คน : ปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนา

บทความที่เผยแพร่ในสื่อส่วนใหญ่ มักจะเสนอวิธีการที่จะทำให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นการบริหารประชาชน หรือการบริหารประเทศ บางบทความอาจจะตำหนิองค์กร หรือผู้รับผิดชอบว่าทำไม่ถูก บางทีตัวผู้เขียน ก็จะระบุไปว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไร

แต่บทความนี้ จะเป็นบทความที่ขอชมการทำงานที่ดีของผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลของสององค์กรที่ได้ทำสิ่งที่ถูกต้องในการตอบยุทธศาสตร์ชาติ ในการพัฒนาประเทศให้เจริญตามเป้าหมาย มั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน โดยการพัฒนาคนในภาครัฐให้มีความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นที่จะรับใช้ประชาชน ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

“คน” ในที่นี้ คือ นักบริหารในภาครัฐที่เตรียมจะขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับรองอธิบดี หรือระดับเดียวกัน ให้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ ที่จะขึ้นไปรับผิดชอบในภารกิจของหน่วยงานของตน และองค์การ ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งปัจจุบันได้ผู้บริหารคนหนุ่ม คนปัจจุบันไฟแรงชื่อ ดร. ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อการพัฒนามาสู่หน่วยงานแห่งนี้ ส่วนในการพัฒนา “คน” หรือนักบริหารที่มาเข้าหลักสูตร นบส. 1 (นักบริหารระดับสูง) เพื่อเตรียมความพร้อมขึ้นสู่ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในระดับรองอธิบดี หรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกัน นั้นอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ ดร. ชุติมา หาญเจริญ รองเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งกำหนดการฝึกอบรม นักบริหารเหล่านี้ให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาหน่วยงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถขับเคลื่อนโครงการ/แผนงานต่างๆ ที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อให้ผลตามที่ยุทธศาสตร์ชาติต้องการ นอกจากนั้นยังเตรียมนักบริหารเหล่านี้ เมื่อจบหลักสูตร นบส. 1 แล้วมีมุมมองที่ได้จากการวิเคราะห์องค์กรของตนว่าจะปรับปรุงอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

การที่สำนักงาน ก.พ. ได้จัดหลักสูตรนี้ขึ้นมาก็เพื่อเตรียม “คน” ในระดับสูงให้พร้อมที่จะนำองค์กร ให้ก้าวไปข้างหน้า และตอบโจทย์ที่ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดไว้ จึงทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจว่า “คน” ในระดับสูงได้รับการพัฒนาเพื่อนำ “คน” ในระดับต้น และระดับกลางให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความคาดหวังของประชาชน

แล้ว “คนในระดับต้น และระดับกลางล่ะ” จะได้รับการพัฒนาหรือไม่ และอย่างไรจึงจะได้องค์การ ที่มีประสิทธิภาพสูงของภาครัฐ ในการพัฒนา “คน” ในระดับต้น และระดับกลางนั้นหน่วยงานที่มีโครงการ ในการพัฒนา “คน” ให้มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในอนาคตเพื่อรับทอดความรับผิดชอบจาก นักบริหารระดับสูงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโครงการนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ได้ถูกตั้งขึ้นมา เมื่อพ.ศ. 2548 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และได้รับการปรับปรุงเพื่อตอบสนองโจทย์ของยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลใช้กำหนดไว้โดยมีการปรับปรุง ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐที่ต้องการข้าราชการที่มีความมุ่งมั่น และมีความรู้มาเป็นข้าราชการและการปรับปรุงนี้ได้เริ่มต้นภายใต้ภาวะผู้นำของนายประกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ในตอนนั้น เมื่อ 3 ปีที่แล้วทำให้โครงการนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ได้มีการฝึกอบรมในเชิงรุกเพื่อให้รอบรู้ในปัญหาของประเทศและประชาชนทั้งในภูมิภาค และส่วนกลางหลักสูตรนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีความเข้มที่จะเข้าใจโจทย์ของยุทธศาสตร์ชาติ และความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในปัจจุบันนางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคนปัจจุบันของ ก.พ.ร. ก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงหลักสูตร และการปฏิบัติงานในภาครัฐของ นปร. ให้มีความพร้อมให้มากขึ้นและในปัจจุบันได้ผลิตมาแล้ว 13 รุ่น และกำลังอยู่ในโครงการอีก 2 รุ่น คือ รุ่น 14 และรุ่น 15 ที่กำลังฝึกอบรมให้เป็น นักบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี

ส่วนนปร. ที่จบโครงการไปแล้วทาง ก.พ.ร. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย ก.พ.ร. ได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับ นปร. ที่จบโครงการ ไปแล้วและกำลังปฎิบัติราชการอยู่ในปัจจุบันให้มีความรู้และความสามารถเท่าทันกับความต้องการ ของประเทศชาติและประชาชน หลักสูตรที่ว่านี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากมูลนิธินโยบายสาธารณะ เพื่อสังคมและธรรมาภิบาลโดยท่านประธานมูลนิธิ ดร.บัณฑิต นิจถาวร ได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดหลักสูตร และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงมาเป็นวิทยากรในหลักสูตร “การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสังคม และธรรมาภิบาล” ซึ่งก็ได้จัดสำเร็จไปแล้วรุ่นแรกและกำลังจะเปิดอบรมรุ่นต่อๆไป เพื่อตอบสนอง ความต้องการในการพัฒนา “คน” ให้มีศักยภาพที่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและความต้องการ ของประชาชน เพื่อให้ภาครัฐได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาประเทศต่อไปด้วย “คน” ของภาครัฐที่มีคุณภาพ มีความรู้มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้ประเทศชาติและสังคมของเราเจริญ เพื่อให้ลูกหลานของเรามีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี และเขาก็จะเป็น “คน” ที่มีคุณภาพของสังคมเราต่อไป

ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง

สุธรรม ส่งศิริ

กรรมการมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

งบ68ทร.ซื้อเครื่องบินลำเลียง “เรือดำน้ำ-ฟริเกต”ไปถึงไหน?

ฟันธงกันว่าปิดจ๊อบปรับคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 2” ที่โรงแรมหรูกลางกรุงไปแล้ว โดยมี ทักษิณ ชินวัตร นั่งหัวโต๊ะคุยรอบสุดท้ายโดยไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ว่ากันว่า โผนี้ชื่อของ เกรียง กัลป์ตินันท์ กับ สุทิน คลังแสง ยังเหนียว

ปัญหาความยากจนที่ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย

ประเทศไทยในทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนมากมองประเทศจะต้องประสบกับภาวะความยากจน และต้องตกอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการมีหนี้สินล้นพ้น ซึ่งสาเหตุของความยากจนดังกล่าวก็เกิดจากการไม่มีงานทำ ประชากรเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของประชากร

สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม

ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

'รวยด้วยหวย' ความคาดหวังของสังคมไทย

หวยกับสังคมไทย อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ถ้ามองย้อนกลับไปในอดีต การเล่นหวยในประเทศไทยมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 2 จากการที่คนจีนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย