"นกเงือก"ปี60  ขยายพันธุ์เพิ่ม-บ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่ามีมากขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

 

นกเงือก เป็นสัญลักษณ์ของป่าสมบูรณ์ และเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า  ทุกปีของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จึงถูกกำหนดให้เป็นรักนกเงือก บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL INTERNATIONAL ร่วมกับ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดกิจกรรม วันรักนกเงือก ในคอนเซ็ปต์ “รวมใจให้นกเงือก” เพื่อหารายได้ร่วมสมทบทุนมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก และจะมีการรายงานสถานการณ์นกเงือกประจำทุกปี เพื่อให้คนไทยได้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษณ์นกเงือก

สถานการณ์นกเงือกในไทยในปี 2560  มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ซึ่งได้เก็บข้อมูลในพื้น 3 พื้นที่ คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พบว่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีโพรงรังนกเงือกที่สภาพดี 178 รัง จำนวนนกเงือกเข้าโพรงรัง  112 ตัว  หรือ63% ประสบความสำเร็จในการทำรัง 106 รังและลูกนกที่ได้ในปี 2560 จำนวน 131 ตัว

ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มี มีโพรงรังนกเงือกที่สภาพดี 32 รัง จำนวนนกเงือกเข้าโพรงรัง  15 ตัว หรือคิดเป็น47%  ประสบความสำเร็จในการทำรัง 15 รังและลูกนกที่ได้ในปี 2560 จำนวน 22 ตัว 

ส่วนในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี พบว่า มีโพรงรังนกเงือกที่สภาพดี 124 รัง จำนวนนกเงือกเข้าโพรงรัง  37 ตัวหรือคิดเป็น 30%  ประสบความสำเร็จในการทำรัง 22 รังและลูกนกที่ได้ในปี 2560 จำนวน 25 ตัว 

รวมแล้วทั้ง 3 พื้นที่มีลูกนกเงือกทั้งหมด 178 ตัว ดังนั้นในปีนี้จะได้ต้นไม้คืนความสมบูรณ์สู่ป่าเพิ่มอีกประมาณ 3,249 ต้น และตั้งแต่ปี 2524-2560 มีจำนวนลูกนกเงือกที่ออกสู่ธรรมชาติจำนวน 4,170 ตัว 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัยร่วมจากหลายสถาบันเพื่อศึกษาลักษณะพันธุกรรม ประชากร และสถานภาพของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่าและหย่อมป่าในประเทศไทย  กล่าวเสวนาหัวข่อฃ้อ" เรื่องเล่าจากป่า" ว่า จากการทำการศึกษาอย่างเข้มข้นใน 3 พื้นที่ พบว่าพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีนกเงือกอยู่ 4 ชนิดคือนกกก นกเงือกกรามช้าง นกเงือกสีน้ำตาล และนกแก๊ก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรนกเงือกที่ปลอดภัย ในช่วง 38 ปีที่ผ่านมา มีลูกนกเงือกเกิดขึ้นเกือบ 2,500  ตัว และเพิ่มมากกว่าช่วงทำการศึกษาวิจัยใหม่ๆ ประมาณ 3 เท่า จาก 6 ตัวต่อตารางกิโลเมตร ปัจจุบันเพิ่มเป็น 18-19 ตัวต่อตารางกิโลเมตร  แต่ที่ดีกว่านั้นคือมีความหลากหลายทางพันธุกรรมดีขึ้น  โดยเฉพาะนกกก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกเงือกเอเชีย มีการกระจายพันธุ์กว้าง และมีความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีมากและยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น

ส่วนในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีนกเหงือก 6 ชนิดคือนกกก นกเงือกกรามช้าง นกเงือกคอแดง นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาล จากการประเมินพบว่านกเงือกคอแดงคือนกเงือกที่อยู่ในสถานการณ์ที่กำลังถูกคุกคาม   ซึ่งมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ เพราะมีประชากรน้อย ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีประมาณพียง 2,000 ตัว และนกเงือกกรามช้างปากเรียบ ที่อพยพไปหากินที่ประเทศมาเลเซีย และไปรวมฝูงกันที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ความหนาแน่นของประชากร นกเงือกในพื้นที่นี้มีมากกว่า 20 ตัวต่อตารางกิโลเมตร

