ยกที่ 1 'ทุกขลาภร้อน' สำหรับ 'ผู้ว่าฯชัชชาติ'

14 มิ.ย.2565 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความต่อเนื่องในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่กลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯกทม. โดยมีรายละเอียดดังนี้

“ทุกขลาภร้อนๆอันแรก ของ ท่านผู้ว่าชัชชาติ”

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565

อาจารย์ชัชชาติ ให้สัมภาษณ์ “ยืนยันว่า เสรีภาพการชุมนุมป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งต้องมีการอำนวยความสะดวกเต็มที่ ต้องมีการเก็บขยะ น้ำดื่ม ห้องน้ำสาธารณะ ความปลอดภัย แพทย์ฉุกเฉิน กล้องวงจรปิดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จำเป็นต้องดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

…. ทั้งนี้ กทม.ต้องเตรียมพื้นที่สาธารณะให้มีการชุมนุมได้ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ หน่วยงานราชการสามารถกำหนดพื้นที่สาธารณะเพื่อการชุมนุมได้ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องขออนุญาตตำรวจตามหมวด ๒ เช่น ลานคนเมือง สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น หรือสวนสาธารณะในทุกๆเขตได้”

อาจารย์ครับ ตอนนี้ อาจารย์เป็นผู้ว่า กทมแล้ว ช่วยเตรียมพื้นที่ให้ประชาชนที่กำลังชุมนุมแถวดินแดง ตามมาตรา 9 ที่ว่าหน่อยเถิดครับ

พี่น้องประชาชนเหล่านั้น จะได้ไม่ต้องเจอตำรวจเวลาชุมนุมครับ!!"
---
“ยกที่หนึ่ง ! ทุกขลาภร้อน สำหรับ ผู้ว่า กทม”

การชุมนุมต่อเนื่องที่กลับมาใหม่ และสัญญาของท่านผู้ว่าชัชชาติ ตอนหาเสียงว่า“จะเตรียมพื้นที่สาธารณะให้มีการชุมนุมได้ ตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ หน่วยงานราชการสามารถกำหนดพื้นที่สาธารณะเพื่อการชุมนุมได้ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องขออนุญาตตำรวจ”

"การชุมนุมขณะนี้ จะเป็น การลองของกับ หรือ เล่นของของผู้ว่าชัชชาติโปรดติดตาม!"
--
ทั้งนี้ ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ศ.ดร.ไชยันต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "เท่าที่ประเมินจากสถานการณ์คาดว่า ใครได้เป้นผู้ว่ากทม.ถือว่าเป็นทุขลาภ ขนาดหนัก เพราะอะไร โปรดติดตาม"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ส่องสุขภาพ'มอเตอร์ไซด์รับจ้าง'ใน กทม.

“มอเตอร์ไซด์รับจ้าง” เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพฯ ทั้งรับส่งผู้โดยสารและเอกสาร ผลจากปัญหาจราจรและความเร่งรีบในการเดินทางของคนเมือง  แม้จะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายบนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่พวกเขาก็ไม่บอกลางานอิสระนี้ เพราะประกอบอาชีพได้ง่าย