ปรับสมดุลร่างกายลดหวาน-เค็ม เทคนิคสู้หน้าร้อน-ต้านละอองฝน


เพิ่มเพื่อน    

(กัลยา กาลสัมฤทธิ์)

    ว่ากันด้วยเรื่อง “อาหารปรับสมดุลผู้สูงอายุ” โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน ไหนจะเรื่องการบริโภคอาหารช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งรสหวาน, มัน, เค็ม ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดและกระตุ้นให้โรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ ทวีความรุนแรงแล้ว เมื่อวันปีใหม่ไทยผ่านพ้นไป การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและช่วยดูแลสุภาพที่ดี พูดให้ถูกคือการบริโภคอาหารเพื่อล้างพิษในทางแพทย์แผนปัจจุบันให้กับคุณตาคุณยายนับเป็นเรื่องที่สำคัญ งานนี้ กัลยา กาลสัมฤทธิ์ นักกำหนดอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจว่า

(เติมความสดชื่นด้วยผลไม้ตามฤดูกาลที่ไม่หวานมากอย่าง “มังคุด” และ “แตงโมแช่เย็น”)

     “นอกจากการบริโภคอาหารคลายร้อนอย่าง “ข้าวแช่” แบบระมัดระวัง โดยการเลือกบริโภคเครื่องเคียงที่มีความเค็มและรสหวานให้น้อยลง ซดน้ำลอยดอกมะลิให้มากแล้ว หลักของการบริโภคอาหารในช่วงหน้าร้อนเพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายจากการกินอาหารรสหวาน, มัน, เค็ม ในช่วงวันสำคัญที่ผ่านมา แนะนำว่าเริ่มจากการบริโภค “ผลไม้หน้าร้อน” อย่าง “มังคุด”, “แตงโม”, “มะยงชิด”  หากต้องการให้ดีต่อสุขภาพสามารถปอกเปลือกและแช่เย็น เพื่อที่จะทำให้ร่างกายสดชื่น หรือรับประทานเพื่อลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ก็เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกายจากความหวานธรรมชาติค่ะ ทั้งนี้ ผลไม้ตามฤดูกาลควรเลือกชนิดที่ไม่หวานจัดและมีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะ ก็จะช่วยเติมน้ำและดีสุขภาพคุณตาคุณยายทางหนึ่ง

(“น้ำต้มใบเตย” ไม่ใส่น้ำตาล เครื่องดื่มเติมน้ำและสร้างความสดชื่นที่ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุป่วยโรคเบาหวาน)

    เนื่องจากใน 1 วันกำหนดให้ดื่มน้ำไม่ต่ำว่า 8-10 แก้ว แต่ทั้งนี้ ผู้สูงอายุมักจะไม่ค่อยชอบดื่มน้ำในช่วงอากาศร้อนจัด แนะนำให้ดื่ม “น้ำต้มใบเตย” โดยไม่จำต้องใส่น้ำตาล แต่ให้นำไปแช่เย็น และด้วยสรรพคุณของใบเตยเป็นยาเย็นและมีกลิ่นหอมชื่นใจ ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ ดื่มน้ำได้มากขึ้นเช่นกัน ที่สำคัญไม่เพียงเป็นการเติมน้ำและลดความร้อนในร่างกาย แต่ยังช่วยป้องกันการได้รับความหวานจากเครื่องดื่มรสหวานอีกด้วย ที่ลืมไม่ได้สำหรับคุณตาคุณยายที่ดื่มน้ำปั่น ซึ่งตัดรสชาติด้วยการเติมเกลือ ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไต หรือโรคหัวใจ เกิดอาการกำเริบจากการได้รับโซเดียมหรือความเค็มในการปรุงเครื่องดื่มดังกล่าว ดังนั้นควรเปลี่ยนจากการเติมเกลือมาเป็นการใส่น้ำมะนาวแทน จะทำให้น้ำผลไม้ปั่นมีรสชาติอร่อยและกลมกล่อมยิ่งขึ้น และปลอดภัยต่อสุขภาพ 

(เพิ่มการขับถ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องบดเคี้ยว ให้ดื่ม “น้ำแอปเปิลปั่นหวานน้อย” แบบไม่แยกกาก)

    ส่วนในรายของผู้สูงอายุที่มีปัญหาบดเคี้ยว แนะนำว่าให้ดื่ม “น้ำแอปเปิลปั่น” โดยการล้างผลไม้ให้สะอาด เลือกใช้ลูกขนาด 1 กำมือ (คิดง่ายๆ คือหั่นได้ 7-8 ชิ้นพอคำ) หั่นเป็นชิ้น จากนั้นเติมน้ำเปล่าและปั่นให้ละเอียด และดื่มโดยไม่ต้องแยกกาก ทั้งนี้ เพื่อช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร ทำให้การขับถ่ายดียิ่งขึ้น และหากต้องการให้ดีต่อสุขภาพไม่จำเป็นเติมน้ำตาล หรือหากต้องการความหวาน ก็ให้ใส่น้อยที่สุด ตรงนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุบริโภคน้ำผลไม้ปั่นที่ดีต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้ คุณตาคุณยายยังสามารถดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำเย็นได้เช่นเดียวกัน แต่จะต้องไม่เย็นจัดจนเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นหวัดในช่วงอากาศร้อนได้ ที่ลืมไม่ได้คือข้อควรระวังอย่างการ “ดื่มน้ำสุมนไพร” เช่น น้ำกระเจี๊ยบ, น้ำต้มใบย่านาง ที่บางครั้งอาจจะมีทั้งน้ำตาลและเกลือเป็นส่วนประกอบที่ช่วยชูรสชาติ ตรงนี้หากผู้สูงอายุป่วยโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ โรคไต และเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน เนื่องจากผู้ป่วยบางโรคอาจต้องหลีกเลี่ยงน้ำสมุนไพรที่กล่าวมา 

(“ต้มโคล้งใบมะขามอ่อน” เมนูปรับสมดุล-ล้างพิษ และป้องกันโรคหวัดในผู้สูงอายุช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนในฤดูร้อน)

    ขยับมาที่การบริโภคอาหารปรับสมดุลในช่วงฝนพรำที่เกิดจากพายุฤดูร้อน หรือกลุ่ม “อาหารป้องกันไข้หัวลม” อย่าง “แกงเลียง”, “ต้มโคล้งใบมะขามอ่อน”, “ต้มจิ๋ว” (คล้ายกับต้มจืดและต้มยำรวมกัน ใส่มันเทศ หรือเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อวัว, เนื้อหมู, ไก่) ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีหอมแดงและสมุนไพรรสเผ็ดร้อนอย่าง พริกไทย, กระชาย และโหระพา ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยป้องกันโรคหวัดให้กับผู้สูงอายุได้ค่อนข้างดีในช่วงอาการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ที่สำคัญอาหารดังกล่าวไม่มีส่วนผสมของกะทิและน้ำมัน จึงนับว่าช่วยเพิ่มการขับถ่าย และป้องกันการสะสมไขมันไปด้วยในตัว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"