จี้ตรวจ"วัคซีนพิษสุนัขบ้า"ก่อนขึ้นทะเบียน-ประเมินผลหลังฉีดไปแล้ว


เพิ่มเพื่อน    

     

     

รพ.จุฬาฯ แถลงข่าว ”ตอบโจทย์สังคม โรคพิษสุนัขบ้า”หมอธีระวัฒน์" ชี้ประเทศไทยต้องยอมรับว่ามีจุดอ่อน จำเป็นต้องตรวจสอบวัคซีนก่อนให้ชึ้นทะเบียน  และประเมินผลหลังใช้  หากมีการระบาดมากกว่านี้ อาจต้องพิจารณาฉีดวัคซีนให้คนไทยทุกคน รวมทั้งเด็กแรกเกิด เผยปี 60 ไม่ได้เสียชีวิตแค่ 11 คนแต่เป็น 17 คน  ด้านสัตวแพทย์เตือนประชาชนหากโดนกัด ข่วนให้รีบไปฉีดวัคซีน  อย่าประเมินแผลเอง

    ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งานแถลงข่าว”ตอบโจทย์สังคม โรคพิษสุนัขบ้า” น.สพ.พรพิทักษ์ พันธ์หล้า นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวว่า โรคพิษสุนัข จากสัตว์สู่คน มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2554 เรามีการดำเนินการลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เหลือไม่เกิน 10 ราย จนกระทั่งปี 2560 มีการเพิ่มขึ้นเป็น 11 ราย และในปีนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ซึ่งทางกรมควบคุมโรคและ สธ.ก็หวังว่าจะทำงานเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ไทยลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เป็น 0 ในปี 2563 ตามที่องค์การอนามัยโลกมีนโยบายลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เหลือน้อยที่สุดในปี 2563 


    ทั้งนี้ จากที่มีการลงพื้นที่พบว่าประชาชนยังเข้าไม่ถึงข้อมูลมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง คือ 60 % เข้าใจว่าโรคนี้เป็นแล้วหายได้หากได้รับวัคซีน  ซึ่งจริงๆแล้วยังไม่มียารักษา หากเป็นแล้วเสียชีวิตสถานเดียว วัคซีนเป็นเพียงการป้องกัน ซึ่งการรับวัคซีนที่ทันท่วงทีก็สามารถช่วยป้องกันได้ จากข้อมูล 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ราย ที่ได้รับวัคซีน นอกนั้นไม่ได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตาม เคยมีกรณีที่พ่อถูกกัดแล้วรอดชีวิตเพราะได้รับวัคซีน แต่ลูกโดนข่วนแล้วเสียชีวิตเพราะไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้นจึงต้องสร้างความตระหนักให้คนมาฉีดวัคซีนเมื่อถูกกัด หรือข่วน ไม่ใช่มีการประเมินบาดแผลเอง


    โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย กล่าวว่า  ประเทศไทยมัวทำอะไรอยู่ โดยตัวเลขสุนัขจรจัดที่รัฐได้รายงานให้กับประชาชนทราบและตัวเลขจำนวนจริงนั้นไม่ตรงกัน  จนก่อให้เกิดวิกฤติใหม่เช่นนี้ อีกทั้งตัวเลขที่ปี 2560 คือ 17 คน ไม่ใช่ 11คน อย่างที่ สธ.แจ้ง เพราะอีก 6 รายเป็นรายที่รอพิสูจน์เชื้อว่าผู้ป่วยติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ การที่บอกว่าควรมีการเก็บภาษีแมว หมา เป็นการเบี่ยงประเด็นหรือไม่ ประเทศไทยกำลังทำอะไรอยู่ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันแก้ปัญหา อีกทั้ง ควรมีการควบคุมให้เป็นระบบ เพราะขณะนี้ทั่วประเทศมีประชากรสุนัขประมาณ 10 ล้านตัวหรือมากกว่า  ซึ่งวัคซีนก็ยังมีปัญหาไม่เพียงพอ และไม่มีคุณภาพอีกด้วย โดยการที่มีคำแนะนำให้มีการกำจัดหรือเซตซิโร่ตนก็ไม่เห็นด้วย   เพราะจะเกิดสงครามกับคนที่รักสุนัข ดังนั้น  ในการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขคนที่รักสุนัขในชุมชนควรมีการเกณฑ์สุนัขมารับวัคซีน  และทำหมันซึ่งมีการทำหมันแบบฉีดอัณฑะ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกกว่าการผ่าตัด รวดเร็ว   ไม่ต้องฉีดยาชาหรืยาสลบ และไม่ต้องกักตัวสุนัขไว้ สามารถปล่อยได้เลย ซึ่งควรมีการนำลูกหมาตัวเล็กมาฉีดด้วย เพราะลูกสนัขก็สามารถเป็นพิษสุนัขได้จากการติดต่อจากแม่ 


