ป้องกันโรคเลือกปฏิบัติ เด็กยุคใหม่ต้องใช้เวลากับปู่ย่า


เพิ่มเพื่อน    



    เมื่อเด็กๆ เกิดความรู้สึกผูกพันกับปู่ย่าตายายของตัวเอง ประโยชน์ที่ได้นอกจากพวกเขาจะมีจิตใจที่อ่อนโยนแล้ว ความใกล้ชิดดังกล่าวจะทำให้พวกเขาเติบโตมาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุด้วย 
    จากการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กอย่าง “Child Development” พบว่า “เด็กที่ใช้เวลาอยู่กับปู่ย่าตายายอย่างอบอุ่น ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นกิจกรรม ที่ทำในวันคริสต์มาสเท่านั้น...  เมื่อโตขึ้นพวกเขาจะไม่เลือกปฏิบัติกับผู้สูงอายุ หรือจะคอยดูแลผู้สูงวัย ตลอดจนคนทุกวัยอย่างเท่าเทียมกัน” 
    โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Liege ในประเทศเบลเยียม ได้สอบถามความคิดเห็นเด็กจำนวน 1,151 คนในเขตการปกครองที่พูดภาษาฝรั่งเศส ซึ่งอาศัยอยู่ในเบลเยียม ที่มีอายุระหว่าง 7-16 ปี โดยถามเด็กว่าคิดอย่างไรกับผู้สูงอายุ กระทั่งความรู้สึกเรื่องของความแก่ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกคน นอกจากนี้ยังถามเด็กว่าตอนนี้สุขภาพของปู่ย่าตายายของพวกเขาเป็นอย่างไร รวมถึงใช้เวลาร่วมกับผู้สูงวัยบ่อยแค่ไหน
    ผลปรากฏว่าเด็กอายุ 10 และ 12 ปี เป็นช่วงวัยที่มีทัศนคติที่ดีกับปู่ย่าตายาย ซึ่งเด็กวัยนี้จะใช้เวลากับปู่ย่าตายายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จึงทำให้พวกเขามีมุมมองที่ดีกับผู้สูงวัย
    สำหรับเด็กที่มักไปมาหาสู่กับปู่ย่าตายายก็มักจะมีมุมมองที่ดีกับคนสูงวัย หรือมอบความรู้สึกที่ดีให้กับผู้ใหญ่ แต่น่าเสียดายที่เด็กซึ่งมีคุณปู่คุณย่าสุขภาพไม่ดี ก็มักจะมีมองเชิงลบกับผู้สูงอายุไปโดยปริยาย
    ด้าน “เอลลิสัน ฟลาชั่น” นักศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัย “University of Liege” กล่าวว่า “การที่เด็กไม่ค่อยได้พบปะใกล้ชิดกับปู่ย่าตายายจะทำให้พวกเขาเป็นผู้ที่เลือกปฏิบัติ” 
    นักจิตวิทยาคนเดิมกล่าวอีกว่า จากการที่ได้ขอให้เด็กอธิบายว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับการพบปะคุณปู่คุณย่า เด็กที่ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่ผู้สูงอายุมักจะมีทัศนคติต่อแกรนด์มัม และแกรนด์แด๊ดที่ไม่ค่อยดี ดังนั้นการไปพาเด็กไปหาผู้สูงอายุบ่อยจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหลานกับผู้ใหญ่ดีขึ้น ที่สำคัญยิ่งพาไปบ่อยเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น 
    แม้ว่าผลวิจัยที่เกิดขึ้นจะเป็นข้อมูลในประเทศเบลเยียม ซึ่งไม่ได้เหมารวมถึงลูกหลานทั่วโลก เพราะเด็กๆ บางคนเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็มักจะติดต่อคุณตาคุณยายก่อนเสมอ กระทั่งกลายเป็นความผูกพันของคน 2 วัย
    ขณะที่ศาสตราจารย์ “สเตฟานี อดัม” นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย “University of Liege” กล่าวสรุปว่า “ผลการวิจัยเรื่องความผูกพันระหว่างปู่ย่าตาทวดกับลูกหลาน สะท้อนให้เห็นถึงการหันมาตระหนักถึงการป้องกันโรคเลือกปฏิบัติในเด็กเล็ก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะต้องเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ เพราะหากเด็กเป็นโรคนี้จะทำให้ครอบครัวไม่อบอุ่น เพราะผู้สูงอายุถือเป็นวัยที่ลูกหลานควรให้ความเอาใจใส่”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"