ไขความลับโรคไหลตาย-ไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ/ไม่ใช่ผีแม่ม่าย


เพิ่มเพื่อน    

รพ.จุฬาฯ แถลง“ไขความลับ ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ไหลตาย” ชี้คนไทยเป็นโรคนี้  40 ต่อแสนคนถุือว่าอยู่ในระดับสูง สาเหตุจาก   เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ  ผลจากพันธุกรรมส่วนหนึ่งพบได้ทุกภาคในไทยแต่ส่วนใหญ่อยู่ที่อีสาน   ชี้อาการโรคยังปฎิสัมพันธ์กับอากาศร้อนอีกด้วย การรักษาใช้วิธีการฝังเครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AICD) หวังวิจัยหาสาเหตุอื่นๆอีก  และอีกด้านต้องการสะท้อนผีแม่ม่ายไม่มีจริง

8มี.ค.- ณ ห้องประชุมยาใจ ณ สงขลา อาคารหอพักและพัฒนาคณาจารย์ ชั้น 25 มีงานแถลงข่าว “ไขความลับ ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ไหลตาย” โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ศ.นพ.กุลวี เนตรมณี อาจารย์พิเศษ  ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พล.อ.ท.นพ.กัมปนาท วีรกุล อดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ ศ.นพ.ยง ภู่วรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาคกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผศ.นพ.สมชาย ปรีชาวัฒน์ หัวหน้าสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ สาขาวิชาหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว 
ผศ.นพ.สมชาย กล่าวว่า อาการใหลตายใช้เรียกการเสียชีวิตขนาดหลับ โดยมักมีอาการหายใจไม่สะดวกอาจเกิดคล้ายการละเมอขนาดเสียชีวิต มักเกิดในผู้ชายภาคอีสานอายุระหว่าง 30-50 ปี  เป็นโรคที่ฆ่าชีวิตคนไทยมาหลายชั่วอายุคน และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของชายไทยรองจากอุบัติเหตุ ซึ่งที่มานั้นขาดงานวิจัย ปชช.จึงคิดวิธีรักษาตัวเองตามความเชื่อต่างๆ ว่ามาจากเรื่องของภูตผีปีศาจ เช่นการใส่ผ้าถุง การทาปากแดง ซึ่งที่ผ่านมาโรคดังกล่าวก็ไม่เป็นที่สนใจของประชาชนมากนัก จนกระทั่งมีการเสียชีวิตของชายไทยที่ไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์จำนวน 160 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชายที่มาจากภาคอีสาน และมีประวัติพันธุกรรม 18-40 %  จึงเชื่อมโยงได้ว่ามีกรรมพันธุ์บางอย่างกำหนดอยู่ และแม้ว่าดรคดังกล่าวจะเกิดได้ในเด็ก แต่ก็พบในวัยผู้ใหญ่ 30-50 ปีมากกว่า ซึ่งอาจจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมติดตัวมาตั้งแต่เด็ก แต่พึ่งมาออกอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และทางทีมวิจัยเองก็กำลังสนใจศึกษาในเรื่องดังกล่าว ซึ่งการวิจัยไม่ใช่การหลบหลู่ แต่เป็นการสะท้อนว่าผีแม่ม่ายไม่จริง ซึ่งมีงานวิจัยและกลไกลต่างๆที่ทำสำเร็จ ชัดเจนขึ้นเรื่อย 
พล.อ.ท.นพ.กัมปนาท กล่าวว่า จากการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นชายรายหนึ่งอายุ 37 ปี ซึ่งหมดสติประมาณ 5-6 ครั้ง และไปตรวจหลายโรงพยาบาลมีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก และเมื่อนำมาตรวจร่างกายก็พบว่าผลการตรวจทุกส่วนมีความปกติ ยกเว้นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คือมีอาการหัวใจระริก หากนอนไปอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหัวใจและมีวิธีการรักษาคือการให้ยาและการฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติเพื่อใช้กระตุ้นหัวใจให้มีการเต้นปกติ  และจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ  จะมีคลื่นไฟฟ้าปกติร้อยละ 90 และ ร้อยละ10-20 ของผู้เคยมีอาการจะเกิดอาการใหลซ้ำในปีถัดไป ทั้งนี้พบว่าการเต้นระริกของหัวใจสามารถหยุดเองได้ โดยคนไข้ไม่ตาย แต่ระยะเวลาเต้นที่นานไปอาจส่งผลให้คนไข้หมดสติ หรืออาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้ ทั้งนี้พบว่าการฝังจะดีกว่าการให้ยา แต่ในขณะที่ทำการศึกษานั้นเครื่องมีราคา 4 แสนบาท ซึ่งแพงมาก แต่จากงานวิจัยทำให้ประกันสังคมเห็นถึงความสำคัญ และสามารถให้เบิกได้ 

