พลังงานทดแทน สะอาดแต่ไม่เสถียร


เพิ่มเพื่อน    

    จากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน รวมถึงคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (เออีดีพี 2015) จากเดิม 20% เป็น 40% เป็นผลให้แผนพีดีพี 2015 ฉบับใหม่ ต้องไปปรับลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลงมา
    ทำให้กระทรวงพลังงานต้องพิจารณาปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยาวของประเทศ (พีพีดี 2015) โดยจะมีการปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในแผน PDP 2015 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดรับกับความต้องการของท่านนายกรัฐมนตรีที่ต้องการส่งเสริมพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียมากขึ้น 
    ซึ่งตามแผนพีดีพีฉบับปัจจุบัน PDP 2015 ได้พยากรณ์ไว้ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2558-2579 ไว้ที่ระดับ 49,655 เมกะวัตต์ และกำหนดแผนกำลังผลิตไฟฟ้าไว้ที่ 70,335 เมกะวัตต์ และกำหนดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในปี 2579 จากโรงไฟฟ้าก๊าซอยู่ที่ 30-40%, โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 20-25%, รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำต่างประเทศ 15-20%, พลังงานหมุนเวียน 15-20% และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 0-5%  
    และคาดการณ์ว่าในไตรมาสแรกของปี 2561 กระทรวงพลังงานจะสามารถบรรจุโรงไฟฟ้าในแผน PDP ฉบับใหม่เสร็จ และจะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 และคาดจะประกาศใช้แผน PDP ฉบับใหม่ได้กลางปี 2561 ต่อไป
    อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับกันว่าการใช้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นโรงไฟฟ้าหลักของประเทศที่ส่งไปเลี้ยงในทุกพื้นที่ เนื่องจากคุณสมบัติที่มีปริมาณที่คงที่และระยะยาว จึงทำให้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งแตกต่างจากการใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นลม หรือแสงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งกลุ่มชีวมวลนั้น จะมีเพียงพอกับความต้องการใช้หรือไม่ 
    เริ่มจากพลังงานลม ก็มีข้อจำกัดในหลายด้าย อาทิ ในเรื่องของสถานีและปริมาณลม ซึ่งจำเป็นต้องเลือกสถานที่ที่มีลมและความเร็วที่พัดอย่างสม่ำเสมอ ในด้านการลงทุนค่อนข้างสูงมาก แต่ในด้านการผลิตไฟฟ้าจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ที่ปริมาณของกระแสลมที่พัดมา รวมถึงด้านการบริหารจัดการระบบก็มีความยุ่งยากมาก   
    ส่วนแสงอาทิตย์ 100% เป็นพลังงานบริสุทธิ์ ไม่มีมลพิษทั้งด้านแสง สี เสียง แต่ก็มีข้อจำกัดด้านของขนาดพื้นที่ต้องมีขนาดใหญ่ ไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นผันแปรไปตามสภาพอากาศ บางวันอาจเมฆเยอะ ฝนตกตลอดเวลา ก็ไม่สามารถผลิตไฟ และระยะเวลาที่ผลิตได้เฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดเท่านั้น ที่สำคัญไม่สามารถกักเก็บได้ นอกจากนี้แล้ว ต้นทุนการผลิตทุน ทั้งในด้านการติดตั้งและอุปกรณ์ในการติดตั้ง และการบำรุงการรักษาด้วย 
    ยังไม่รวมกลุ่มชีวมวลที่เป็นเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ดูได้จากแกลบ หรือเศษไม้ยางพารา ที่สมัยก่อนมีการผลักดันกันอย่างล้นหลามให้มีการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยมีอายุสัญญา 20-25 ปี แต่สุดท้ายเมื่อมีไม่เพียงพอก็เกิดการแย่งซื้อกัน 
    และการที่รัฐบาลพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ พลังงานไฟฟ้าถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ทุกเป้าหมายของรัฐบาลก้าวไปสู่ความสำเร็จ 
    ดังนั้น การสั่งชะลอโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้ากระบี่เองก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือต่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและการลงทุน การจะคัดค้าน ก็ควรที่จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง 
    และต้องกลับไปทบทวนทั้งฝ่ายที่คัดค้านและฝ่ายที่สนับสนุนนั้น ขอให้กระทำบนพื้นฐานของความเป็นจริง การรับฟังข้อมูลต้องคิดพิจารณาด้วยว่า เรื่องนั้นมีความจริงเท็จเท่าไหร่ และในส่วนของคนที่เปิดเผยข้อมูลก็ควรที่จะเปิดให้หมด ไม่ใช่ดึงเฉพาะสิ่งที่เสียหายมาบอกเล่าเท่านั้น เพราะการกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการทำลาย ดึงประเทศไทยถอยหลังเข้าคลอง. 

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"