'แจ็ก หม่า' มาทำไม?


เพิ่มเพื่อน    

            ช่วงนี้หลายสื่อแตกตื่นกับการมาเยือนของซีอีโอระดับโลกอย่าง "แจ็ก หม่า" ประธานกรรมการ บริษัทอาลีบาบากรุ๊ปจากจีน ที่มาประเทศไทยอีกครั้งเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับทางรัฐบาลในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 พัฒนากลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) การค้าออนไลน์(อี-คอมเมิร์ซ) รวมถึงการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยการจับมือกับหน่วยงานต่างๆ ผุดแผนงานหลายโครงการ

                ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ก็เกิดคำถามให้กับใครหลายๆ คนว่าการมาครั้งนี้ "แจ็ก หม่า" มาทำไม มาเพื่ออะไร จุดประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้ต้องการอะไรกันแน่ และเมื่อวันที่ 19 เม.ย.2561 ที่ผ่านมาซีอีโออาลีบาบาก็เดินทางมาถึงไทย โดยเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงเช้า และเข้าร่วมงานลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับ Alibaba Grup ในความร่วมมือด้าน Smart Digital Hub and Digital Transformation Strategic Partnership ในช่วงบ่าย

                อย่างไรก็ตาม ในงานนั้นเอง "แจ็ก หม่า" ก็ได้มอบคำมั่นสัญญาที่สวยหรูให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนว่า "การเข้ามาพัฒนาประเทศไทยเพราะเราเชื่อมั่นและจะมีการลงทุนระยะยาว ซึ่งเราเลือกวิธีและรูปแบบการพัฒนาที่ค่อนข้างยาก แต่เชื่อว่าจะได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเราไม่ได้หวังถึงผลกำไรที่จะได้ แต่หวังว่าจะช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างๆ ทั้งกลุ่มเอสเอ็มอี คนรุ่นใหม่ เกษตรกร ให้ประสบความสำเร็จ เพราะในกลุ่มนี้ก็จะทำให้ประเทศก้าวหน้าขึ้นไปด้วย ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น สัญญาว่าจะไม่ทำให้ประเทศไทยและประชาชนไทยผิดหวัง"

                ซึ่งด้วยคำพูดที่ดูดีนี้หลายคนอาจจะคล้อยตามและเชื่อมั่นว่ายักษ์ใหญ่อย่างอาลีบาบาจะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เดินก้าวไปข้างหน้าจริงๆ แต่กับบางคนก็ยังเกิดความไม่เชื่อใจ และไม่มั่นใจในคำว่า "ไม่หวังผลกำไร แต่จะเข้ามาช่วยคนไทยจริงๆ"

                ขณะที่ทางฝั่งเอกชนเองเคยออกมาบอกให้มีการจับตาในการร่วมมือของกระทรวงอุตสาหกรรมและอาลีบาบา โดยนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะได้ประโยชน์ในการขยายตลาดสู่อี-คอมเมิร์ซได้กว้างมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือการใช้ประโยชน์จะได้มากน้อยแค่ไหน      

                และอยากให้รัฐบาลเน้นการใช้ความร่วมมือครั้งนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น ระบบอี-คอมเมิร์ซจะเน้นการขนส่งสินค้า หากมีการตั้งหน่วยนี้ขึ้นมาใหม่ หรือใช้ระบบเดิมของอาลีบาบา อยากให้มีคนไทยมีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้เรียนรู้เทคโนโลยีจากอาลีบาบา รวมทั้งการดำเนินการในส่วนอื่นๆ อยากให้มีพาร์ตเนอร์เป็นคนไทยร่วมด้วย และต้องมองในระยะยาวว่า จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน ทั้ง 2 ฝ่ายเราจะเรียนรู้อะไร หรือศึกษาโนฮาวจากอาลีบาบาได้อย่างไร ซึ่งทาง ส.อ.ท.จะเน้นประสานการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

                นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด ออกมาบอกว่า การเข้ามาลงทุนของอาลีบาบา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ที่ตรงกับสินค้าของจีนที่ขายเข้ามาผ่านทางลาซาด้าเตรียมปรับตัวได้เลย เพราะในระยะยาวผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวหรือต่อสู้ได้ก็ต้องล้มหายตายจากไปเพราะต้นทุนและราคาสินค้าอาจจะต่อสู้กับสินค้าจีนที่เข้ามาไม่ได้ เนื่องจากสินค้าจีนมีราคาถูกกว่ามาก ขายจากโรงงานไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรง

                ซึ่งต้องให้รัฐบาลศึกษาให้รอบๆ ด้าน ไม่ใช่ดูแค่ด้านเดียวที่จีนบอกว่าจะเอาสินค้าไทยไปขายจีน พัฒนาผู้ประกอบการไทย เพราะในทางกลับกัน จีนเองก็อยากจะช่วยนักธุรกิจจีนนำสินค้าจีนออกไปบุกทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องศึกษา เช่น ประมาณจำนวนสินค้าของจีนที่ไหลเข้ามาในไทยผ่านทางออนไลน์ เติบโตขึ้นเท่าไร และผลกระทบการเข้ามาสินค้าจีนทางออนไลน์จะกระทบกับธุรกิจไทยในรูปแบบไหน ใครจะได้รับผลกระทบ

            แต่อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อระหว่างไทยกับจีนก็เป็นเรื่องดีแน่นอน ส่วนเรื่องที่เป็นด้านลบนั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อาจจะเป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งการเข้ามาของ ”แจ็ก หม่า” ยังไงก็เป็นเครื่องการันตีว่าประเทศไทยยังน่าสนใจในการลงทุนอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ  ในภูมิภาค รวมถึงยังเห็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างไม่ยาก.

++++++++++++++


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"