ศ.นพ.กุลวี กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยมาตลอดกว่า 30 ปี ทำให้ทราบว่า โรคใหลตายในเมืองไทยเกิดขึ้นได้บ่อย โดยในคนอายุ 30-50 ปีนั้นพบอัตราการใหลตายประมาณ 40 ต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าสูงมาก   เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการมีผังพืดบริเวณผิวของหัวใจด้านนอกช่องล้างด้านขวา ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นระริก หากดูจากกราฟหัวใจก็จะพบว่ามีลักษณะคล้ายกับขาตั๊กแตน  ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากพันธุกรรม ส่วนปัจจัยอื่นยังไม่ทราบอย่างชัดเจน จึงต้องมาศึกษาเพิ่มเติมว่าเกิดจากอะไร อย่างการติดเชื้อไวรัสก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนดีเอ็นเอให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน ต้องศึกษาต่อไป ทั้งนี้พบได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย แต่อาจพบในคนอีสานมากกว่า อย่างเชียงใหม่ก็พบมากปัจจัยอื่นที่อาจมีความเกี่ยวข้องคือ ภาคอีสานมีสภาพอากาศที่ร้อนมาก โรคพวกนี้จะอ่อนไหวกับความร้อน ถ้าอุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก็จะมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น

ศ.นพ.กุลวี กล่าวว่า สำหรับคนที่มีความเสี่ยงโรคใหลตายนั้น คือผู้รอดชีวิตจากการใหลตาย ผู้ที่มีญาติสายตรงมีอาการใหลตาย หรือผู้ที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชินด Brugada ซึ่งการรักษานั้นที่ผ่านมาจะใช้วิธีการฝังเครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AICD) ไม่ต่ำกว่า 4 แสนบาท แต่ปัจจุบันอยู่ในสิทธิการรักษา เนื่องจากประสิทธิผลชัดเจนว่าลดอัตราการตายได้ 0% แต่หากเป็นการรักษาด้วยยายังพบการตายอยู่ประมาณ 14% อย่างไรก็ตาม เครื่องจะสามารถช็อกได้ประมาณ 200 ครั้ง  ก็จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อยก็ต้องเปลี่ยนแบตเตอรีบ่อยครั้ง และไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ จึงมีการพัฒนาการรักษาที่ต้นเหตุคือ การจี้ผังพืดหัวใจด้วยคลื่นวิทยุ ได้ทำมาประมาณกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งทั่วโลกก็มาร่วมกับเรา โดยในเมืองไทยไดแล้วกว่า 70 ราย ซึ่งผลลัพธ์ออกมาก็พบว่า อาการคลื่นไฟฟ้าผิดปกตินั้นหายไป ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และจากการติดตามต่อเนื่องมา 4-5 ปี ก็ไม่พบการเกิดอาการคลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยบางรายก็สามารถถอดเครื่อง AICD ออกได้

"การรักษาด้วยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุจะมีการใช้เทคโนโลยี 3-Dimention Electroanatomical Mapping) มาจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ เพื่อให้แพทย์มองเห็นการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจน และค้นหาตำแหน่งที่มีความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ จากนั้นจะใช้สายสวนหัวใจเข้าไปโดยใช้ความร้อนจี้ตรงที่มีปัญหาให้หายไป ซึ่ง 85-90% สามารถทำสำเร็จได้ด้วยการจี้ครั้งเดียว แต่บางคนที่เป็นเยอะอาจต้องกลับมาจี้ซ้ำ ประมาณ 10-15% อย่างไรก็ตาม แมจะเห็นผลชัดเจนว่าสามารถรักษาการเกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติได้ แต่เพื่อความมั่นใจจึงต้องมีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการจี้ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อความแน่ใจ ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 2 ปีก็จะได้ข้อสรุป ซึ่งหากมีประสิทธิผลที่ดีก็จะผลักดันให้เป็นสิทธิการรักษาแทนการฝังเครื่อง AICD เพราะมีราคาถูกกว่า " ศ.นพ.กุลวี กล่าว

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากข้อมูลที่พบคือ คนใหลตายมักมีประวัติในครอบครัวรุ่นจึงคาดว่าน่าจะมาจากพันธุกรรมด้วย จึงต้องมีการศึกษาต่อ ซึ่งในการวิจัยในครั้งนี้ จะเก็บข้อมูลพันธุกรรมและถอดรหัสพันธุกรรมทั้งหมดของคนที่เป็นโรคใหลตายจำนวน 250 คน เปรียบเทียบกับการถอดรหัสพันธุกรรมของคนปกติอีก 500 คน หรือในอัตรา 1 ต่อ 2 ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อดูว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งขณะนี้เก็บข้อมูลคนไข้ใหลตายได้แล้วกว่า 200 คน คนปกติอีกประมาณ 300 กว่าคน กำลังอยู่ในช่วงถอดรหัสและเก็บข้อมูลให้ครบจำนวน 250 และ 500 คน คาดว่าใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปีจึงจะรู้คำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลและถอดรหัสพันธุกรรมคนปกติ 500 คนนั้น หากเก็บเพิ่มอีก 500 คน เป็น 1,000 คน จะช่วยให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูลเรื่องพันธุกรรมที่ใช้ในการเปรียบเทียบโรคจากพันธุกรรมอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะกลายเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"