เรือบรรทุกผู้อพยพ 230 คนเทียบท่าที่ฝรั่งเศส ท่ามกลางประเด็นขัดแย้งกับอิตาลี

เรือกู้ภัยซึ่งบรรทุกผู้อพยพ 230 คน เข้าจอดเทียบท่าที่ท่าเรือตูลงของฝรั่งเศส ท่ามกลางความขัดแย้งที่เป็นประเด็นลุกลามระหว่างฝรั่งเศสและอิตาลี หลังเกี่ยงกันว่าประเทศใดควรจะรับผู้อพยพเหล่านี้เข้าประเทศ

ผู้อพยพบนเรือกู้ภัยโอเชียน ไวกิ้ง ที่ได้รับการช่วยเหลือให้ขึ้นฝั่งประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน (Photo by Vincenzo Circosta / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า เรือโอเชียน ไวกิ้ง ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มเอ็นจีโอของฝรั่งเศส ได้แล่นออกไปรับผู้อพยพที่ล่องเรืออยู่กลางทะเลในน่านน้ำสากลใกล้ชายฝั่งประเทศลิเบีย ก่อนที่จะใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการค้นหาท่าเรือของประเทศที่ยินดีต้อนรับผู้อพยพเหล่านั้น

อีเวนซ์ ริชาร์ด อธิบดีประจำภูมิภาคกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า "เรือโอเชียน ไวกิ้ง เทียบท่าฝรั่งเศส เมื่อเวลา 08.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.50 น. ตามเวลาประเทศไทย) และผู้อพยพเริ่มได้รับการเคลื่อนย้ายลงจากเรือแล้ว"

ทั้งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสไม่เคยอนุญาตให้เรือกู้ภัยที่บรรทุกผู้อพยพจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาเทียบท่าขึ้นฝั่งมาก่อน แต่คราวนี้จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเพราะประเทศอิตาลีปฏิเสธการต้อนรับผู้อพยพ

เจอรัลด์ ดาร์มานิน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ผู้อพยพเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของอิตาลีภายใต้กฎของสหภาพยุโรป และการเคลื่อนไหวของฝรั่งเศสเป็นมาตรการพิเศษที่จะไม่ผูกมัดต่อการวิธีปฏิบัติในอนาคต

ดาร์มานินกล่าวว่า การที่อิตาลีปฏิเสธผู้ย้ายถิ่นฐานนั้นไม่เป็นไปตามข้อตกลงและจะมีผลร้ายแรงต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีของอิตาลีกับฝรั่งเศส และกับสหภาพยุโรป และยืดอกรับว่าฝรั่งเศสปฏิบัติตามหน้าที่ด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มที่แล้วในกรณนี้

ในช่วงก่อนหน้า เรือโอเชียน ไวกิ้ ที่ได้เข้าช่วยเหลือผู้อพยพจากกลางทะเล ได้พยายามเข้าถึงชายฝั่งของอิตาลีซึ่งใกล้กับจุดรับผู้อพยพมากที่สุด โดยอ้างว่าสุขภาพและสุขอนามัยของคนบนเรือกำลังเข้าขั้นวิกฤตและต้องการความช่วยเหลือโดยเร็ว

แต่รัฐบาลอิตาลีปฏิเสธคำร้องขอขึ้นฝั่ง พร้อมให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ประเทศของตนและประเทศใดๆ ต้องมาแบกรับภาระมากขึ้นในการรับผู้อพยพหลายพันคนจากแอฟริกาเหนือที่พยายามเข้าถึงยุโรปในแต่ละปี

ในกลุ่มผู้อพยพ 230 คน มีอยู่มากกว่า 50 รายที่เป็นเด็ก และต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน โดยทีมแพทย์ฝรั่งเศสเข้าให้การอภิบาลผู้อพยพที่เป็นผู้หญิงและเด็กก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นผู้อพยพทั้งหมดจะต้องถูกกักตัวไว้ในเขตเฝ้าระวังระหว่างประเทศเพื่อรอดำเนินการขอลี้ภัย

นายกรัฐมนตรีจอร์เจีย เมโลนี ของอิตาลี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลแบบอนุรักษนิยมในรอบหลายทศวรรษ พร้อมปะทะกับข้อพิพาทและข้อกล่าวหาดังกล่าวของฝรั่งเศส และพร้อมผลักดันประเด็นขัดแย้งเหล่านั้นให้มีการพิจารณาในระดับภาคียุโรป

มัตเตโอ เปียนเตโดซี รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของอิตาลี กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาคำขอลี้ภัยดังกล่าวของผู้อพยพ 230 คน โดยอิตาลีรับผู้ลี้ภัยไปแล้วกว่า 90,000 คนในปีนี้

รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศสกล่าวว่า 9 ประเทศในยุโรปอาสาเปิดรับผู้อพยพจำนวน 2 ใน 3 ให้สามารถลี้ภัยในประเทศของตนได้ โดยส่วนที่เหลือจะได้รับการพิจารณาให้ลี้ภัยในฝรั่งเศส

ทั้งนี้ เยอรมนีอาสาเปิดรับผู้อพยพประมาณ 80 คน ขณะที่โครเอเชีย,โรมาเนีย, บัลแกเรีย, ลิทัวเนีย, มอลตา, โปรตุเกส, ลักเซมเบิร์กและไอร์แลนด์ จะแบ่งสรรปันส่วนในการรับผู้อพยพที่เหลือ ในฐานะพันธมิตรเพื่อความเป็นปึกแผ่นของยุโรป

ในการตอบโต้จุดยืนของอิตาลีที่ปฏิเสธผู้อพยพกลุ่มดังกล่าว ฝรั่งเศสได้ระงับแผนการรับผู้ลี้ภัย 3,500 คนที่อาศัยอยู่ในอิตาลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงแบ่งภาระของยุโรป พร้อมเรียกร้องให้เยอรมนีและประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ ปฏิบัติแบบเดียวกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DAZNสตรีมมิ่งกีฬาระดับโลก จับมือพีจีเอทัวร์ถ่ายทอดสด สู่ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ-อาเซียน

ดะโซน (DAZN) ผู้ให้บริการสตรีมมิงกีฬายักษ์ใหญ่ของโลก ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับพีจีเอทัวร์ เพื่อถ่ายทอดสดการแข่งขันกอล์ฟพีจีเอทัวร์ ไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มโอกาสให้แฟนกีฬาได้รับชมการประชันวงสวิงของเหล่าโปรกอล์ฟระดับท็อปของโลกมากยิ่งขึ้น

'เศรษฐา' พบ 'มาครง' อยากให้มีฟรีวีซ่าไทย-อียู กต.ไม่มีนโยบายนำผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศสกลับไทย

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ไปพบกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่า เป็นเรื่องที่นายกฯ ประสงค์จะให้มีฟรีวีซ่าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป