แฉกลางสัมมนา ปฏิรูปสีกากีเละ หมกเม็ด'ข้อมูล'


เพิ่มเพื่อน    

    เสวนาเดือดปฏิรูปตำรวจก่อนแถลงใหญ่ปลายเดือน แฉกลางวง กรรมการชุดบุญสร้างโดนหลอก  ได้ข้อมูลเท็จ ประธานอนุกรรมการฯ ครวญทำงานเจอสารพัดปัญหา ได้แค่นี้ก็เลือดสาด กว่าจะฝ่าดงตีนออกมาได้ รับฉะกันหลายรอบกลางห้อง
    พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ที่เป็นกรรมการซึ่งตั้งขึ้นโดย พล
.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อันเป็นการตั้งตามรัฐธรรมนูญ ได้นัดแถลงข่าววันที่ 28 มี.ค.นี้ เพื่อสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นทางการ ก่อนส่งให้นายกรัฐมนตรี   
    โดยก่อนหน้าจะมีการสรุปผลดังกล่าว เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) ได้จัดเสวนา “ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจไปถึงไหน แก้ปัญหาประชาชนได้จริงหรือไม่!” ที่สมาคมนักข่าวฯ เมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา 
    นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการการปฏิรูปตำรวจด้านโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ในคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจชุด พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน  กล่าวตอนหนึ่งว่า มีข้อจำกัดของคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ เพราะถูกรัฐธรรมนูญมาตรา 260 กำกับไว้ว่า ให้รัฐบาลแต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยเป็นตำรวจและไม่เคยเป็นตำรวจ จำนวนเท่ากันฝ่ายละ 15 คน  บางอย่างไม่ถูกใจถึงความต้องการการเรียกร้องของภาคประชาชน และยังมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาการทำงานที่มีประมาณ 9 เดือน ทำให้การศึกษาของกรรมการในเรื่องใหม่ออกมาค่อนข้างน้อย ต้องอาศัยงานของคณะกรรมการในอดีตที่ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ เช่นของ สปช.-สปท. เป็นต้น 
    นายมนุชญ์กล่าวว่า ข้อเสนอการกระจายอำนาจทำได้เพียงครึ่งเดียว ส่วนจเรตำรวจต้องดูแลเรื่องการร้องเรียนตำรวจ ต้องมีความเป็นอิสระ และกองพิสูจน์หลักฐานต้องมีความเป็นอิสระจากอำนาจ เราได้มาตรงนี้ แต่ข้อเสนอบางส่วนไม่ได้รับการยอมรับ เพียงแต่เป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเรื่องการร้องเรียนตำรวจ เพราะอดีตที่ผ่านมา ถ้าใครไปมีเรื่องกับตำรวจ แย่มากเลยชีวิต ไม่ประสบความสุขแน่ ทุกคนจึงหลีกเลี่ยงไม่อยากมีเรื่องกับตำรวจ ไม่ใช่เฉพาะในบ้านเรา  ต่างประเทศ แต่ต่างประเทศเขามีคณะกรรมการอิสระในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ แต่ระบบการร้องเรียนบ้านเราใช้ระบบผู้บังคับบัญชาสอบ ถ้าไม่ใช้เรื่องออกสื่อ มันก็จบไปง่ายๆ
    "ตั้งแต่เข้ามาเป็นประธานอนุกรรมการฯ รู้ว่ามีปัญหาแน่ ปัญหาเยอะ เพราะการทำงานเจอแรงเสียดทานหลายเรื่อง ข้อเสนอหลายข้อไม่ได้รับการยอมรับ แต่เมื่อมีการโหวตในที่ประชุม เราก็ยอมรับ ได้มาแค่นี้บอกตรงๆ ว่าเลือดสาด หลายครั้งหลายเรื่องก็มีการฉะกันในที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.อ.หรือไม่ กว่าจะออกมาถึงตรงนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่มาพูดคุยกัน พูดง่ายๆ  ข้อเสนอที่ออกมาได้เหมือนฝ่าดงตีนออกมา" กรรมการปฏิรูปตำรวจระบุ
    ด้านนายถวิล ไพรสณฑ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นว่า ตั้งแต่เห็นชื่อคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจแล้วรับไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเป็นข้าราชการ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ดูแล้วไม่ให้ความหวัง เพราะข้าราชการเป็นคนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เอาข้าราชการมาปฏิรูปข้าราชการเป็นไปไม่ได้ และเห็นว่าตำรวจมีกองบัญชาการภาค ตั้งแต่กองบัญชาการนครบาล ตำรวจภาค 1 ถึงภาค 9 ตำรวจไม่ควรมีภาค น่าจะมีส่วนกลางกับพื้นที่เลย บช.ภ.ทำอะไรบ้าง ทำไมต้องใช้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ลงไปดูแลคดีในหลายพื้นที่ ผู้บัญชาการภาคไปไหน เหตุเกิดสถานที่ต่างๆ พล.ต.อ.ศรีวราห์ลงไป มีการสั่งการในที่ประชุม นี้หรือคือความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวน
