เติมนวัตกรรมใส่อาหาร


เพิ่มเพื่อน    

    ถามว่า "สินค้าที่เป็นจุดแข็ง" สำหรับการแข่งขันในตลาดโลกของประเทศไทย คืออะไร?
    คงไม่มีใครอุตริไปตอบว่า "เทคโนโลยี" หรือ "ไอที แอปพลิเคชัน" เพราะรู้อยู่แล้วว่าประเทศไทยเป็นเพียงผู้ใช้ ไม่ใช่ผู้ผลิต  แต่สินค้าที่ตลาดโลกจดจำเราได้ คือ "อาหาร"
    อย่างที่ทราบกันดี ไทยเป็นทั้งผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตร และอาหารอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้นานาชาติยอมรับในเรื่องของคุณภาพสินค้าของไทย 
    แต่อนิจจา เราส่งออกแทบตาย ยังไงๆ ประเทศไทยเราก็ยังไม่ติดท็อป 10 ประเทศส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก อย่างล่าสุดในปี 2560 ที่ผ่านมาอยู่ในอันดับที่ 14 มีมูลค่าการส่งออก 1 ล้านล้านบาทเท่านั้น ซึ่งต้องยอมรับว่าเราวนเวียนอยู่ในช่วงอันดับแถวๆ นี้นานแล้ว ไม่สามารถก้าวผ่านตัวเลขนี้ไปได้
    อะไรคือสาเหตุ?? หากให้วิเคราะห์ง่ายๆ ก็คือ ประเทศไทยมุ่งเน้นแต่การส่งออกวัตถุดิบ ซึ่งมีราคาที่ถูก มีการแข่งขันสูง ตลาดผันผวนสูง แถมยังแข่งกันตัดราคา ทำให้มูลค่าการส่งออกไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก ซึ่งหากไทยเราต้องการจะเป็น “ครัวของโลก” อย่างแท้จริง ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการส่งออกอาหาร จากผู้ส่งออกวัตถุดิบมาเป็นผู้ส่งออกอาหารแปรรูปให้มากขึ้น เพราะได้มูลค่าที่สูงกว่า โดยในตอนนี้การส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปของไทย ซึ่งถือว่ามี น้อยมาก แค่เพียงราวๆ 2 แสนล้าน หรือ 20% ของการส่งออกอาหารทั้งหมดเท่านั้น
    ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลสถาบันอาหาร ก็เตรียมชงยุทธศาสตร์อาหาร 20 ปี ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ดูเป้าหมายที่วางไว้ ก็ท้าทายไม่ใช่เล่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การตั้งเป้าสร้างผู้ประกอบการรายใหม่เพื่อผลิตอาหารแปรรูปมูลค่าสูงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 3.5 หมื่นราย พร้อมตั้งฟู้ดวัลเลย์ให้ได้ 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการส่งออกอาหารให้ได้ 5 ล้านล้านบาท ติด 1 ใน 5 ของโลก แต่แผนระยะสั้นภายใน 5 ปี จะผลักดันให้ขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก มีมูลค่าส่งออก 2.5 ล้านล้านบาท
    ซึ่งการที่แผนจะสำเร็จได้ ภาครัฐจะต้องส่งแรงผลักดันอย่างจริงจัง ทั้งในแง่ของการช่วยเหลือทางด้านภาษี และการทำตลาดต่างประเทศที่จะต้องเข้มข้น ที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างนวัตกรรมให้อาหาร เพราะไทยถึงแม้จะมีวัตถุดิบ อาหาร ที่หลากหลาย แต่ยังไม่สามารถต่อยอดมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากนัก
    เรื่องนี้สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญ รวมถึงการนำนวัตกรรมแบบเปิดมาใช้ ที่มีการต่อยอดความรู้กันข้ามองค์กร  ซึ่งจะช่วยต่อยอดความรู้ไปสู่การผลิตและการศึกษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตลาดที่น่าสนใจเวลานี้ ก็คืออาหารฟังก์ชันนัลฟู้ด เจาะกลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ อาหารทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้อีกหลายเท่าตัวโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณวัตถุดิบ
    การสร้างนวัตกรรมจะไปได้ไกล จะต้องมีการจัดตั้งเมืองอาหาร "ฟู้ดวัลเลย์" ที่เป็นเมืองตักศิลา ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมอาหารให้ไปไกลมากที่สุด โดยมีตัวอย่างความสำเร็จมาแล้ว อย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็มีการการจัดตั้ง “เมืองอาหาร” (Food Valley) ที่เมืองวาเกนนิงเกน โดยภายในเมืองอาหารนี้ ประกอบไปด้วย สถาบันการศึกษา ทั้งในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา มีศูนย์วิจัย และเป็นที่ตั้งของบริษัทอาหารชั้นนำของโลก มากมาย
    โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ร่วมกับภาคเอกชน ผลักดัน ”ฟู้ดวัลเลย์” เกิดขึ้นอีก 2 นิคมฯ ก็คือ ฟู้ดวัลเลย์ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารไปแล้ว 1 แห่ง ที่ จ.อ่างทอง เนื้อที่ 1.3 พันไร่ ภายใต้การลงทุน 4,200 ล้านบาท ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นเมืองนวัตกรรมอาหารอนาคตที่ครบวงจร มีอุตสาหกรรมเป้าหมายภายในโครงการ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์และโครงการนิคมอุตสาหกรรม ซี.พี. บนพื้นที่ 3,068 ไร่ งบประมาณการลงทุน 5,628.50 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีแผนร่วมกับบริษัท น้ำตาลราชบุรี จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหาร ที่ จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ต่อยอดมาจากอ้อย และร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งฟู้ดวัลเลย์ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อีกด้วย
    ถ้าสามารถต่อยอดวัตถุดิบอาหารได้มากขึ้น ไทยก็สามารถขึ้นไปทาบพี่เติ้งทางอาหารอย่างสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ได้ไม่ยาก.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"