เร่ง3บิ๊กโปรเจ็กต์กว่า4แสนล้าน 


เพิ่มเพื่อน    

สคร. ดัน 3 เมกะโปรเจ็กต์วงเงินลงทุนรวม 4.06 แสนล้านบาท เข้ามาตรการ PPP Fast Track หวังช่วยกระตุ้นแผนลงทุนเดินหน้ารวดเร็ว ประเมิน ต.ค. 2561 เคาะเลือกเอกชนลุยโครงการ

24 มี.ค. 61-นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ภายในปี 2561 จะมีการเสนอโครงการลงทุนภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณา จำนวน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม ประมาณ 4.06 แสนล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ มูลค่าการลงทุนรวม 8.06 หมื่นล้านบาท

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดเวลาปรับปรุงรายงาน PPP แล้วเสร็จ และจะเสนอให้ รมว.คมนาคมพิจารณาและได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย. 2561 และภายในเดือน ก.ค. คณะกรรมการ PPP จะมีการพิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้นในเดือน ส.ค. นี้ คาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ และภายในเดือน ต.ค. 2561 จะสามารถคัดเลือกบริษัทที่สนใจมารับเอกสารข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษากำกับการดำเนินงานโครงการได้

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก วงเงินลงทุน 1.31 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเสนอรายละเอียดโครงการทั้งหมดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ โดยระหว่างนี้คณะทำงานจะเร่งพิจารณารายละเอียดโครงการก่อนเสนอให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาในเดือน ก.ค. 2561 และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการภายในเดือน ส.ค. นี้ โดยคาดว่าจะสามารถคัดเลือกเอกชนที่จะมาดำเนินโครงการได้พร้อมกับโครงการทางพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐมชะอำ

“ก่อนหน้านี้ ครม. ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเจรจาตกลงกับเอกชนผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปในรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกันของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือและสายสีม่วงใต้” นายเอกนิติ กล่าว

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าการลงทุน 1.95 แสนล้านบาท คาดว่าจะสามารถเสนอให้ ครม. พิจารณาตามแผนมาตรการ PPP Fast Track ได้ภายในเดือน เม.ย. นี้ หลังจากนั้นจะเร่งเสนอให้ รมว.คมนาคมพิจารณา ก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาอีกครั้ง และคาดว่าภายในเดือน ส.ค. นี้จะสามารถเสนอ ครม. พิจารณาในรายละเอียดได้ โดยจะสามารถคัดเลือกบริษัทที่สนใจมารับเอกสารข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษากำกับการดำเนินงานโครงการได้ภายในเดือน ต.ค. เช่นเดียวกัน

“ทั้ง 3 โครงการลงทุนขนาดใหญ่นั้น ตามกรอบการดำเนินงานของมาตรการ PPP Fast Track จะมีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 9 เดือน โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้โครงการลงทุนเดินหน้าได้เร็วขึ้น โดยกระบวนการตามมาตรการ PPP Fast Track จะจบก็ต่อเมื่อได้รายชื่อเอกชนที่จะมาลงนามในสัญญาก่อสร้าง หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการก่อสร้างต่อไป” นายเอกนิติ กล่าว
 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"