10ปี"โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน "กรมป่าไม้ ผนึก ราชบุรีโฮลดิ้ง สานต่อ


เพิ่มเพื่อน    

  

     จากความสำเร็จของ “โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ที่ทำมากว่าหนึ่งทศวรรษ โดยความร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ กับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้หลายแห่งทั่วประเทศเกิดการจัดตั้งป่าชุมชน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และได้รับการจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชน และองค์กรชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม


     นับตั้งแต่เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2560 ป่าชุมชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เกิดผืนป่าที่สมบูรณ์ และช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนต่างๆได้อย่างกว้างขวาง หลายชุมชนมีสินค้า ผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการนำธรรมชาติในป่ามาสร้างมูลค่าก่อให้เกิดอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกัน ผืนป่ายังเกิดระบบนิเวศที่ดี ป่าที่เสื่อมโทรมหลายแห่งได้รับการฟื้นฟูดูแล จนกลับมาเป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์อีกครั้ง  และกลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุเกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย  ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวได้นำมาสู่การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อดำเนินงานโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 3 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2565


        นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ของประเทศ


    ทั้งยังช่วยเพิ่มการฟื้นฟูป่าและสร้างป่าจากพื้นที่เสื่อมโทรม มุ่งเข้าสู่การปลูกป่าเศรษฐกิจ เราได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีทรัพยากรป่าไม้เพิ่มขึ้นเป็น  40 เปอร์เซ็นจากปัจจุบันที่มีอยู่ 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเพิ่มป่าไม้ก็ทำได้หลายรูปแบบ สำหรับโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยขับเคลื่อนการเพิ่มพื้นที่ป่าให้บรรลุเป้าหมาย ผ่านการจัดตั้งป่าชุมชนได้ด้วย


        นายวิจารณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่มีแนวคิดที่จะช่วยให้ชุมชนได้ประโยชน์มากกว่ากินใช้ภายในบ้าน ้ ถือต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการจัดตั้งป่าชุมชนอย่างจริงจังและเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านป่าชุมชนของกรมป่าไม้ในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ  ที่มีแนวคิด "ปลูกป่าในใจคน" สะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังในการดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่กับความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ด้วยการให้ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าไม้ตามหลักธรรมาภิบาล และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนที่อยู่รอบเขตป่าและที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแลรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าในรูปแบบของ "ป่าชุมชน" ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ โดยชุมชนจะได้รับประโยชน์จากป่าหลายอย่าง ทั้งในด้านอาหารการกิน การผลิตสินค้า ดำรงชีพ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่มี ซึ่งจากการประเมินที่ทราบมา โครงการช่วยสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้ชุมชนได้ครัวเรือนละ 5,800 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยไร่ละ 739 บาท


    ขณะที่นายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ และรักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ เผยว่า นับจากปี 2504 ประเทศไทยสูญเสียทรัพยากรป่าไม้จากการบุกรุกทำลายป่าไปแล้วประมาณ 69 ล้านไร่ ส่งผลให้ทรัพยากรป่าไม้ลดลงต่อเนื่องโดยปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าเพียง 102 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 31.58% ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งมา จนถึงเดือน ธ.ค. 2560 มีชุมชนเข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งป่าชุมชนปัจจุบันรวม 10,537 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่ป่าชุมชนรวมกว่า 5,773,927 ไร่ ในพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมดนี้ กรมป่าไม้จะสร้างให้เป็นวิสาหกิจชุมชน สร้างความเข้มแข็ง สร้างความตระหนักให้ชุมชน ในรอบปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า มีการการบุกรุกป่าน้อยลง และเกิดไฟป่าลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการจัดตั้งป่าชุมชนให้ชุมชนดูแลผืนป่านี้ ยังช่วยลดคาร์บอนได้ 2.5 ล้านตันต่อปี


        ทั้งนี้ นายจเรศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยสรุปแล้วจากการประเมินป่าชุมชน ได้มีการประเมินมูลค่าระบบนิเวศป่าชุมชนได้ประมาณ 89,737,48 บาทต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 518 ล้านบาท ส่วนการประเมินการกักเก็บน้ำในดิน 687  ลบ.ม.ต่อไร่ คิดเป็น 3,966 ล้าน ลบ.ม. การประเมินการกักเก็บคาร์บอน 7 ตันคาร์บอนต่อไร่ คิดเป็น 40 ล้านตันคาร์บอน มูลค่าการพึ่งพิงป่า ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ 739 บาทต่อไร่ ประมาณ 4,266 ล้านบาท


        ด้านนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) กล่าวสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพิ่มว่า ผลการดำเนินโครงการในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีชุมชนเข้าร่วมประกวดป่าชุมชนตัวอย่าง 10,478 หมู่บ้าน และมีป่าชุมชนที่ได้รับรางวัล 1,392 หมู่บ้าน ในพื้นที่ป่าชุมชนที่ได้รางวัลมีประมาณ 1.25 ล้านไร่ (1,252,053.42 ไร่) ในจำนวนพื้นที่นี้มีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2.5 ล้านตัน (2,504,106.84 ตันคาร์บอน)


    ทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายป่าชุมชนมีสัมมนาผู้นำป่าชุมชนทั้งหมด 18 รุ่น ประมาณ 1,468 คน ซึ่งในด้านนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาบริหารจัดการป่าการแก้ไขปัญหาเพิ่มพูนความรู้วิชาการการจัดการป่าไม้ และก็ยังมีค่ายเยาวชนกล้ายิ้มทั้งหมด 21 รุ่นประมาณ 1,679 คน เน้นสร้างกระบวนทัศน์และความคิดเชิงบูรณาการเพื่อสืบทอดงานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และก็มีการบริหารจัดการป่าแบบยั่งยืนมีการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ มีฝึกอบรมเพาะชำกล้าไม้และระบบวนเกษตรฝึกอบรมป้องกันและควบคุมไฟป่าความรู้การบริหารการตลาดและเทคนิคการจัดหน้าร้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แล้วก็มีการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพป่าชุมชน ประเมินค่าความสมบูรณ์ของป่าชุมชนและศักยภาพและความสามารถการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ป่าชุมชนเป้าหมาย 50 แห่งทั่วประเทศดำเนินการแล้ว 43 แห่งทั่วทุกภาคของประเทศ พบว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ 1.3 ล้านตัน

        สำหรับความร่วมมือในระยะที่ 3 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งให้ข้อมูลว่า ได้กำหนดขอบเขตความร่วมมือออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. การประกวดป่าชุมชนโครงการคนรักษ์ป่าป่ารักชุมชนเพื่อยกย่องเชิดชูชุมชนที่มีการจัดการป่าแบบปากยังยืนชุมชนได้ประโยชน์ช่วยจุดประกายและขยายผลการจัดตั้งป่าชุมชนของประเทศ 2. การสร้างเครือข่ายป่าชุมชนสร้างเครือข่ายผู้นำป่าชุมชน และเยาวชนนักอนุรักษ์รุ่นใหม่รวมทั้งเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้นำป่าชุมชนและขยายเป็นเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสืบทอดเจตนารมณ์การปกป้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลรักษาป่าเดิมการเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนการปลูกฟื้นฟูป่าส่งเสริมให้ประชาชนเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องทรัพยากรป่าไม้การประเมินผลกระทบรวมถึงกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเพื่อกูลและยั่งยืน 4. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้สาธารณชนเกิดจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการป่าชุมชนและผลการดำเนินงานของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการดูแลรักษาป่า เป็นต้น.


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"