ชมผ้าทอ-เที่ยวเกาะยอ


เพิ่มเพื่อน    

(พระนอนวัดแหลมพ้อ แลนด์มาร์คท่องเที่ยวอีกแห่งในเกาะยอ)

ผ้าทอของภาคใต้ เป็นอีกหนึ่งตำนานภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย แม้ลวดลายจะแตกต่างไปจากภาคเหนือหรือภาคอีสาน เพราะมีเนื้อผ้าที่แข็งกว่า แต่ในแง่ของลวดลายถือว่ามีความสวยงาม สะท้อนวิถีชีวิตผู้คนได้ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ "ผ้าทอเกาะยอ" จังหวัดสงขลา มีชื่อเสียงโด่งดังมานาน กลายเป็นของดีประจำท้องถิ่น ที่คนไปเที่ยวเกาะยอ ต้องไม่พลาดที่จะแวะเวียนไปซื้อหาติดไม้ติดมือกลับมา

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้เดินหน้าสานต่อโครงการไปรษณีย์ไทย...เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง" โดยจับมือกับประชาสังคมเครือข่ายจังหวัดสงขลา ยกระดับสินค้าเอกลักษณ์ท้องถิ่น "ผ้าทอเกาะยอ" ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน มาปั้นแบรนด์ใหม่ให้กลายเป็น "ยอ ทอ มือ" โดยไปรษณีย์ไทยจะช่วยเหลือด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้ดูดี ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านไปรษณีย์ไทย

(สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด(ปณท) ทำพิธีส่งมอบแพ็กเกจจิ้ง ผ้าทอเกาะยอ ให้คุณป้ายมนา สินธุรัตน์หัวหน้ากลุ่มทอผ้าร่มไทร เกาะยอ)

คุณสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) บอกเล่าถึงโครงการว่า เป็นนโยบายของไปรษณีย์ไทยที่ต้องการช่วยเหลือเศรษฐกิจของชุมชน เพราะไปรษณีย์ไทยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีสาขาไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ 13,000 แห่ง และไปรษณีย์เอกชนที่ได้รับอนุญาตอีก 3,000 แห่ง นับเป็นศักยภาพและกำลังที่เข้มแข็ง ที่จะเป็นช่องทางช่วยเหลือสินค้าชุมชนได้ ที่ผ่านมาได้ทำโครงการเพื่อเศรษฐกิจชุมชนแล้วประมาณ 30 โครงการ ซึ่งผ้าทอเกาะยอเป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่ไปรษณีย์ไทยสนับสนุนทั้งในเรื่องของแพ็กเกจจิ้งและการจัดจำหน่าย

(ผ้าพันคอ “ลายแสงสุริยา” ผ้าทอรุ่นใหม่ของเกาะยอ ที่เนื้อผ้าบางเบา สีสัน สวยงามมาก)

ส่วนเหตุผลที่เลือกผ้าทอเกาะยอเข้าโครงการก็เพราะเห็นว่าเป็นของดีอยู่แล้ว เป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของท้องถิ่นในตัวเอง แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องของบรรจุภัณฑ์และช่องทางการเข้าถึงผู้ซื้อ ที่ส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามาในช่วงเทศกาล แต่ถ้าเป็นช่วงโลว์ซีซั่น นักท่องเที่ยวหาย รายได้ของกลุ่มคนทอก็จะหายไปด้วย เราจึงเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเรื่องการจัดจำหน่าย ซึ่งแบรนด์ของผ้าทอเกาะยอจะปรากฏในเว็บไซต์ไปรษณีย์ไทย ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อทางเว็บของไปรษณีย์ไทยได้

       

(กำแพงบ้านเก่าในเกาะยอที่จะเป็นแลนด์มาร์คถ่ายรูปแห่งใหม่)       (มุมหนึ่งแถวถนนนางงาม สงขลา)

