ครั้งแรกเปิดคลังหนังสือส่วนพระองค์ ร.7  


เพิ่มเพื่อน    

     

หนังสือ Malay Sketches  แนวสารคดี  ปกด้านในประทับตราพระราชลัญจกร ร.5 

หนังสือส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  เป็นโบราณวัตถุล้ำค่าและมีความน่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงการใส่พระทัยในการอ่านและพระอัจฉริยภาพ  หลายเล่มพระองค์ทรงอ่านอย่างต่อเนื่อง บางเล่มยังปรากฎตราประทับวชิราวุธของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชมรดกสืบทอดกัน

เป็นครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนำหนังสือส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพะปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาเสนอผ่านนิทรรศการหมุนเวียนในหัวข้อเรื่อง"แรงบันดาลใจจากหนังสือทรงอ่าน" จัดแสดงสื่อและโบราณวัตถุทรงคุณค่า เป็นหนังสือส่วนพระองค์ทุกประเภท ทั้งสังคม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ เกษตร การต่างประเทศ การแพทย์  ศิลปะ และวรรณกรรม  รวมถึงหนังสือหลายภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส หนังสือส่วนพระองค์จำนวนมาก เป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำนิประกอบพระราชกรณียกิจเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ขณะเดียวกันนิทรรศการนี้กระตุ้นผู้เข้าชมซาบซึ้งเรื่องราวพระราชประวัติ พระจริยาวัตร พระองค์  

ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ  แนะนำตัวอย่างหนังสือส่วนพระองค์ในรูปแบบหนังสือดิจิตอล

ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ  บรรยายพิเศษในพิธีเปิดนิทรรศการว่า หนังสือส่วนพระองค์ที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเก็บรวบรวมไว้จำนวน 200 เล่ม แค่ดูชื่อหนังสือก็มีความสนุก หนังสือส่วนพระองค์ดังกล่าวได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อแรกตั้ง แล้วยังมีหนังสือกว่า 1,700 เล่ม เป็นผลงานสะสมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาจากคุณหญิงมณี สิริวรสาร อดีตหม่อมในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชบุตรบุญธรรมผู้รับพระราชมรดกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  และอาจมีหนังสือส่วนพระองค์ที่อื่นอีก ซึ่งยังปรากฏ

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "แรงบันดาลใจจากหนังสือทรงอ่าน"ที่พิพิธภัณฑ์ฯพระปกเกล้าฯ

หนังสือส่วนพระองค์ แบ่งเป็น 3 ยุค หากดูจากป้ายบรรณสิทธิ์  ซึ่งเป็นป้ายแสดงว่าเป็นหนังสือส่วนพระองค์ ศ.พิเศษ ธงทอง กล่าวว่า  ยุคแรก หนังสือที่ทรงอ่านตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัย ธรรมราชา ยุคที่สอง พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศชาติ  และยุคที่สาม เมื่อพระองค์ทรงสละราชสมบัติ  ทรงอ่านหนังสือจำนวนมาก  การเรียนรู้ที่ทรงใช้ คือ การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอยู่จำนวนมากที่สุดในกลุ่มหนังสือส่วนพระองค์   

"การเป็นประมุขของบ้านเมืองทรงอ่านหนังสือที่หลากหลาย ทรงได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวของการปกครองระบอบประชาธิปไตยจาการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของต่างประเทศ  หลายเล่มเป็นหนังสือของนักปราชญ์ที่มีอิทธิพลระดับโลก    และยังทรงหนังสือเกี่ยวกับวิถีเผด็จการ แสดงให้เห็นถึงทรงรู้เขารู้เรา  รวมถึงหนังสือเอกสารรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ   หนังสือแต่ละเล่มสร้างแรงบันดาลใจให้พระองค์ นอกจากทรงอ่านเองแล้ว พระองค์สนับสนุนให้ประชาชนอ่านหนังสือ และโปรดฯ ให้ราชบัณฑิตสภาจัดประกวดหนังสือที่แต่งดี และประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก     พระราชกิจนี้ตกทอดจนปัจจุบัน การเสด็จประพาสยุโรปและอินโดจีนของรัชกาลที่ 7 มีผู้บันทึกในแบบไดอารี่ โปรดฯให้พิมพ์เผยแพร่ ช่วยเติมเต็มความรู้พระราชกรณีกิจ    " ศ.พิเศษ ธงทอง กล่าว  

ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวด้วยว่าหนังสือส่วนพระองค์จำนวนมาก หากมีความร่วมมือและพัฒนาเป็นหนังสือดิจิตอลจะเป็นการอนุรักษ์และสืบสานแนวพระราชดำริจากหนังสือที่ทรง  ซึ่งในนิทรรศการหมุนเวียนครั้งนี้มีหนังสือส่วนพระองค์ที่จัดทำเป็นหนังสือดิจิตอลเป็นตัวอย่าง 20 เล่ม  ผู้ที่สนใจหนังสือส่วนพระองค์นอกเหนือจากนี้ให้สืบค้นที่พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ แนวพระราชดำริส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทรงนำทางไว้แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนไทยจะต่อยอดอย่างไร ปัจจุบันการอ่านหนังสือกระดาษน้อยลง หันไปอ่านออนไลน์มากขึ้น ส่วนตัวการอ่านหนังสือเล่มมีอรรถรสมากกว่าผ่านจอสี่เหลี่ยม  หนังสือมีคุณค่า ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้

ฉลองพระเนตรส่วนพระองค์เมื่อทรงหนังสือ

สนใจเรื่องราวหนังสือส่วนพระองค์ในรัชสมัย ร.7 เข้าชมนิทรรศการ'แรงบันดาลใจจากหนังสือทรงอ่าน' จัดแสดงจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.

หนังสือส่วนพระองค์ล้ำค่า

หนังสือ 'JAPAN&THE JAPANESE' ป้ายแสดงเป็นหนังสือในหอพระสมุทหลวง สืบทอดมา ร.7 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"