'ชัชชาติ' ดุจริง! จับปรับ 1 หมื่นทิ้งน้ำมันลงท่อระบายน้ำ คนแจ้งเบาะแสได้ส่วนแบ่งรางวัลด้วย

"ชัชชาติ" เอาจริง! "กทม." ปรับสูงสุดคนทิ้งน้ำมันลงท่อระบายน้ำ เผยผู้แจ้งเบาะแสได้เงินรางวัลนำจับด้วย พร้อมเร่งจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย

29 ส.ค.2565 - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีที่ปรากฏตามสื่อที่ระบุว่า มีผู้เทน้ำมันลงท่อระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ว่า จากการตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารในพื้นที่เขตจตุจักร โดยฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตจตุจักรได้ดำเนินคดีตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ. ) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 33 ห้ามมิให้ผู้ใดเท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย น้ำโสโครกหรือสิ่งอื่นใดลงบน ถนนหรือในทางน้ำ ประกอบกับมาตรา 57 บทกำหนดโทษ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท โดยได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุด 10,000 บาท ตามคดี เลขที่ 3747/65 ลงวันที่ 16 ส.ค. 2565 กรณีมีผู้แจ้งเบาะแส จะได้รับเงินส่วนแบ่งรางวัลนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับตามผลคดีที่ได้เปรียบเทียบปรับ ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ นี้ได้ทาง Traffy Fondue

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.วันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้สำนักเทศกิจเร่งรัดดำเนินการในการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย โดยเชิญภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งสำนักเทศกิจ ได้รายงานข้อมูลพื้นที่ทำการค้าที่ได้ดำเนินการจัดระเบียบหาบเร่ – แผงลอยแล้ว ประกอบด้วย 1. พื้นที่เขตราชเทวี ได้แก่ สะพานหัวช้าง ซอยรางน้ำ ซอยเสนารักษ์ (ถนนโยธี) ได้รับการสนับสนุนร่มและแผงค้าแบบน็อกดาวน์จาก King Power 2. พื้นที่เขตบางกอกน้อย ได้แก่ ซอยแสงศึกษา ได้รับการสนับสนุนร่มกันแดดจากโรงพยาบาลธนบุรี และ 3. พื้นที่เขตดุสิต บริเวณซอยสังคโลก (ข้างโรงพยาบาลวชิรพยาบาล) ได้รับการสนับสนุนร่ม โต๊ะ-เก้าอี้ ที่ล้างรวม บ่อดักไขมัน จากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ส่องสุขภาพ'มอเตอร์ไซด์รับจ้าง'ใน กทม.

“มอเตอร์ไซด์รับจ้าง” เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพฯ ทั้งรับส่งผู้โดยสารและเอกสาร ผลจากปัญหาจราจรและความเร่งรีบในการเดินทางของคนเมือง  แม้จะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายบนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่พวกเขาก็ไม่บอกลางานอิสระนี้ เพราะประกอบอาชีพได้ง่าย

“พิพัฒน์” ห่วงใยแรงงาน ส่งหน่วยงานในสังกัดเข้าช่วยลูกจ้างน้ำท่วมศรีราชา ขอความร่วมมือนายจ้างไม่ถือเป็นวันลา ได้ค่าจ้างปกติ

วันที่ 21 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณี สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในเขตพื้นที่ อ.ศรีราชา