ตั้งเป้าไทยเป็น"ฮับเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ "


เพิ่มเพื่อน    

ตั้งเป้าไทยเตรียมเป็น"เมดิคัลฮับ ด้านเทคโนโลยีอุ้มบุญ  เจริญพันธุ์ "อธิบดี สบส."เผยเร่งเดินหน้าพัฒนา มาตรฐาน บุคลากรในสถานพยาบาล  สร้างมืออาชีพในการให้บริการ หวังปี62 ธุรกิจด้านนี้เบิกบาน ขณะเดียวกันก็จับตาการปฎิบัติตามกม.อย่างเคร่งครัด จัดทีมเฝ้าระวังสื่อทางโซเชียล ห้ามซื้อขายไข่ อสุจิ  ตัวอ่อน อุ้มบุญ ที่ผิดกฎหมาย

วันที่30 ม.ค. ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 สู่การปฏิบัติ” โดย ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผอ.สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มีการประกาศใช้ตั้งแต่ 30 ก.ค.2558 เพื่อช่วยให้คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายได้มีบุตรตามต้องการ และควบคุมการศึกษาวิจัยมิให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) มี สบส. ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ นับตั้งแต่มีการประกาศใช้ ได้พิจารณาเรื่องขออนุญาตให้ตั้งครรภ์แทนเสร็จสิ้นแล้ว 157 คู่ โดยอนุญาต 149 คู่ (ร้อยละ 95) ในจำนวนนี้มีรายงานการคลอดแล้ว 12 คู่ และไม่อนุญาต 8 คู่ (ร้อยละ 5) เนื่องจากคุณสมบัติของหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้บริจาคไข่ ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และขณะนี้มีสถานพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯ มากถึง 75 แห่งทั้งรัฐและเอกชนกระจายอยู่ในทุกภาคทั่วประเทศ


ทพ.อาคม  กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สบส.ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีความตั้งใจในการส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในสถานพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 200 คน ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย  จึงได้จัดการประชุมขึ้น  ซึ่งในงานมีผู้ทรงคุณวุฒิจากแพทยสภา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา และกระทรวงมหาดไทยมาร่วมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นให้ความรู้แนวทางปฎิบัติในแง่มุมต่างๆ ที่ถูกต้อง  เนื่องจาก ในอนาคตจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์(เมดิคัลฮับ)ด้านบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยในปี 2561 จึงต้องมีความเข้มแข็งในเรื่องการควบคุม กำกับตามกฎหมาย และในปี 2562 จะเน้นเรื่องการส่งเสริมพัฒนาและก้าวสู่การทำธุรกิจเต็มรูปแบบ บนความถูกต้อง


ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ด้วยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแพทย์ที่มากด้วยความสามารถและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้มีอัตราความสำเร็จจากการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างให้การยอมรับและเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก จึงเกรงว่าจะมีการการเผยแพร่ข้อมูลที่มีการนำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ยิ่งในยุคดิจิตอลที่สื่อโซเชียลเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ในปีงบประมาณ 2561 กรม สบส.จึงมีนโยบายในการเพิ่มมาตรการคุมเข้มโดยจัดทีมเฝ้าระวังในสื่อโซเชียลดูแลกำกับมิให้มีการเผยแพร่ข้อมูล หรือโฆษณาที่ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรม มนุษยธรรม ทั้งการรับจ้างตั้งครรภ์  ซื้อ-ขายไข่ อสุจิ หรือตัวอ่อน ฯลฯ  รวมทั้งจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นภาคีเครือข่ายป้องปรามการกระทำผิดอีกด้วย
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"