เปิดอาณาจักร “ไพร่หมื่นล้าน” ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับ "อนาคตใหม่" บนเส้นทางการเมือง


เพิ่มเพื่อน    

เปิดอาณาจักร “กลุ่มไทยซัมมิท”  102 บริษัท  ภายใต้บังเหียนของ "ไพร่หมื่นล้าน"   

กลับมาคึกคักอีกครั้งกับการเมืองไทย หลังจากเงียบเหงามาได้ระยะหนึ่ง ถึงแม้ตอนนี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้งบ้างแล้ว แต่ยังคงต้องลุ้นกันต่อว่าจะเป็นไปตามโรดแมปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศไว้หรือไม่ เพราะขณะนี้ตามที่กำหนดคาดจะอยู่ในช่วงเดือนก.พ.62 หากไม่ติดขัดในเรื่องกฎหมายใดๆ แต่ถ้าต้องเริ่มกระบวนการใหม่ อาจจะส่อเค้าเลื่อนออกไปอีกแน่นอน

แม้ผลจะออกมาเป็นยังไง แต่สีสันของการเมืองที่เริ่มมีการตั้งพรรคการเมือง ยังมาช่วยให้คึกคักได้อีกทาง โดยเฉพาะหน้าตาของผู้ที่รวมกลุ่มตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้น ทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่า เรียกได้ว่าเป็นกระแสดีเลยทีเดียว เพราะต่างขุดค้นอดีตทำความรู้จักกันว่ามาจากไหน ลูกเต้าเหล่าใคร นอมินีใครหรือเปล่า หรือแม้กระทั่งจะเป็นตัวเก็งได้หรือไม่ และที่เป็นกระแสให้คนติดตามมากที่สุด คือ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” เจ้าของฉายา “ไพร่หมื่นล้าน” ที่ดังข้ามคืนเลยทีเดียว

ก่อนจะมาเปิดอาณาจักร “ไพร่หมื่นล้าน” มาทำความรู้จักกับ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” กันก่อน “ธนาธร” เป็นนักธุรกิจและนักกิจกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท มีงานอดิเรกคือกิจกรรมผาดโผน ทั้งการปีนเขา การพายเรือคายัค หรือการวิ่งระยะไกล และเป็นหนึ่งในกลุ่มคนไทยจำนวนสิบคนที่ไปปักธงชาติไทยที่ขั้วโลกใต้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน พ.ย.60 ซึ่งในวันที่ 15 มี.ค.61 ได้ร่วมกับ นายปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และผู้ร่วมอุดมการณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม รวมทั้งหมด 26 คน ยื่นขอจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในนาม “พรรคอนาคตใหม่“

“ธนาธร” เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คนของนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ และนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มีศักดิ์เป็นหลานอาของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย โดยศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ และเอาดีทางด้านกิจกรรมในมหาวิทยาลัย จนได้รับเลือกเป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 42 และได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในปี 43

ที่สำคัญในช่วงที่เรียนอยู่ธรรมศาสตร์ ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมม็อบของกลุ่มคนจนหลายครั้ง เช่น การชุมนุมของสมัชชาคนจน, กรรมกรไทยเกรียง, เครือข่ายสลัมสี่ภาค, การประท้วงกรณีท่อก๊าซไทย-มาเลย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นแนวหน้าให้ชาวบ้านสมัชชาคนจนที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างปีนทำเนียบเรียกร้องให้รัฐบาลชวน หลีกภัย เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลด้วย แต่เมื่อบิดาได้เสียชีวิตในปี 45 ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัว จึงจำใจกลับมารับช่วงบริหารบริษัทต่อจากบิดา และเข้าสู่วิถีทุนนิยม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นเขาไม่เคยสนใจหรือยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัวเลย

และตั้งแต่ที่ “ธนาธร” เริ่มเข้าไปบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ทำให้บริษัทมีการเติบโตจากการมีรายได้ 16,000 ล้านบาทในปี 44 เป็นมีรายได้ 80,000 ล้านบาทในปี 60

“กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท” มี “นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ซึ่งเป็นมารดาของ “ธนาธร” มีธุรกิจในเครือข่ายทั้งอดีตและปัจจุบันประมาณ 102 บริษัท เฉพาะ “ธนาธร” เป็นกรรมการ ประมาณ 60 บริษัท ในจำนวนนี้เปิดดำเนินการประมาณ 27 บริษัท คือ บริษัท ไทยซัมมิท คอมโพเน้นท์ จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค บางปะกง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จำกัด,บริษัท คีย์ พ้อยท์ เอ็นเนอจี จำกัด, บริษัท กรีน ไลน์ เอ็นเนอจี จำกัด, บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท ทีที โซล่าร์ จำกัด, บริษัท ที เอส พาวเวอร์ เอ็นเนอจี จำกัด, บริษัท ที เอส ออโต้ เซลส์ จำกัด, บริษัท ไอคอน เอ็นเนอจี จำกัด,

บริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เมจิ ฟอร์จจิ้ง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท วาย-เทค โอโตพาร์ท จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท โอโต เพรส จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท โชว่า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัท พรีเมี่ยมสตีล โพรเซสซิ่ง จำกัด, บริษัท โอกิฮาร่า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท แอคทีฟ แมเนจเม้นท์ เอเชีย จำกัด, บริษัท วัน โอ ซี คอร์โปเรชั่น จำกัด, บริษัท สาธรฮอนด้าคาร์ส์ จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท มิทชูบะอีเล็คทริค แมนูแฟคเจอริ่ง และบริษัท เอสเอ ออโตโมบิล จำกัด

สำหรับบริษัทที่ทำรายได้มากที่สุด 3 อันดับแรกในปี 59 คือ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟ จำกัด มีรายได้ 9,199 ล้านบาท กำไร 53 ล้านบาท, บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท รายได้ 8,543 ล้านบาท กำไร 313 ล้านบาท และบริษัท ไทยซัมมิท มิทชูบะอีเล็คทริค แมนูแฟคเจอริ่ง ทุนจดทะเบียน 630 ล้านบาท รายได้ 6,328 ล้านบาท กำไร 454 ล้านบาท

ขณะที่เมื่อวันที่ 14 มี.ค.61 บมจ.มติชน (MATI) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า นายธนาธร ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.เป็นต้นไป แต่ในส่วนของ บมจ.ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ (WP) ที่นายธนาธรถือหุ้นในสัดส่วน 30,068,586 หุ้น หรือ 1.09% ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ว่าจะมีการขายหุ้นออกหรือไม่

มาดูกันที่ธุรกิจสื่อที่มีในมือของเครือญาติกันบ้าง เริ่มที่ บมจ.มติชน (MATI) มีนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 35,836,000 หุ้น หรือ 19.33% ส่วนธุรกิจทีวีที่เครือญาติเข้าไปถือหุ้นอยู่ปัจจุบันคือ บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC) นายทวีฉัตร จุฬางกูร ถือหุ้น 5.02% นอกจากนี้ นายทวีฉัตร และนายณัฐพล จุฬางกูร และนายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ยังถือหุ้นใน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) รวมกัน 28.54%

หลังจากกระแส “ไพร่หมื่นล้าน” ของ “ธนาธร” มาแรงแซงทางโค้งแล้ว เมื่อวันที่ 15 มี.ค.61 “ธนาธร” ได้แถลงข่าวเปิดตัว “พรรคอนาคตใหม่” อย่างเป็นทาง การพร้อมกับผู้ร่วมกับผู้ก่อตั้งพรรค ด้วยวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งพรรคมี คือ ช่วยกระตุกความคิดของคนในสังคมให้กลับสู่การเมืองแบบประชาธิปไตย เปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีกว่าที่เป็นอยู่และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้แก่ประเทศ และเปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทยใหม่

