ศบค. สั่งจนท.รัฐห้ามลาไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น ให้ทำงานที่บ้านช่วงหลังปีใหม่

22 ธ.ค.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า สำหรับสถานการณ์โอมิครอน ตอนนี้กระจายไปแล้ว 95 ประเทศทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริการมีการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวถึง 47 รัฐ คิดเป็น 73% ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในสหรัฐรายงานว่าเชื้อโอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ทำให้หลายฝ่ายกังวล เกี่ยววันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ขณะที่ประเทศอิสราเอล พบผู้ติดเชื้อเพิ้มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีมาตรการผิดพรมแดน และจำกัดการเดินทางตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา งดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชาวอิสราเอลที่เดินทางกลับประเทศต้องได้รับการกักตัวทุกราย แม้จะได้รับวัคซีนครบแล้ว สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานว่าผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศไทยมีทั้งสิ้นจำนวน 104 ราย จำนวนนี้มีทั้งที่อยู่ระหว่างการรักษา และรักษาหายออกจากโรงพยาบาลแล้ว

พญ.สุมนี กล่าวว่า มติที่ประชุมศบค.เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.งดรับการลงทะเบียนผ่านไทยแลนด์พลัส เพื่อเข้าประเทศในระบบเทสต์ แอนด์ โก และแซนด์บ็อกซ์ ยกเว้นภูเก็ต แซนด์ บ็อกซ์ โดยอนุญาตให้เข้าได้ใสนรูปแบบการกักตัวเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาก่อนหน้านี้ประมาณ 2 แสนคน ยังเข้าประเทศได้ตามเงื่อนไขเดิม แต่ต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัย เมื่อตรวจ RT-PCR ผลเป็นลบ สามารถเดินทางต่อไปได้ แต่ต้องติดตามตัวได้ตลอดเวลา และติดตั้งแอพพลิเคชั่นหมอชนะทุกคน มีการตรวจ RT-PCR ซ้ำ วันที่ 5-6 และจากกรณีมีรายงานนักท่องเที่ยวหลุดจากระบบการติดตามก่อนหน้านี้ ก็ขอให้ทุหน่วยงานเข้มข้นมาตรการติดตามนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ เพื่อสกัดเชื้อโอมิครอน และเน้นย้ให้ทุกหน่วยงสนกำชับนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามมาตรการที่มีอย่างเคร่งครัด ระหว่างรอผลตรวจ RT-PCR ขอให้อยู่ในห้องพักห้ามออกไปไหน จนกว่าจะทราบผล ที่สำคัญระหว่างอยู่ในประเทศ เมื่อเดินทางไปไหนต้องใส่หน้ากากอนามัย สำหรับมาตรการดังกล่าวจะมีการประเมินอีกครั้งวันที่ 4 ม.ค. 2565

พญ.สุมนี กล่าวต่อว่า นอกจากมาตรการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวแล้ว ที่ประชุมศบค.ยังมีมาตรการสำหรับคนไทย โดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐห้ามลาไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น สำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศขอให้พิจารณาชะลอ หรือยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เน้นย้ำการตรวจ ATK ก่อนเดินทาง ที่ใช้เวลานานและมีคนแออัด และขอให้ตรวจ ATK ด้วยตัวเองเป็นระยะ ขอให้ฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง ที่สำคัญมาตรการกิจกรรมช่วงปีใหม่ ขอให้ตรวจ ATK ทั้งก่อนไปภูมิลำเนา และก่อนกลับมาทำงาน และหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐอนุญาตให้เจ้าหน้าที่เวิร์ค ฟอร์ม โฮม ให้มากที่สุด เพื่อจำกัดการแพร่ระบาด ขณะที่มาตรการทั่วไปภาครัฐเน้นย้ำปฏิบัติตามมาตรการโควิดิฟรีเซ็ตติ้งในการทำกิจกรรมต่าางๆอย่างเคร่งครัด

เมื่อถามถึงการเปิดด่านที่จ.หนองคาย เป็นการเปิดในลักษณะเทสต์แอนด์โกทางบกที่แรก เป็นพื้นที่นำร่องหลังจากนี้จะดำเนินการต่อไปอย่างไร พญ.สุมนี กล่าวว่า ต้องเลื่อนออกไปก่อนและจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่จังหวัดหนองคาย-สปป.ลาว ที่มี ชายแดนติดกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)