เช็กบิลสังเวย ทุจริตเงินสงเคราะห์ ต้องไม่จบแค่เด้งบิ๊กพม.


เพิ่มเพื่อน    

https://storage.thaipost.net/main/uploads/photos/big/20180226/image_big_5a94232145d14.jpg

มีเก้าอี้ร้อนกันอีกหลายคนแน่นอน กับการสะสาง ทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพราะขนาดนายกรัฐมนตรีสั่งเด้ง พุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่เหลืออายุราชการอีก 6 เดือนก็จะเกษียณ และณรงค์ คงคำ รองปลัด พม. ไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ เมื่อช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา

หลังพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.การพัฒนาสังคมฯ ดอดเงียบไปที่ทำเนียบรัฐบาลก่อนหน้ามีคำสั่งย้ายดังกล่าวไม่กี่ชั่วโมง ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกอนันตพร คงเห็นร่วมกันแล้วว่า ต้องทำอะไรสักอย่าง เลยเป็นที่มาของคำสั่งย้ายดังกล่าว ที่มีการมองกันว่า เมื่อส่วนหัวในกระทรวง แม้อาจไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ เริ่มจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น

ที่ต้องชื่นชมความกล้าหาญของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ระหว่างฝึกงาน ช่วงเดือน ส.ค.-พ.ย.60 ที่ผ่านมา ที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น พบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ในการปลอมลายมือชื่อของประชาชนที่รับเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) รวมกว่า 6.9 ล้านบาท จนมีการนำเรื่องมาเปิดเผย ถือเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมและเป็นโมเดล การตรวจสอบโดยประชาชน ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่เกิดในระดับพื้นที่ แต่เมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นและการตรวจสอบกำลังเกิดขึ้นอีกหลายแห่งร่วม 37 แห่ง เช่นที่เชียงใหม่

ดังนั้น พุฒิพัฒน์-ณรงค์ 2 บิ๊ก พม.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุด ก็ต้องรับผิดชอบ เพื่อให้การตรวจสอบทั้งจาก ป.ป.ท.และ สตง. รวมถึงของกระทรวง พม.ดำเนินไปโดยราบรื่น

สำหรับการขยายผลตรวจสอบเรื่องดังกล่าว แลดูแล้วหลังจากนี้ในระดับล่างลงมาในกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ–กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็คงจะมีโดนเช็กบิลกันอีกยกพวง แม้ก่อนหน้านี้ พม.จะมีการสั่งย้าย ผอ.ศูนย์คนไร้ที่พึ่งและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปหลายวันแล้ว

เพราะคณะกรรมการสอบวินัยอย่างร้ายแรงผู้เกี่ยวข้องที่พบมีมูลการทุจริต 4 คน ประกอบด้วย ผอ.ศูนย์ฯ หัวหน้าฝ่ายจัดสวัสดิการสังคม และเจ้าหน้าที่ 2 ราย ตลอดจนคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด อาจมีการสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้นทุจริตเงินคนจนในสัปดาห์นี้

ก่อนหน้านี้ ฝ่ายการเมืองมีการเสนอแนะนายกฯ ให้เร่งตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว เช่น วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ย้ำว่า แม้นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งย้ายข้าราชการระดับสูงใน พม.ไปแล้ว แต่ควรโยกย้ายข้าราชการเพิ่มเติมอีก 3 คน ให้พ้นจากอำนาจหน้าที่และเปิดทางให้มีการสอบสวนอย่างโปร่งใส และป้องกันมิให้ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ประกอบด้วย 1.ผู้อำนวยการคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นบุคคลที่คุมการโอนเงินงบคนจนและผู้ป่วยโรคเอดส์ 2.ผู้ตรวจการของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับปลัดกระทรวง 3.ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคม กลุ่มเป้าหมายพิเศษ ซึ่งเป็นผู้คุมนิคมสร้างตนเองและศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาทั้งหมด

ทั้งนี้ จะพบว่าหลังเกิดเรื่องดังกล่าว ทางผู้บริหารของกระทรวงนอกจากมีการแอคชั่นอย่างหนักเพื่อเร่งจัดการเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระทรวงไม่น้อย แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว เห็นได้จากที่ สตง.เคยมีหนังสือด่วนลับมากที่ ตผ.0039/643 ลงวันที่ 30 มิ.ย.60 แจ้งเรื่องการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ต่อ รมว.พม.ในเวลานั้นคือ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปัจจุบันย้ายไปเป็น รมว.แรงงาน และเกิดขึ้นในช่วงที่ปลัด พม.ยังเป็น ไมตรี อินทุสุต แต่ก็เป็นช่วงที่ พุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัด พม.ตอนนั้น เป็นอธิบดี พส. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว ที่ก็แสดงให้เห็นว่า เรื่องดังกล่าวมีการตรวจสอบพบ ช่องโหว่ การเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์มานานแล้ว แต่เหตุใดจึงไม่มีการหามาตรการแก้ไขปัญหา

จนเมื่อเริ่มเป็นข่าวดังมากขึ้น ทางผู้บริหาร พม. โดยพลเอกอนันตพร จึงมีการปรับระบบการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ที่ล่าสุดทาง พม.เคาะมาว่า จะไม่มีการยกเลิกการจ่ายเงินดังกล่าวแน่นอน แต่จะปรับรูปแบบการเบิกจ่ายและสร้างระบบตรวจสอบให้รัดกุมขึ้นด้วยการทำในลักษณะคณะกรรมการ ที่เรียกว่า One home มีกรรมการที่เป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมฯ ของจังหวัด และเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการร่วมกันพิจารณาจัดสรรเงิน จากเดิมทำกันเองภายในศูนย์ โดยมีรองอธิบดีเป็นประธาน ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนเมษายนนี้ และให้ใช้วิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านบัญชีธนาคารหรือเช็คเป็นรายบุคคล แต่หากจ่ายเป็นตัวเงินต้องทำโดยให้เห็นเงินชัดเจน ไม่ให้ใส่ซองและให้บันทึกภาพไว้หมด ทั้งคนให้-คนรับ

แต่ไม่ว่าจะสะสาง-แก้ไข จุดโหว่-รูรั่วของการเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์ดังกล่าวกันอย่างไร อันดับแรกที่สังคมอยากเห็นก็คือ การจัดการกับเหลือบสังคม ที่ร่วมกันทุจริตเงินดังกล่าว ที่ต้องเด็ดขาดรวดเร็ว จากนั้นก็ออกแบบระบบให้รัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลการทุจริต

เรื่องนี้แม้รัฐบาล-พม.จะออกแอคชั่นช้าไปบ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย จนเกิดการรั่วไหล ทุจริตเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้แบบที่ผ่านมา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"