นอกจากนี้ ยังย้ำจุดยืนว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก และหากวันใดมีส่วนล้ำเส้นทำให้กิจกรรมของพรรคเสียจุดยืนอุดมการณ์ ก็พร้อมจะลาออกจากพรรค

เป็นที่รู้กันดีว่า นายปิยบุตร นักวิชาการสังกัดนิติราษฎร์ ที่มี ศ.ดร วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นแม่ทัพใหญ่ และเป็นผู้ต้นเริ่มแนวคิดในหลายเรื่องสำคัญ ทั้งการเสนอให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ แล้วจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาแทน โดยเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีการใช้อำนาจเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น และยังมีข้อบกพร่องเรื่องการทำหน้าที่พิจารณาคดีเขาพระวิหาร นอกจากนี้ ยังมีการทำรายการอาหารของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

ขณะที่ “ธนาธร” ถูกจับตาเป็นพิเศษ เพราะเป็นหลานชายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ยุคนายทักษิณ ชินวัตร ที่ครั้งหนึ่ง “ธนาธร” เคยประกาศตัวชัดเจนว่าอยู่ข้างฝั่งเสื้อแดง นั่นก็คือกลุ่มคนที่สนับสนุนนายทักษิณ และจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไพร่หมื่นล้าน” นั่นเอง

ซึ่งที่ผ่านมา “ธนาธร” เคยให้สัมภาษณ์เรียกตัวเองว่า “ไพร่หมื่นล้าน” นอกจากบทบาทของการเป็นนักธุรกิจหนุ่มของกลุ่มไทยซัมมิทแล้ว ยังออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองที่กลายเป็นประเด็นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันกระหึ่มผ่านโซเชียล เช่น การติเตียนการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงปี 51 โดยกล่าวว่าเป็นการสร้างความวุ่นวาย ทำให้สังคมไทยแตกแยก

และมาถึงปัจจุบัน แนวความคิดของ “ธนาธร” ก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อได้ประกาศเอาไว้ว่า “หยุดการสืบทอดอำนาจ คสช. ทหารต้องอยู่ใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” และ “ไม่ยอมรับทุกส่วนประกอบที่เป็นประชาธิปไตย” แน่นอนว่า ความคิดของ “ธนาธร” อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล คสช. แน่นอน

การมาของพรรคการเมืองแนวใหม่ของ “ธนาธร” เรียกสีสันได้ไม่น้อย ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ค่อนข้างจะเข้าใจคนรุ่นใหม่ด้วยกันที่เบื่อกับภาพพรรคการเมืองเดิมๆ ที่มีแต่คนในวัยเดิมๆ หรือบางทีก็หน้าเดิม ซึ่งเมื่อเข้ามาก็มีนโยบายที่เหมือนเป็นพล็อตเก่าแก่ล้าสมัย การมาของ “พรรคอนาคตใหม่” จึงดูน่าสนใจมากพอควร

แต่เมื่อจะโดดลงมาเล่นการเมืองแบบเต็มตัวแล้ว ในทางธุรกิจ “ธนาธร” จะหาทางจัดระเบียบอย่างไร เพราะที่มีอยู่ในมือปัจจุบันไม่ใช่น้อยๆ รวมถึงของเครือญาติที่ขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ ถ้าวันหนึ่งจับพลัดจับผลู “ธนาธร” ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งจริงๆ หากใครจะมองว่าอาจจะมีการเอื้อต่อธุรกิจตนเองก็คงไม่แปลก ก็ด้วยความเป็นจริงที่ธุรกิจในมือมากมายขนาดนี้ จะให้มองว่าใสสะอาดก็ดูยากไป ก็ต้องอยู่ที่ “ธนาธร” จะพิสูจน์ฝีมือได้ดีเพียงใด ต้องติดตามกันต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"