    นายถวิลให้ความเห็นต่อไปว่า สำหรับเรื่องการแยกอำนาจสอบสวนต้องชัดเจนมากกว่านี้ งานที่ให้ผู้กำกับเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งสายงานดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระ และอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เห็นคณะกรรมการชุดนี้พูด การปฏิรูปตำรวจประชาชนได้ประโยชน์จากตรงไหน พูดอย่างเดียวว่าตำรวจต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้  ต้องเพิ่มจำนวน และการให้จเรตำรวจสอบตำรวจด้วยกัน รับรองเสร็จ ยิ่งในสภาพอย่างนี้ มีการเอื้อประโยชน์ในการแต่งตั้งโยกย้าย โอกาสการสอบสวนไม่เป็นไปตามความเป็นจริงมีสูงมาก
    "การปฏิรูปไม่ใช่การแก้ไขกฎหมาย ตราบใดตำรวจถ้าทำแบบกองทัพ ไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้ เพราะตำรวจเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด สิ่งเหล่านี้คือความเป็นจริง เราไม่พูดความจริงกัน เอาคนที่ไม่รู้จริงมาแก้ปัญหา ซึ่งผิดหลัก กรรมการชุดนี้ไม่ได้รู้จริงทั้งหมด ตำรวจรู้จริง แต่ปิดบังข้อมูล ปิดบังความจริง" นายถวิลระบุ
    ด้าน ร.ต.อ.วิเชียร ตันศิริคงคล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นความต้องการของประชาชน มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก แสดงว่าคนที่ร่างรัฐธรรมนูญมองว่าสิทธิของประชาชนที่ได้รับคุ้มครองจากตำรวจยังไม่เต็มที่ อย่างวลี “คุกมีไว้ขังคนจน”  เรื่องเล็กของคนใหญ่เป็นเรื่องใหญ่ของตำรวจ เรื่องใหญ่ของคนเล็กรอไว้ก่อน สะท้อนให้เห็นหลักนิติรัฐบ้านเรายังมีปัญหา ไม่ได้เกิดปัญหาจากตัวกฎหมาย แต่ปัญหาเกิดจากผู้บังคับใช้กฎหมาย 
    "โครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเอื้อต่อระบบอุปถัมภ์ การแต่งตั้งที่ผ่านมาทำไมไม่ใช้ระบบอาวุโส 100% ทำไมใช้ระบบอาวุโสบางสัดส่วน ที่เหลือใช้ระบบความเหมาะสม ความเหมาะสมคืออะไร อย่างเช่นนายเวร ทำไมตำรวจทำงานให้นายถึงได้ดีกว่าตำรวจทำงานเพื่อประชาชน ส่วนการโอนถ่ายภารกิจที่ไม่ใช่ส่วนงานของตำรวจเช่นเดียวกัน ตำรวจกลับชอบไขมันส่วนเกิน อย่างเช่นวินมอเตอร์ไซค์ จากการวิจัยพบว่ามีมูลค่าถึงแสนล้านบาท เพราะเสื้อวินตัวนึงตัวละเป็นแสน เมื่อเช็กไปเช็กมาคนที่เป็นเจ้าของเสื้อกั๊กไม่ใช่คนขี่   แล้วเป็นใครล่ะ เช่ากันเดือนละเกือบหมื่นบาท ทําไมสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ตัดไขมันส่วนเกินออกไป แต่ชอบรักษาไขมันส่วนเกิน"  อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพากล่าว 
    พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตรองผู้บังคับการจเรตำรวจ กล่าวว่า ถ้าให้การประเมินจากคณะกรรมการการปฏิรูปตำรวจ ถ้าเอาจากหัวลำโพงไปจังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ก็ถึงแค่สามเสน เพราะยังไม่เห็นมีอะไรเป็นรูปธรรม ปัญหาการปฏิรูปตำรวจที่แท้จริงอยู่ที่เรื่องของผู้มีอำนาจ ใครมีอำนาจมีความรู้ความเข้าใจพอไหม มีความจริงใจแค่ไหน มีความกล้าหาญเพียงใด บางคนมีความจริงใจอยากจะทำ แต่ไม่มีอำนาจ บางคนมีอำนาจ มีความรู้ความเข้าใจแค่ไหน การปฏิรูปต้องมีหลักคิดและปรัชญาที่ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะเป็นการพายเรืออยู่ในอ่าง มองเห็นตั้งแต่เริ่มการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป แล้วคณะกรรมการคนนอกบางคนก็ไม่มีเวลา เมื่อไม่เข้าประชุม 2-3 ครั้งเสียงก็เริ่มลดลง ก็เข้าทางตำรวจ เสียงตำรวจก็เข้มแข็ง ถ้าอะไรไม่อยู่ในทิศทางของเขา เขาก็ไม่เอา อย่างเช่นการโอนถ่ายงานตำรวจ
    "ระบบอุปถัมภ์ การวิ่งเต้นการโยกย้าย แท้จริงคือการทุจริตประพฤติไม่ชอบ เบื้องหลังเต็มไปด้วยเสียงบนผลประโยชน์ สลับซับซ้อนขึ้นไปทุกที ถ้ามีระบบอุปถัมภ์อยู่ ตำรวจจะไม่สามารถรักษากฎหมายได้เลย เพราะแท้จริงคือการทุจริต การโอนภารกิจไม่ต้องถามว่าพร้อม-ไม่พร้อม ถ้าสิ่งไหนเป็นเรื่องดีก็จัดการให้เขา ปัญหาก็คือคณะกรรมการปฏิรูปได้ข้อมูลเท็จ การปฏิรูปตำรวจต้องมีบุคคลที่รู้เรื่อง ผมเคยอยู่งานจเรฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์ เรื่องที่ร้องเรียนเข้ามา ไม่ว่าจะผ่านทางสำนักนายกฯ ไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรงร้อยละ 90 เมื่อผลสอบออกมาล้วนไม่มีมูล เมื่อใครที่มีตัวตนร้องเรียนตำรวจ ก็จะมีตำรวจเข้าไปหาถึงตัว มีการเคลียร์กัน คุยกัน กลายเป็นเรื่องเข้าใจผิดอีก จึงควรเสนอจเรตำรวจแห่งชาติไปสังกัดนายกรัฐมนตรีโดยตรง" พ.ต.อ.วิรุตม์ ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"