"มนุษย์คอนโด"ขาดมารยาทเพียบ"วธ."โดดเข้าจัดเกณฑ์กลาง


เพิ่มเพื่อน    

วธ.เผยครอบครัวยุคใหม่นิยมอยู่คอนโดสูงถึง 31% พบปัญหาการอยู่อาศัยร่วมกันเพียบ 'สูบบุหรี่-ส่งเสียงดัง-มารยาท"    ดึงผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่จัดทำข้อตกลงวัฒนธรรมชาวคอนโด ก่อนเปิดประชาพิจารณ์ พร้อมประกวดต้นแบบแห่งปี   ด้าน แอล.พี.เอ็น.ชี้ต่างชาติแหกกฎ เหตุไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทย 

 เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์  รมว.วัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมวัฒนธรรมการอยู่อาศัยในอาคารชุด ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัยกว่า 10 แห่ง พร้อมผู้แทนหน่วยงานบริหารอาคารชุด และผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดว่า  ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก พบว่า ในกรุงเทพฯ มีอัตราครอบครัวที่อยู่อาศัยในอาคารชุด สูงถึงร้อยละ 31 ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้อาศัยอาคารชุด    วธ.ได้หารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ซึ่งสะท้อนประเด็นปัญหาของผู้อยู่อาศัย และพบปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ การส่งเสียงดัง การสูบบุหรี่ พื้นที่จอดรถไม่เพียงพอ การจัดการขยะ รวมถึงมารยาทการใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน ขณะเดียวกันพบว่า ผู้อยู่อาศัยในแต่ละแห่งได้มีการจัดตั้งไลน์กลุ่มระหว่างผู้พักอาศัยกับนิติบุคคลเป็นช่องทางรับแจ้งปัญหาในคอนโดและสื่อสารการจัดกิจกรรมในคอนโด แต่บางคนใช้เป็นช่องทางว่ากล่าวกันเองจนเกิดความขัดแย้ง


นายวีระ กล่าวว่า นอกจากนี้ พบว่า ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในอาคารชุดจำนวนมากขึ้น หลายคนไม่เข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม ระเบียบปฏิบัติ หลักเกณฑ์ของการเข้าพักอาศัยในอาคารชุด ดังนั้น  ที่ประชุมจึงสรุปข้อคิดเห็นของทุกฝ่าย ซึ่งเห็นตรงกันว่า การอยู่ร่วมกันในอาคารชุด ประชาชนควรยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย มีมารยาทไทย มีน้ำไมตรีและมีระเบียบวินัย ทั้งนี้ ในส่วน วธ. เสนอให้เพิ่มเติมเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัย การซ้อมหนีไฟ รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมร่วมกันในอาคารชุด เช่น การทำบุญตักบาตร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา  เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีปฏิสัมพันธ์กัน  โดย วธ. พร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลและวิทยากรผู้มีความรู้เพื่อถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ขณะที่คอนโดเปิดใหม่เสนอว่า จะสนับสนุนการจัดตลาดนัดศิลปะ ของแต่งบ้าน  ตลาดต้นไม้ เพื่อนำไปประดับห้อง รวมทั้งสนับสนุนจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนด้วย  

" จากการหารือดังกล่าวผู้ประกอบกิจการยินดีที่ วธ.เข้ามาเป็นสื่อกลางสร้างวัฒนธรรมการอยู่อาศัยของคนยุคปัจจุบัน โดยแต่ละแห่งจะกลับไปประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับลูกบ้าน พร้อมจัดทำหลักเกณฑ์พักอาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข ขณะที่ วธ.จะนำผลการระดมความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการมาจัดทำเป็นหลักเกณฑ์กลาง และเปิดประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง ก่อนจัดทำเป็นหลักเกณฑ์กลางพร้อมรณรงค์อย่างจริงจัง จากนั้นจะแต่งตั้งคณะกรรมการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานวัฒนธรรมการอยู่อาศัยในคอนโดเพื่อประกวดและมอบรางวัลคอนโดต้นแบบอยู่ดีมีความสุขแห่งปี  เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการอาคารชุดต่างๆ ขยายสร้างวัฒนธรรมอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน " นายวีระ กล่าว

น.ส.อุษาพร เลิศวิกุล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบริหารชุมชน บ.แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า   ในพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล แอล พี เอ็น มีนิติบุคคล 150 นิติบุคคล   พบปัญหาการอยู่อาศัยในอาคารชุดหรือคอนโดมากเรื่องมารยาทการอยู่ร่วมกันของผู้พักอาศัย โดยเฉพาะกลุ่มชาวต่างประเทศมีวัฒนธรรมการสูบในห้องชุด และบริเวณระเบียง ทั้งที่นิติบุคคลอาคารชุดจัดพื้นที่สูบบุหรี่แล้ว มีปัญหาควันและประกายไฟหล่นระเบียงห้องชุดด้านล่าง  ไม่ปลอดภัยและควันรบกวน   ปัญหาถัดมาการก่อเสียงดังรบกวนผู้อื่น   แม้จำนวนผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎจะไม่มาก แต่ลุกลามกระทบส่วนรวม ทำให้เพื่อนร่วมคอนโดไม่มีความสุข   ที่ผ่านมาต้องทำความเข้าใจและให้คำแนะนำสิ่งที่พึงปฏิบัติ แต่ยังมีข้อจำกัด  เห็นด้วยที่ วธ.  เห็นความสำคัญและรณรงค์วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในคอนโด ไม่ใช่การบังคับ ถือเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้อาศัยในคอนโดและนิติบุคคล   ซึ่ง วธ.สามารถสนับสนุนจัดกิจกรรมตามวันสำคัญ นำผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลความรู้เจาะลึก เพราะพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของผู้พักต่างชาติมาจากความต่างวัฒนธรรม อยากให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมคอนโดอย่างเป็นรูปธรรม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"