จนท.ให้เงินซื้อข่าวโจรใต้ 'บิ๊กโบ้'ซัดหนุนใช้รุนแรง


เพิ่มเพื่อน    


    นายกฯ ถก รมว.กลาโหมมาเลเซีย ขอบคุณอำนวยความสะดวกพูดคุยสันติสุขภาคใต้ ระบุอยู่ขั้นตอนหารือจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย ขณะที่ "บิ๊กโบ้” เปิดโปง จนท.รัฐเคยแอบให้เงินซื้อข่าวโจรใต้ กลายเป็นหนุนการใช้ความรุนแรง สวนกลับ ”คอลัมนิสต์” แนวร่วมมุมกลับเข้าทาง “บีอาร์เอ็น” แนะมองโลกในแง่ดีใช้แนวทางสันติดับไฟใต้ 
    เมื่อวันพฤหัสบดี ดาโต๊ะ สรี ฮิซัม มูดิน บิน ตุน ฮุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ห้องสีงาช้า ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการหารือ พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ ยินดีที่การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและมาเลเซียเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา 
    สำหรับการบริหารจัดการชายแดนไทย-มาเลเซียนั้น ทั้งสองฝ่ายมีกลไกความร่วมมือ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งมีการหารือกันเรื่องการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องรั้วเดี่ยวบนเส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย
     พล.ท.วีรชนกล่าวว่า นายกฯ ยังแสดงความประสงค์ให้ไทยและมาเลเซียกระชับความสัมพันธ์ในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์มากกว่าการเป็นคู่แข่งขัน ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นด้านความมั่นคง โดยเห็นว่าปัจจุบันประเด็นความมั่นคงมีความซับซ้อน จะต้องคำนึงถึงทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และเรื่องความมั่นคงทางการคลัง และต้องไม่ละเลยเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย ทั้งสองฝ่ายพร้อมกระชับความสัมพันธ์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงทางสื่อออนไลน์ ที่ปัจจุบันมีการลงข้อมูลข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง ทำให้เป็นปัญหาสังคมและความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ นายกฯ ได้เสนอให้มีการเปิดฮอตไลน์ เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารโดยตรง สำหรับเจ้าหน้าที่ในทุกระดับที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคง
    "รมว.กลาโหมมาเลเซียแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทย ที่มีความมุ่งมั่นแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่สันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่ ซึ่งนายกฯ กล่าวว่า การพูดคุยอยู่ในช่วงของการสร้างความไว้เนื้อเชื้อใจระหว่างคณะพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ซึ่งต้องอาศัยเวลา โดยขณะนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการหารือขั้นตอนการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) พร้อมแสดงความขอบคุณมาเลเซียที่มีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ด้านการอำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหวังจะได้รับความร่วมมือดังกล่าวจากฝ่ายมาเลเซียต่อไป" พล.ท.วีรชนกล่าว 
    ขณะที่ พล.อ.อักษรา เกิดผล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องใช้แนวทางสันติวิธี โดยยึดถือยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนว่าตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐได้ใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะเขา “อยากจะคุย”  จึงใช้ความรุนแรงเป็นเงื่อนไขยื่นข้อเสนอต่อรองรัฐบาล  
    “ยอมรับว่ามีกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงานที่แอบติดต่อผ่านตัวแทนแหล่งข่าว นอกจากนี้ยังมีแนวร่วมในพื้นที่ให้การสนับสนุนช่วยกันสร้างความรุนแรงแบบป่วนเมือง ขยายความขัดแย้งไปทั่วจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถ้าเราไปคุยกับคนพวกนี้ ก็เท่ากับเรานั่นแหละสนับสนุนการใช้ความรุนแรง รัฐบาลปัจจุบันต้องการยุติความรุนแรง จึงไม่ให้ความชอบธรรมกับพวกใช้ความรุนแรงและประกาศใช้แนวทางสันติวิธีบีบบังคับ ให้ขบวนการผู้เห็นต่างจากรัฐเหลือเพียงช่องทางเดียวที่จะบรรลุความต้องการของเขาคือแนวทางสันติวิธีและยุติการใช้ความรุนแรง โดยผู้ที่ได้รับผลประโยชน์คือประชาชนที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีกต่อไป"  
    พล.อ.อักษรากล่าวว่า รัฐบาลยินดีคุยกับพวกที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งการเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้ทำให้รัฐบาลสามารถดึงกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ เกือบร้อยละ 90 เข้ามาพูดคุยและร่วมกันสร้างสันติสุข ด้วยการสร้าง Safety Zone ที่ทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับพื้นที่สาธารณะปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นสำหรับทุกคน (Common Space) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการแก้ปัญหาทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ สื่อมวลชนและประชาชน ยังมีผู้ที่ไม่เชื่อมั่นกระบวนการพูดคุย ไม่ไว้ใจคณะพูดคุยฯ ไม่ไว้ใจรัฐบาล ไม่ไว้ใจประเทศเพื่อนบ้าน และในที่สุดก็ไม่ไว้ใจแม้กระทั่งกระบวนการก่อการร้าย กลุ่มคนเหล่านี้จึงเป็นปัญหาความรุนแรงส่วนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทำให้ขยายความขัดแย้งไปเรื่อยๆ จนตกเป็นแนวร่วมมุมกลับของกลุ่มโจรก่อการร้ายโดยไม่รู้ตัว
    เขาตั้งข้อสังเกตว่า ยังมีคอลัมนิสต์บางคนพยายามบอกสังคมให้เชื่อว่าพี่น้องมุสลิมยอมรับได้กับการสูญเสียเพื่ออุดมการณ์ คือ มีตายบ้าง บาดเจ็บบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบีอาร์เอ็น ซึ่งน่ากังวลว่า  คอลัมนิสต์ดังกล่าวอาจตกเป็นแนวร่วมสนับสนุนโจรให้ใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว และยังพยายามชี้นำสังคมให้เชื่อตามอีกด้วย โลกนี้จะอยู่ได้ด้วยความรักไม่ใช่ความเกลียดชัง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาทุกอย่างในโลกจึงต้องมองโลกในแง่ดีปราศจากอคติ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ แม้ต้องใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม เช่นเดียวกับปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากเราสามารถกำหนดพื้นที่ปลอดภัยที่มีทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยมีพี่น้องประชาชนในพื้นที่และนักวิชาการเข้ามาช่วยกันปฏิเสธกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงร่วมกันแล้ว สันติสุขก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นได้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรมในที่สุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"