วิดีโอสตรีมมิ่งกำลังกลืนกินทีวี


เพิ่มเพื่อน    


    ย้อนกลับไปเมื่อ 30 กว่าปีก่อน การปรากฏขึ้นของ MTV สร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังวงการวิทยุ เพราะมองว่า ทีวีจะมาแย่งความสำคัญของสื่อวิทยุไป จนเกิดเป็นกระแส Video Killed The Radio Star 
    จนมายุคปัจจบัน กระแสดังกล่าวได้กลับมาอีกครั้ง หลังพบว่าผลสำรวจคนไทยใช้ชีวิตอยู่บนโลกไซเบอร์เฉลี่ย 5-7 ชั่วโมงต่อวัน นับว่าเกือบ 1 ใน 3 ของวัน และเป็นการให้เวลากับ "ความบันเทิง" บนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชมวิดีโอออนไลน์ โดยมีข้อมูลระบุว่า คนไทยใช้เวลากว่า 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการรับชมวิดีโอออนไลน์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการรับชมรายการผ่านสถานีโทรทัศน์     
    ด้วยจำนวนผู้รับชมที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดบริการวิดีโอสตรีมมิ่งรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบรับชมฟรีหรือรับชมแบบบอกรับสมาชิก ซึ่งรายได้ของธุรกิจนี้หลักๆ ก็มาจาก เม็ดเงินโฆษณาเป็นหลัก ที่เหลือก็เป็นรายได้จากการบอกรับสมาชิก 
    และในปี 2561 สมรภูมิวิดีโอออนไลน์จะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น  นำโดยกลุ่มที่ให้เป็นแพลตฟอร์มให้บริการชมฟรี อย่าง Youtube หรือ Line TV ซึ่งตอนนี้ก็ฮิตติดลมบน จนกลายเป็นแอปพื้นฐานที่จะต้องอยู่บนสมาร์ทโฟนและสมาร์ททีวีแล้ว  
    แน่นอนจุดแข็งของ Youtube คือจำนวนเนื้อหาคอนเทนต์ที่มหาศาล ทำให้เป็นคลังวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผู้ผลิตรายการและช่องโทรทัศน์ก็ใช้ Youtube เป็นตัวเผยแพร่คอนเทนต์ไปด้วย ยิ่งเป็นการดึงดูดกราฟฟิก การใช้งานเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องของบริการวิดีโอสตรีมมิ่งในโลกนี้ยังมีการให้บริการอีกหลายแพลตฟอร์ม เพียงแต่ไม่โด่งดังในประเทศไทย vimeo.com หรือ dailymotion 
    ส่วน Line TV ก็มาแรงมากสำหรับประเทศไทย สร้างจุดต่าง ในฐานะแพลตฟอร์มการรับชมรายการทีวีย้อนหลัง ซึ่ง Line TV ทำได้ดีมาก โดยเฉพาะการร่วมมือกับผู้ผลิตรายการ ลงทุนสร้างรายการที่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ เฉพาะ Line TV เท่านั้น  ทำให้ Line TV แม้เป็นน้องใหม่เพียง 3 ปี แต่สามารถสร้างการรับรู้ต่อผู้ใช้ชาวไทยในวงกว้าง จนปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมาใช้งานแล้วกว่า 20 ล้านดาวน์โหลด และทิศทางก็จะแรงขึ้นต่อเนื่อง จากการทุ่มงบในการสร้างพันธมิตร และขยายคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง
    นอกจากนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ก็คือ Facebook ซึ่งปัจจุบันมีการรับชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กเยอะขึ้น รวมถึงการไลฟ์สด ซึ่งก็กลายเป็นแพลตฟอร์มการรับชมวิดีโอที่คนไทยมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน และในอนาคตเฟซบุ๊กก็มีแนวโน้มจะขยายธุรกิจเข้าสู่วงการสื่อด้วยเช่นกัน
    นอกจากกลุ่มที่ให้บริการรับชมฟรีแล้ว ในประเทศไทย กลุ่มทีวีบอกรับสมาชิกก็เติบโตด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบผูกร่วมกับแพ็กเกจที่มาพร้อมกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ ซึ่งตอนนี้ทั้งค่ายทรูและเอไอเอสก็ขับเคี่ยว สรรหาคอนเทนต์จากพันธมิตรต่างๆ ทั้งบันเทิง ดนตรี กีฬา สารคดี และรายการโทรทัศน์ เข้ามาต่อยอดบริการกันอย่างต่อเนื่อง ยังไม่นับกลุ่มผู้ให้บริการภาพยนตร์ บอกรับสมาชิก ซึ่งก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด
    ต้องยอมรับว่าการแข่งขันที่เข้มข้น ย่อมสร้างผลดีต่อผู้ชม ที่จะได้รับชมความรู้ ความบันเทิงที่ดีที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ส่งผลกระทบมายังสื่อหลัก อย่างสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ในสถานะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก เพราะเจอต้นทุนที่ต้องแบบรับสูงกว่ามาก ซึ่งก็ยอมรับว่าโลกธุรกิจอยู่ภายใต้การทำงานของกลไกตลาด ผู้ที่หาช่องทางของตัวเองเจอ คนนั้นก็รอด 
    แต่สำหรับสมรภูมิวิดีโอสตรีมมิ่งเพิ่งแค่เริ่มต้น ก็ยังไม่ทราบเลยว่าหลังจากกลุ่มธุรกิจทีวีออนแอร์จะอยู่รอดและแข่งขันในยุทธจักรได้แค่ไหน เพราะหากดูจากแนวโน้มต่างประเทศ ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ก็หันมาผลิตรายการกันเองเยอะอย่างก้าวกระโดด จากนี้ต้องรอดูการปรับตัวรับมือสำหรับผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ ว่าจะต่อสู้ในสมรภูมินี้อย่างไร.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"