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังชักชวนมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยให้นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์มาลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน พร้อมประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการออกแบบ พัฒนาดีไซน์ผ้าทอเกาะยอที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้สามารถสวมใส่ได้ง่ายและทันสมัยมากขึ้นด้วย

"เราเข้ามาช่วยสนับสนุนในการปั้นแบรนด์ ยกระดับสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น และต่อไปอาจออกไปต่างประเทศได้ ส่วนสินค้าที่เราเลือกสนับสนุน จะมีทั้งบางส่วนที่คนรู้จักแล้ว แต่การจัดจำหน่ายยังคับแคบอยู่ในวงจำกัด กับอีกแบบหนึ่งคือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้หมายถึงของใช้อย่างเดียว พวกของกินก็รวมอยู่ได้ แต่เป็นของดีที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก บางอย่างถือว่าเป็นการค้นพบของไปรษณีย์ไทยเลยก็ว่าได้ เราก็เข้าไปสนับสนุนเพื่อให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น"

(ผ้าทอลายรสสุคนธ์ อีกหนึ่งลายที่เป็นไฮไลต์ของผ้าทอเกาะยอ กลุ่มร่มไทร)

คุณป้ายมนา สินธุรัตน์ ฝ่ายการตลาด กลุ่มทอผ้าร่มไทร ผู้สืบทอดการทอผ้าเกาะยอจากรุ่นพ่อ บอกเล่าว่า ทางกลุ่มทอผ้าลวดลายดั้งเดิม เช่น ลายรสสุคนธ์ ลายเกล็ดปลาขี้กัง ลายจันทร์หอม ลายราชวัตร ลายร่มไทร ลายดอกรัก ลายสุพรรณิกา ลายลูกแก้ว ลายผกากรอง 8 ตะกอ เป็นต้น แต่ลายที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอเกาะยอนั้นก็คือ ลายราชวัตร และลายรสสุคนธ์ การจำหน่ายผ้าทอของกลุ่มมีทั้งนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่ชอบผ้าทอมือมาก

ถึงจะมีลวดลายมากมาย แต่ป้ายมนาบอกว่า ทางกลุ่มไม่หยุดที่จะพัฒนาลายใหม่ๆ เพราะบางทีการขายออกร้าน ลูกค้าที่เคยซื้อมักจะถามว่าไม่มีลายใหม่ๆ มาหรือ ทำให้ต้องพยายามหาลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังพยายามทำให้เนื้อผ้าบางนุ่มนวลมากขึ้น เนื่องจากผ้าทอเกาะยอจะมีลักษณะเนื้อผ้าที่แข็งหนากว่าผ้าทออีสานหรือภาคเหนือ ซึ่งล่าสุดป้ายมนาได้พัฒนาผ้าลายแสงดอกแสงสุริยา ทำเป็นผ้าพันคอ มีเนื้อบางเบามองดูคล้ายผ้าทอภาคเหนือหรืออีสาน

(ผลิตภัณฑ์กระเป๋าย่ามจากผ้าทอเกาะยอ)

สินค้าผ้าทอเกาะยอของกลุ่มร่มไทรได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าโอท็อปเมื่อปี 2545 ป้ายมนาบอกว่า การรวมกลุ่มสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนให้อยู่ได้ คนละ 3,000-12,000 บาทต่อเดือนแล้วแต่ความขยัน ของแต่ละคน และการที่ไปรษณีย์ไทยมาช่วยเหลือในเรื่องแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสนับสนุนเรื่องการจำหน่ายเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะจะทำให้ผ้าเกาะยอเข้าถึงผู้ซื้อมากขึ้น และผลดีตามมาก็คือจะทำให้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้เพิ่มขึ้น