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีนกเงือก 6 ชนิด ได้แก่ นกกก นกชนหิน นกเงือกหัวแรด นกเขาหรือนกเงือกปากดำ และนกเงือกหัวหงอก และในส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาก็จะมีนกเงือกดำ นกเงือกปากย่น ทั้ง 2 เขตพื้นที่เป็นผืนป่าเดียวกัน แต่มีลักษณะเป็นหย่อมๆ 

"ที่ผืนป่าบูโด-สุไหงปาดี ในช่วงที่ไปทำวิจัยศึกษา พบว่ามีการล่านกเงือกสูงมาก เพราะมีชุมชนที่มีอาชีพเป็นพราน โดยมีปัจจัยทั้งนำลูกนกไปขายจากใบสั่ง และพบว่าพันธุ์นกเงือกที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์คือนกเงือกปากย่น นกเงือกดำและนกชนหิน ซึ่งมีไม่ถึง 100 ตัว แต่ว่านกชนหินในผืนป่าอื่นก็อาจจะยังมีแต่ว่าไม่มาก 3 ปีที่ผ่านมานกเงือกมีลูกนกเงือกเพิ่มเพียง 1 ถึง 2 ตัว จึงทำให้เกิดเป็นโมเดลในการอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งเป็นการไปสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านสร้างจิตสำนึกให้หันมาอนุรักษ์นกเงือก โดยในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างมาก” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล กล่าว

 หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ยังชี้ให้เห็นว่าในแต่ละพื้นที่ป่ามีแตกต่างกันโดยพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่สถานการณ์ของนกเงือกนั้นอยู๋ในเกณฑ์ที่ดีสุด แต่เชตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งอาจจะประสบความสำเร็จน้อยเพราะว่ามีสัตว์ผู้ล่าและเป็นพื้นที่ที่มีความกว้างใหญ่ ในส่วนของพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษคืออุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี โดยเฉพาะเรื่องคน ซึ่งตอนนี้ก็จะมีนักล่านกเงือกอยู่ประมาณ  2-3 เคส และยังเป็นพื้นที่ป่าเล็ก ต้นไม้ใหญ่จึงถูกลักลอบตัดจึงต้องทำโพรงเทียมขึ้นมาแก้ปัญหา

" อย่างในกรณีเสือดำ ซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่ถูกล่านั้น ทำให้เห็นว่าบทลงโทษทางกฎหมายยังเบาอยู่สำหรับผู้ที่ได้กระทำการล่า และอีกหนึ่งปัจจัยคือ คนไม่เห็นความสำคัญ แต่ตอนนี้ Social Media และสังคมมี Impact ในการกดดันการดำเนินคดีต่อผู้ที่ล่าสัตว์คุ้มครอง เพื่อให้เป็นตัวอย่าง เพราะการล่าสัตว์ทุกชนิดไม่สมควรที่จะเกิดขึ้น แต่ยังดีที่มีการปกป้องคุ้มครองนกเงือกได้ดีอยู่ ส่วนที่สำคัญที่สุดคงเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการดูแลอนุรักษ์ทั้งป่าและสัตว์ที่เป็นกำลังสำคัญในการดูแลรักษา"ศ.เกียรติคุณ ดร.พิไลกล่าว

แม้ว่ากิจกรรมนี้ได้จบลงแล้ว แต่สำหรับผ็ที่สนใจสมทบทุนในการเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยยืดอายุนกเงือกให้มีชีวิตที่ยืนยาวต่อไปในอนาคต ได้ที่บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่ 026-2-75910-2 ชื่อบัญชี มูลนิธินกเงือก หรือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก โทร. 0 2201 5532 หรือ www.facebook.com/Hornbill.Thailand.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"