ 4 ชั่วโมง จะมีต้นทุนถึงชั่วโมงละ 77 – 82.50 บาท ซึ่งกฏหมายกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นรายวัน การจ้างพาร์ทไทม์ เพียง 4 ชั่วโมง ก็ต้องจ่ายค่าจ้างเต็มวัน

3.ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นอกจากค่าจ้างแรงงาน อาทิ เงินสมทบต่างๆ, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนคนพิการ เป็นต้น และข้อ 4. ผลกระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างแรงงานทั้งระบบ ทั้งในแง่ของการปรับค่าแรงของตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป ซึ่งแม้จะจ่ายค่าจ้างเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำแล้ว แต่ก็ต้องปรับ เพื่อให้มีช่วงห่างของค่าจ้างที่เหมาะสม รวมไปถึงการจ้างแรงงานที่ต้องใช้ทักษะและฝีมือในการทำงาน ก็ต้องปรับให้สูงขึ้นกว่าค่าแรงขั้นต่ำด้วยเช่นกัน           

นางสาวจริยา กล่าวว่า จากผลกระทบทั้ง 4 ด้านที่กล่าวมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 500 คนขึ้นไป จากเดิมที่อัตราค่าแรงอยู่ที่ 300 -500 บาท แต่ตามข้อกำหนดใหม่ที่ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 308-330 บาทต่อวัน ทำให้องค์กรต้องปรับเพิ่มค่าแรงอีก 5-22 บาท (จากฐาน 300 บาท) และปรับค่าแรงขึ้นตามขั้นบันได  ส่งผลให้องค์กรธุรกิจนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3.39 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมอัตราเพิ่มสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอีก 11.83% กองทุนเงินทดแทนอีก 1.87% และ กองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการอีก 58,035 บาทต่อคน

ทั้งนี้สมาคมผู้ค้าปลีกไทยมีข้อเสนอต่อภาครัฐเพื่อพิจารณา คือในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ ผลกระทบจะเกิดขึ้นโดยตรงกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในภาคการค้าและบริการ ที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labor-intensive) 2.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มธุรกิจอื่นๆเนื่องด้วยทางเลือกที่ค่อน ข้างจำกัดในการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงาน หากภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถนำค่าจ้างแรงงานทั้งหมดไปลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เท่า ก็อาจช่วยบรรเทาภาระต้นทุนบางส่วนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"