    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามคนที่โดนสุนัขกัดหรือข่วน   ควรรีบไปฉีดวัคซีนภายใน 24 ชั่วโมง   หากแผลมีเลือดออก ก็ควรมีการฉีดเซรุ่มบริเวณที่เป็นแผล เพื่อกดไวรัสเอาไว้แค่บริเวณที่เป็นแผล ไม่ให้กระจายไปยังเส้นประสาท เพราะกว่าวัคซีนจะออกฤทธิ์ต้องใช้เวลา 10-14 วัน   ซึ่งตนก็ได้ทำเรื่องส่งไปยังสธ.  ให้พิจารณาการปรับสูตรวัคซีนให้เหลือ 7 วัน จาก 28 วัน คือ เข็มที่ 2 ใน วันที่ 3  วันหลังจากเข็มแรก  และเข็มที่ 3 ในวันที่ 7 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)นอกจากนี้  WHO ยังมีคำแนะนำว่าควรมีการฉีดตามขนาดของบาดแผล ไม่จำเป็นต้องฉีดในปริมาณมากๆซึ่งทำให้สิ้นเปลือง โดยทั้ง 2 เรื่องตนได้เสนอไปทาง สธ.ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2560  


    “หากสงสัยว่าโดนสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด ควรรีบรับวัคซีน และหากมีเลือดออกควรมีการฉีดเซรุ่มเพื่อป้องกันเชื้อกระจายไปยังเส้นประสาท ซึ่งหลังจากฉีดแล้วก็ให้พิจารณาสัตว์ตัวที่กัดหากพ้นไป 10 วันแล้วเขายังไม่ตายแปลว่าไม่ได้เป็นพิษสุนัขบ้า แต่การนับ 10 วันก็ทำได้แค่กับหมาและแมวเท่านั้น เพราะสัตว์แต่ละชนิดมีระยะฟักตัวไม่เท่ากัน อย่างเคยพบกรณีคนโดนกระต่ายกัด คนตายไปแล้ว แต่กระต่ายยังไม่ตายก็มี อย่างไรก็ตาม  ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ฉีดก่อนการสัมผัสเชื้อแก่บุคคลทั่วไป   มีเพียงการฉีดให้ในกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ซึ่งหากมีการระบาดของเชื้อมากกว่านี้   ก็ต้องพิจารณาว่าถึงเวลาหรือยังที่ต้องมีการฉีดให้กับคนไทยทุกคนหรือในเด็กแรกเกิดทุกคน และในการแก้ปัญหาพิษสุนัขบ้านั้นประเทศไทยต้องยอมรับความจริง ยอมรับข้อบกพร่อง จุดอ่อนในการแก้ปัญหาอยู่ตรงไหนก่อน อย่างปัญหาวัคซีนต้องผ่านการตรวจสอบก่อนขึ้นทะเบียนและประเมินหลังใช้ ไม่ใช่เชื่อตามประเทศผู้ผลิตเมื่อไม่มีคุณภาพก็สั่งเก็บทีหลัง”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"