ชี้พิษของบุหรี่มีผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย


เพิ่มเพื่อน    

        การเสวนา “พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ จัดโดยมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สนับสนุนโดย สสส. โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสุตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์แพทย์หญิงนภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคุณแสงเดือน สุวรรณรัศมี ผู้จัดการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกันเสวนา  

         ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การสำรวจความชุกการสูบบุหรี่ของนักเรียนไทยอายุ 13-15 ปี พบว่า วัยรุ่นหญิงสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2551 เป็น 5% ในปี 2558 ขณะที่นักเรียนชายยังคงที่อยู่ประมาณ 21% ถือเป็นสัญญาณอันตราย โดยประเด็นที่น่าห่วงคือเยาวชนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีแนวโน้มเยาวชนไทยสูบบุหรี่มากขึ้น เพราะมีหลักฐานการวิจัยจากต่างประเทศว่า เยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อมากลายไปสูบบุหรี่ธรรมดา 

        ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า นอกจากนี้ จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 ระบุว่า หญิงไทยจำนวนมากมีความรู้ไม่มากพอเรื่องอันตรายของการสูบบุหรี่ต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยจากคำถามถึงการรับรู้ว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของมารดาคลอดทารกก่อนกำหนด 28-34 สัปดาห์ พบว่า มีคุณแม่ที่ไม่สูบบุหรี่เพียง 54.3% รู้ว่ามีอันตราย ส่วนคุณแม่ที่สูบบุหรี่มีเพียง 39.5% เท่านั้นที่รู้ว่าการสูบบุหรี่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ 

        ทั้งนี้จากการสำรวจการได้รับควันบุหรี่มือสองในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ของประเทศไทย พบว่า การรับควันบุหรี่มือสองภายในบ้านนั้น ผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 8.46 ล้านคน ผู้ชายราว 3.11 ล้านคน  การรับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน ผู้หญิงประมาณ 1.34 ล้านคน ผู้ชาย 1.24 ล้านคน ภาคใต้สูงสุด 2.2 ล้านคน อัตราอยู่ที่ 43.5% ภาคอีสาน 3.9 ล้านคน อัตรา 29% ภาคกลาง 2.7 ล้านคน อัตรา 27.6% ภาคเหนือ 2 ล้านคน อัตรา 25.9% และ กทม. 6 แสนคน อัตรา 13.2%  และจากงานวิจัยของ ดร.วรนุช หวังศุภชาติ ในปี พ.ศ.2553 เพื่อสำรวจอัตราการสูบบุหรี่ในผู้หญิงที่ทำอาชีพต่างๆ ในกทม. พบว่า ผู้หญิงทำงานอาบอบนวดมีการสูบบุหรี่ร้อยละ 41.4 แอร์โฮสเตสร้อยละ  10 คนงานก่อสร้างร้อยละ 9  แม่บ้าน 5.7 และนักธุรกิจร้อยละ 4.9 

        ศ.นพ.ภิเศก กล่าวว่าผู้หญิงจะมีแนวโน้มการเกิดโรคต่างๆจากการสูบบุหรี่เร็วกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างและมีมดลูก ระบบเจริญพันธุ์ที่ผู้ชายไม่มี โดยผลต่อระบบเจริญพันธ์คือ จะทำให้ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ เกิดภาวะมีบุตรยาก อาการวัยทองมากและรุนแรงมากขึ้น และประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ หญิงตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่น้ำหนักตัวน้อยเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ ประมาณ 200-500 กรัม มีความเสี่ยงเด็กตายในท้อง หรือเด็กเสียชีวิตกะทันหันหลังคลอด ส่งผลต่อการที่แม่ให้นมบุตรลดน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการสูบบุหรี่หรือไม่ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง 

        นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพอย่างอื่น อาทิระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่า เสี่ยงหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน และเส้นเลือดสมองแตก โรคปอด ทั้งหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง พบภาวะซึมเศร้ามากขึ้น การอักเสบของปริทันต์ ถุงน้ำดีอักเสบมากขึ้น เป็นโรคกระเพาะมากขึ้น ต้อกระจก หน้าตาเหี่ยวย่นจาการทำลายคอลลาเจน นอกจากนี้ในประเทศเนปาลอายุขัยของผู้หญิงจะน้อยกว่าผู้ชาย จากข้อมูลพบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่ในผู้หญิงสูงมาก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"