'ธนาธร' บนเส้นทางการเมือง พิสูจน์ 'ดาวรุ่ง' หรือ 'ดาวดับ'?


เพิ่มเพื่อน    

     

 

      ผ่านมากว่าครึ่งเดือน ที่มีการจดจัดตั้งพรรคการเมือง นับยอดจนถึง ณ ตอนนี้ มีการขอจดจัดตั้งพรรคแล้วทั้งสิ้น 61 พรรค

      แม้จะมีสีสันบ้าง ไม่มีสีสันบ้าง แต่ก็ไม่ได้สร้างความฮือฮาเท่าไหร่นัก กระทั่งเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา  “พรรคอนาคตใหม่" ที่นำโดยไพร่หมื่นล้าน "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" นักธุรกิจระดับหมื่นล้าน หลานชายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.ในสมัยรัฐบาลทักษิณ และ "ปิยบุตร แสงกนกกุล" อดีตสมาชิกกลุ่มคณะนิติราษฎร์ ซึ่งมีสมาชิกจัดตั้งจำนวน 26 คน

      เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการ

      ท่ามกลางเสียงฮือฮา เพราะสมาชิกแต่ละคนล้วนมาจาก GEN Y ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น

      โดยจุดยืนในการตั้งพรรคเพื่อสร้างการเมืองแบบใหม่ฟื้นความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ทำให้มีนโยบายที่ประชาชนมีโอกาสทางเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงทุนและทรัพยากร ทำลายระบบผูกขาด และพรรคยังยืนยันว่าจะไม่เติบโตด้วยเงินจากประเป๋าของตัวเอง แต่เติบโตด้วยการระดมทุนจากประชาชน เช่นเดียวกับโมเดลของพรรคเดโมแครต ซึ่งไม่มีนายทุนอยู่เหนือสมาชิกพรรค ทั้งนี้เจ้าตัวยังเดิมพันด้วยการประกาศลาออกหากอุดมการณ์ของพรรคเปลี่ยนไป

      ที่สำคัญพรรคนี้เลือกใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กในการโปรโมต เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยทำงาน รวมทั้งนโยบายของพรรคที่เอาใจคนรุ่นใหม่ มีการแชร์ส่งต่อกันมากมาย ซึ่งเป็นการโปรโมตพรรคทางอ้อม

      ซึ่งจะไม่มีปัญหากับคำสั่ง "คสช." เรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมือง เหมือนที่ทุกพรรคกำลังเผชิญอยู่ ทำให้ดูจะได้เปรียบกว่าพรรคอื่นๆ เพราะในขณะที่พรรคอื่นยังไม่เริ่มกิจกรรมทางการเมือง โดยความได้เปรียบของพรรคถ้าเทียบกับพรรคที่จัดตั้งพร้อมกันแล้ว พรรคอนาคตใหม่มีฐานคะแนนเสียงมากที่สุด

      อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่สนามการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ไม่ได้เดินด้วยกลีบกุหลาบ เนื่องจาก "ธนาธร" ยืนยันว่าจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาทิ มีการโพสต์เชิงสนับสนุนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ได้มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในปีนี้ และต่อต้าน คสช. อีกทั้งประกาศชัดเจนว่าไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก

      โดยเฉพาะการทำกิจกรรมทางการเมือง ทั้งการประชุมพรรค และการหาสมาชิกให้ครบ 500 คน การจัดตั้งสาขาพรรคทั่วประเทศ

      อีกด้านหนึ่งฝั่ง คสช.เองก็จับตามาโดยตลอด ซึ่งถ้าพรรคได้ยื่นขอทำกิจรรมพรรคการเมือง คสช.ก็จำใจต้องยอมให้อนุญาต เพราะว่าถ้าไม่อนุญาต ก็จะเกิดความกังขาได้ว่า ทำไมไม่ให้จัดกิจกรรมทั้งๆ ที่พรรคไม่ได้ทำอะไรผิด โดยตอนนี้ คสช.อาจจะปล่อยไปก่อน แต่ถ้าอนาคตรู้ว่าใครหรือพรรคไหนทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงที่จะไม่อยู่ในกฎกติกาที่ตั้งเอาไว้ คสช.ก็คงไม่เอาไว้เหมือนกัน และทำให้ คสช.มีข้ออ้างในการเป็นในรัฐบาลต่อไป ซึ่ง คสช.มีแต่ได้กับได้ 

      พอฝ่าด่านอรหันต์จาก คสช.ไปแล้ว ก็ยังต้องเผชิญกับกฎหมายที่เข้มงวดกว่าเดิม ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันพรรคนายทุน และระบอบทักษิณโมเดลโดยเฉพาะ

      นอกจากนี้ยังต้องสู้กับกลุ่มการเมืองทั้งพรรคใหญ่และพรรคเล็ก โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฐานเสียงที่เหนียวแน่นอยู่แล้ว โดยทั้ง 2 พรรคนี้ได้จับจองฐานเสียงเกือบหมดแล้ว ซึ่งต้องหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะดึงฐานเสียงของฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะลำพังฐานเสียงคนรุ่นใหม่ในโซเชียลอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะสู้กับพรรคเก่าแก่ ทางพรรคเองก็ต้องรีบโปรโมตพรรคของตัวเองให้ทั่วถึงที่สุด เพราะหลังจากเดือนนี้ไป จะเป็นช่วงของพรรคใหญ่ ที่อาจจะกลบกระแสของพรรคธนาธร เหมือนที่หลายพรรคเคยเป็น

      ทั้งนี้ ก็ต้องรอกันดูว่า ทิศทางพรรคทางเลือกใหม่จะไปในทิศทางใด จะทำอะไรต่อไป จะอยู่รอดท่ามกลางพรรคใหญ่ๆ ได้หรือไม่

      โดยเฉพาะประโยคที่ "ธนาธร" ได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า

       “ถ้าผมจะจัดตั้งพรรคการเมือง ก็จะไม่เป็นพรรคที่เป็นเฉพาะกิจ ซึ่งอะไรที่น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยผมก็จะไม่ทำ”

      แต่กระนั้นหนทางยังอีกไกล เส้นทางการเมืองนอกจากหวือหวา แปลกใหม่ ถึงจะขายได้แล้ว ความเขี้ยว ความเจนสนามการเมือง ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะในอดีตที่ผ่านมาก็มีบทเรียนให้เห็น ดาวรุ่ง ดาวเด่น ดาวความหวังการเมืองไทย

      กลายเป็น "ดาวดับ" ก็มีมากมาย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"