ยกระดับช่องทางขาย


เพิ่มเพื่อน    

      จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีทิศทางการเติบโตที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับแรงหนุนจากภาครัฐที่ใช้นโยบายต่างๆ เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการผลักดันการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย    

        ซึ่งในส่วนของแรงขับเคลื่อนจากหลายๆ ปัจจัยส่งผลให้ภาคธุรกิจเอกชนมีแรงกระตุ้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจประกันภัยที่เห็นได้ว่าในแต่ละปีจะสามารถสร้างผลงานจากภาคอุตสาหกรรมได้เป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สามารถผลักดันจีดีพีของประเทศเติบโตได้อย่างดี ซึ่งเป็นผลมาจากการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ.

        และจากนโยบายยกระดับมาตรฐานพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันภัย จะเห็นได้ว่าจะมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย ส่งเสริมและกำกับดูแลให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยมีมาตรฐานจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติที่ดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อประชาชน ตลอดจนดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัยภายหลังที่มีการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างเกิดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

        ส่งผลให้ในปี 2560 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงผ่านช่องทางการขายจากตัวแทนธนาคาร โทรศัพท์ นายหน้าไปรษณีย์ และช่องทางอื่น รวมทั้งสิ้น 608,666 ล้านบาท ขยายตัว 7.23% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งช่องทางการขายผ่าน “ตัวแทน” ยังครองแชมป์มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงสูงสุดจำนวน 302,401 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 49.68% ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง

        โดยช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีอัตราการขยายตัว 5.32% รองลงมาคือช่องทางการขายผ่าน “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงจำนวน 268,538 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.12% ขณะที่ช่องทางการขายผ่านธนาคารมีอัตราการขยายตัว 10.12% ส่วนการขายผ่านช่องทาง “นายหน้า”  มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงจำนวน 16,627 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.73% และช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัว 13.38%

        สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 218,932 ล้านบาท ขยายตัว 3.20% ซึ่งช่องทางการขายผ่าน “นายหน้า” ยังคงมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงสูงสุดจำนวน 126,550 ล้านบาท โดยช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัว 7.42% รองลงมาคือช่องทางการขายผ่าน “ตัวแทน” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 31,683 ล้านบาท ส่วนช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีการหดตัวอยู่ที่ 8.75% และการขายผ่านช่องทาง “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเป็นอันดับ 3 จำนวน 28,841 ล้านบาท 

        และในปี 2561 คปภ.มีแผนยกระดับการให้บริการและพฤติกรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขายและการดูแลกรณีเกิดปัญหาในเรื่องประกันภัย

        นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนประกันภัยและสำนักงานนายหน้าประกันภัย โดยจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั่วประเทศ และดำเนินการตามแผนการเข้าตรวจสอบ อาทิ การตรวจสอบประจำปี เพื่อตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยป้องกัน/หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนผู้เอาประกันภัยในอนาคต

        ทั้งยังตรวจสอบบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อตรวจสอบแนะนำการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยให้ถูกต้อง การตรวจสอบเฉพาะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบช่องทางการขายผ่านธนาคารพาณิชย์ และการตรวจสอบสื่อโฆษณา รวมถึงการเชิญบริษัทประกันภัยเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจและการควบคุมคุณภาพการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมทั้งรับทราบประเด็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

        อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรฐานที่ได้รับมีการยกระดับ เชื่อมั่นได้ว่า “ธุรกิจประกันภัย” จะสามารถเติบโตได้อย่างแน่นอนครับ.

ศรยุทธ เทียนสี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"