"กลุ่มผ้าทอป้าลิ่ม" เป็นอีกจุดที่ไปรษณีย์ไทยเข้าไปสนับสนุนเรื่องบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย ป้างพวงเพ็ญ และลุงอรชุน ลิ่มเสรีตระกูล สองสามีภรรยาบอกเล่าความเป็นมาของผ้าทอเกาะยอว่า จริงๆ แล้วกลุ่มป้าลิ่มเป็นกลุ่มแรกที่ฟื้นฟูการทอผ้า ก่อนกระจายให้ชุมชนอื่นๆ จนปัจจุบันกลายเป็น 5 กลุ่มที่ทอผ้าในเกาะยอ ส่วน "ลายราชวัตร" ที่เป็นเอกลักษณ์และชาวเกาะยอภูมิใจที่สุดก็มีตำนานว่าคนเกาะยอเคยทูลเกล้าฯ ถวายผ้าลายราชวัตรแด่ในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่เสด็จฯ สงขลา เมื่อ พ.ศ.2475 เมื่อทอดพระเนตรเห็นผ้าลายนี้ที่งดงามยิ่งนัก รับสั่งถามว่าลายอะไร ผู้ถวายบอกไม่ทราบชื่อ น่าจะเป็น "ลายขนคอนกเขา" พอทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงตั้งชื่อลายผ้านี้ว่า "ลายราชวัตถ์ ซึ่งแปลว่า "ราชาแห่งผ้า"

(การเดินแฟชั่นผ้าทอเกาะยอ)

เรื่องเล่าผ้าทอเกาะยอนอกจากจะเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนอยากสวมใส่แล้ว ไปรษณีย์ไทยยังจัดแฟชั่นโชว์ริมชายหาดทะเลสงขลาเรียกน้ำย่อยให้ผ้าทอเกาะยออีกด้วย โดยหวังเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าผ้าทอที่บางคนบอกว่าใส่แล้วแก่ ใส่แล้วเชย หากมีการดีไซน์และเลือกใช้ผ้าแบบมีไอเดียแล้ว ชุดที่ได้ก็จะออกมาเก๋ไก๋ ดูดี เท่ได้ไม่แพ้ผ้าลายสมัยใหม่

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนให้มีการพัฒนาจุดแลนด์มาร์ค จัดหาสถานที่สำหรับการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบ 3 มิติ บริเวณเรือที่หาดทรายเทียมและผนังบ้านโบราณ ร้านอาหารที่อยู่ภายในชุมชนเกาะยอ ปั่นจักรยานรอบเกาะยอ ซึ่งขอบอกว่าอากาศที่นี่ดีมากๆ เป็นชุมชนที่น่าอยู่แห่งหนึ่ง รวมทั้งการไปเยี่ยมชมในชุมชนเก่าแก่ในตัวเมืองสงขลา ซึ่งมีถนนนางงามเป็นไฮไลต์ นับเป็นการร้อยเรียงจากตัวสินค้าผ้าทอเกาะยอไปสู่การท่องเที่ยวในชุมชนรอบๆ เกาะยอและตัวจังหวัดสงขลา เพราะทุกกิจกรรมท่องเที่ยวจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจและสินค้าชุมชน

เรื่องการผลักดันท่องเที่ยวเกาะยอ ไปรษณีย์ไทยยังได้ร่วมกับ 4 มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา คือ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดประกวดทําคลิปบอกเล่าเรื่องราว “ท่องเที่ยวเกาะยอ” เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเกาะยอ

ในแง่การท่องเที่ยว "เกาะยอ" ที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลานับว่าน่าไปไม่แพ้ที่อื่น อย่างที่บอกไปแล้วว่าอากาศที่นี่ดีมากๆ เป็นความบริสุทธิ์ที่สัมผัสได้ อาจจะเป็นเพราะความเป็นเกาะทำให้ไม่ค่อยร้อน มีลมพัดตลอด ชุมชนในเกาะเงียบสงบ มีบ้านเรือนเก่าๆ หลงเหลือให้ดู การเดินทางสะดวก ไม่ว่าจะไปจากหาดใหญ่หรือสงขลาก็ใช้เวลาไม่นานในการมาถึงเกาะยอ คนที่แสวงหาธรรมชาติ เกาะยอน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่ง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"