เช็กสถานะรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน

กลายเป็นประเด็นถกเถียงเป็นวงกว้างหลังจากเส้นทางรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ The China-Laos Railway ช่วงบ่อเต็น-นครเวียงจันทน์ เที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน เป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลลาวและจีน มูลค่าการลงทุนประมาณ 6,000-6,800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยฝ่ายจีนถือหุ้น 70% และรัฐบาลลาว 30% แน่นอนว่าหลายฝ่ายมีความกังวลว่าไทยจะเสียโอกาสในครั้งนี้


อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากกระทรวงคมนาคม โดยศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้ข้อมูลว่าในส่วนของการเชื่อมต่อกับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มอบหมายนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวง

ทั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาไปที่ สปป.ลาว เพื่อดูข้อมูล ข้อเท็จจริงในการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ทั้งปริมาณผู้โดยสารและสินค้าต่อวันเป็นอย่างไร


สำหรับการพัฒนารถไฟของประเทศไทยเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟของลาว-จีนนั้น มีการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. บริษัทปรึกษาอยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ โดยจะเร่งรัดการดำเนินการ คาดว่าในปี 2565 จะสามารถสรุปรายละเอียดและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มดำเนินการ


ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันเส้นทางถึงขอนแก่นแล้ว ส่วนระยะที่ 2 จากขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. ซึ่งเตรียมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2565 จะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ โดยทั้งโครงการรถไฟทางคู่จากขอนแก่น-หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย จะสามารถแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2570


สำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อรองรับการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยจะแยกเป็นสะพานเฉพาะสำหรับการเดินรถไฟเท่านั้น รวมทั้งการจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับปริมาณการขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต, การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน เป็นการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานเดิม (ระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ


และการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระยะเร่งด่วนและระยะยาว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการพิจารณาพัฒนาพื้นที่รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ และเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน


โดยตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์การเอกซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service โดยจะพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า


ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 คาดว่าจะสามารถคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนแล้วเสร็จประมาณ 2 ปี
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาไทยเราได้เดินหน้าโครงการมาโดยตลอด ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงคมนาคมมีการสั่งการให้หน่วยงานพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดอย่างรอบครอบ เพราะเบื้องต้นรถไฟทางฝั่ง สปป.ลาวยังเป็นทางเดี่ยว หากเป็นทางคู่เชื่อว่าปริมาณสินค้าจะมาก ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการทำระบบขนส่งทางรางที่สมบูรณ์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ให้นโยบายการพิจารณาทำให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างประทศให้เหมาะสม สามารถดำเนินการโดยยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย.


กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา