‘อัษฎางค์’ เล่าที่มา ‘พระเกี้ยว’ สัญลักษณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

‘อัษฎางค์ ยมนาค’ เล่าเรื่องพระเกี้ยว “5 เรื่องราวของรัชกาลที่ 5” ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป บอกถึงที่มาพระเกี้ยวก่อนกลายเป็นสัญลักษณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

25 ต.ค.2564- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ว่า พระเกี้ยว (ตอนที่ 1)

“5 เรื่องราวของรัชกาลที่ 5” ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป 1. พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5  2.รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย”  3. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” 4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” 5. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความเท่าเทียมกัน”

1. พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 “พระเกี้ยว” เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน “จุฬาลงกรณ์” แปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ “จุลมงกุฎ” หมายถึง พระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ หรือ พระจอมเกล้าน้อย อันเกี่ยวโยงถึงพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธยเดิม คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ

ดังนั้น “พระเกี้ยว” คือตัวแทนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานพระนามของรัชกาลที่ 5 เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ให้สำนึกใตพระคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ รัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนมหาดเล็ก จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน

ต่อมา โรงเรียนมหาดเล็กพัฒนามาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด พระเกี้ยว จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วย

ต่อมา นายอัษฎางค์  ได้โพสต์ พระเกี้ยว (ตอนที่ 2) “5 เรื่องของรัชกาลที่ 5 ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป” 1.พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5  อ่านรายละเอียดที่นี่: https://www.facebook.com/100566188950275/posts/165712192435674/?d=n 2. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย” 3.รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” 4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” 5. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความเท่าเทียมกัน”

2. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย” ช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมาในสมัยรัชกาลที่ 4- รัชกาลที่ 5 หลังจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ประเทศก้าวล้ำนำโลก แล้วได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองการทหารมาสู่เอเชีย ข้ออ้างสำคัญของชาติตะวันตกที่ใช้อ้างความชอบธรรมในการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน เพื่อจะเข้ามาปกครองประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย คือประเทศในเอเชียและไทย ล้าสมัย

รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงภัยพิบัตินี้ จึงได้ยกเครื่องปฏิรูปการปกครอง ปฏิรูปสังคม(เช่น การเลิกไพร่ เลิกทาส) พัฒนาระบบคมนาคม สาธารณสุขและการศึกษา ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ให้ทันสมัยตามอย่างชาติตะวันตก รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกๆ ในเอเชียที่ ฟังพูดอ่านเขียน ภาษาอังกฤษ ได้ ทำให้ทรงรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของการเมืองโลก และสามารถสื่อสารกับชาติมหาอำนาจได้

รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในเอเชีย ที่เสด็จไปถึงยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและใช้การทูตในการรับมือกับการขยายอำนาจของชาติตะวันตก จนทำให้ไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเป็นชาติแรกๆ ในเอเชียที่มีรถไฟ ไฟฟ้า มหาวิทยาลัย เลิกทาส ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและเริ่มต้นประชาธิปไตย

3. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” หลังจากมีข้าราชการรวมตัวกันเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัยตามอย่างชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอว่าก่อนจะทำการสิ่งใดอันเป็นการปรับปรุงบ้านเมืองไปสู่การมี “คอนสติติวชัน” (Constitution-รัฐธรรมนูญ) นั้น จำเป็นจะต้องทำ “คอเวอนเมนต์รีฟอม” (Government reform-ปฏิรูประบบราชการ) เสียก่อน “ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นการเรียบร้อยได้แล้ว การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้”

และนั่นคือที่มาของการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขนานใหญ่ดังที่ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “Revolution” เส้นทางพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยในเมืองไทย เริ่มต้นจากจุดเริ่มต้น คือทรงปฏิรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือก “ผู้ใหญ่บ้าน” และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่มีสิทธิเลือกตั้ง “กำนันของตำบล”

4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” ทรงปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินชนิดที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่ายกเครื่องใหม่ทั้งหมด กล่าวคือ ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ ที่ประกอบด้วย 4 กรม ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา แล้วเปลี่ยนเป็น กระทรวง 12 กระทรวง ตามแบบชาติตะวันตกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค โดยแบ่งเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมืองและมณฑล

โปรดติดตามตอนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ข้องใจ! 'โชกุน' ทำตามออร์เดอร์ 'พญาอินทรีย์'

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุข้อความว่า น่าแปลใจไหมครับ ญี่ปุ่นให้รางวัลนี้กับ อ.ธงชัย ทั้งที่ญี่ปุ่นนี้ โค-ตะ-ร

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

ต่างชาติยังรู้ แก๊งบีบแตรไล่ขบวนเสด็จฯ โดนชาติตะวันตกล้างสมอง!

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ชาวต่างชาติทราบข่าวตะวันบีบแตรไล่ขบวนเสด็จ โดยระบุรายละเอียดว่า เมื่อสั