แจงรอบ4ป้อมนาฬิกาหรู อุดร-ขอนแก่นเจองาบอีก


เพิ่มเพื่อน    

    "บิ๊กป้อม" ส่งหนังสือแจงนาฬิกาหรูรอบ 4  ถึงมือ ป.ป.ช.แล้ว ป.ป.ช.-ศธ.-มท.จับมือแก้ปัญหา "แป๊ะเจี๊ยะ" สุ่มตรวจตามโรงเรียน ชี้เป็นสินบนขู่เอาผิดทั้งคนให้และรับ ป.ป.ท.ลุยตรวจขอนแก่น-อุดรฯ เจองาบเงินคนจนอีก
    เมื่อวันที่ 15 มีนาคม นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ว่า ทราบจากเจ้าหน้าที่ว่าพล.อ.ประวิตรส่งหนังสือชี้แจงมาทันกำหนดในวันนี้ เพียงแต่ยังไม่ได้เห็นหนังสือดังกล่าว
    มีรายงานข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช.ว่า พล.อ.ประวิตรได้ให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือชี้แจงรายละเอียดของนาฬิกาทั้ง 25 เรือน ตามที่ ป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือไปเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งครบกำหนดชี้แจงในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. โดยสำนักบริหารงานกลางได้ลงเลขรับหนังสือเรื่องดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้คณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริง
    นายวรวิทย์ ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงถึงกรณีปัญหาการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา (แป๊ะเจี๊ยะ) ว่า เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งจากรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ประจำปี 2017 เปิดเผยข้อมูลความเห็นของคนไทยว่า การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้รับบริการของรัฐและบริการของโรงเรียน เป็นปัญหาลำดับต้นๆ สมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยมี พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ
     "เพื่อเป็นการป้องปรามและลดปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงรับนักเรียน ปีการศึกษา 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเห็นชอบมาตรการระยะสั้นเร่งด่วน ดังนี้ 1.ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2561 ของสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง 2.เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้เจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชน ทราบถึงความผิดและบทลงโทษ รวมทั้งการแจ้งเบาะแสกรณีการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียน โดยเฉพาะกรณีการบริจาคเพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทน ถือว่าเป็นสินบน มีความผิดทั้งผู้ให้และผู้รับสินบน ตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมาย ป.ป.ช." เลขาธิการ ป.ป.ช.ระบุ
    สำหรับมาตรการในระยะยาวและมาตรการอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ เร่งพิจารณาจัดทำมาตรการและข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามลำดับ ซึ่งการเสนอมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามกฎหมาย
     ที่ศาลากลางบ้านบ้านนิคม 2 ต.โคกสะอาด อ.เมืองฯ จ.อุดรธานี พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. ได้ลงพื้นที่นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ เพื่อตรวจเยี่ยมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และให้กำลังใจชาวบ้าน ภายหลังตรวจสอบพบว่างบประมาณอุดหนุนสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่งในส่วนของนิคมสร้างตนเองปีงบประมาณ 2560 จำนวน 194 ล้านบาท มีการทุจริต
       โดยสรุปผลการลงพื้นที่สุ่มตรวจการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวของนิคมสร้างตนเองเชียงพิณ หมู่ที่ 6 และ 9 ต.โคกสะอาด และหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 10 ต.นิคมสงเคราะห์ อ.เมืองอุดรธานี ดังนี้ 1.ผู้มีรายชื่อรับเงินสงเคราะห์จำนวน 41 ราย ขอรับการสงเคราะห์การรับเงินตามเอกสารใบสำคัญรับเงินที่ระบุจำนวนรายละ 2,000 บาท และ 3,000 บาท แต่ผู้มีรายชื่อในเอกสารไม่ได้รับเงิน
        2.มีรายชื่อผู้ได้รับเงินสงเคราะห์จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 2,000 บาท แต่ผู้มีรายชื่อดังกล่าวยืนยันว่าตนเองไม่เคยไปรับเงินแม้แต่ครั้งเดียว 3.ผู้มีรายชื่อได้รับการสงเคราะห์ให้ข้อมูลว่าไม่เคยกรอกเอกสารขอรับเงินและได้มีการปลอมแปลงเอกสารบางส่วนโดยได้รับเงินเพียง 1,000 บาท หรือ 1,500 บาท แต่เอกสารใบสำคัญรับเงินระบุ 2,000 บาท 4.บางรายไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง และ 5.ไม่มีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพอย่างแท้จริง
        พ.ต.ท.วันนพเปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ทำการสอบถามพยานและให้ดูเอกสาร พบว่าลักษณะพฤติกรรมการกระทำคล้ายๆ กับเรื่องที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด คือ คนที่มีชื่อยื่นขอเบิกเงิน ขอรับเงิน กับใบสำคัญรับเงินมีชื่ออยู่ แต่เจ้าตัวไม่รู้เรื่อง ทั้งที่ไม่ได้รับเงินและไม่ได้ขอ บางรายมีการขอ แต่ได้รับเงินไม่ครบ หรือบางรายมีชื่อเบิก 3 ครั้ง แต่ได้รับเงินเพียงครั้งเดียว
         สำหรับงบที่ลงมาช่วยเหลือทั้งหมด แยกเป็นศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด 76 แห่งทั่วประเทศ ในปี 2560 ได้รับงบทั้งสิ้น 123 ล้านบาท ส่วนนิคมสร้างตนเองและศูนย์พัฒนาชาวเขา ซึ่งมีทั้งหมด 59 แห่ง ได้รับงบมาประมาณ 370 ล้าน ซึ่งสูงกว่าศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 3 เท่า
    ที่ จ.ขอนแก่น ทีมพนักงานสอบสวนจาก ป.ป.ท.เขต 4 และคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ป่วยโรคเอดส์  ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้พื้นที่สอบปากคำและไต่สวนชาวบ้านตามรายชื่อที่ปรากฏในบัญชีเบิก-จ่าย ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น ประจำปี งบประมาณ 2560 ในพื้นที่ อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน เสร็จสิ้นแล้ว พบว่าพื้นที่อำเภอชุมแพมีชาวบ้านที่มีรายชื่อในบัญชีเบิก-จ่าย 355 ราย เป็นกลุ่มผู้ยากไร้หรือผู้มีรายได้น้อยเพียงกลุ่มเดียว แต่ไม่มีใครได้รับเงินแม้แต่รายเดียว ส่วนที่ อ.ภูผาม่านนั้น ชาวบ้านมีรายชื่อตามบัญชีเบิก-จ่าย 184 ราย มีทั้งกลุ่มยากไร้หรือผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งทั้งหมดไม่มีใครได้รับเงินแม้แต่บาทเดียวเช่นกัน หากคิดเป็นเงินงบประมาณ 539 ราย ดังนั้น รวมเป็นเงินกว่า 1,078,000 บาท. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"