แนะบริหารความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ

คงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทาง PwC อยากจะแนะนำให้ธนาคารและภาคการเงินของไทยตื่นตัวในเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ หลังมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ Climate Risk Stress Test มาใช้ในอนาคตอันใกล้ โดยหน่วยงานกำกับดูแลในสิงคโปร์-มาเลเซีย ก็ได้มีการออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผลการทดสอบ CST ของ ECB พบธนาคารในยูโรโซนส่วนใหญ่ไม่ได้นับรวมความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศไว้ในโมเดลด้านสินเชื่อของตน 

ในเรื่องนี้ นางสาวสุ อารีวงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก

รวมทั้งกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตื่นตัวในการประเมินการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือสภาพภูมิอากาศ กับการดำเนินงานของธนาคารมากขึ้น โดยธนาคารกลางของสิงคโปร์และมาเลเซียได้ออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการนำปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ซึ่งในทางทฤษฎี การนำความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัจจัยส่วนเพิ่มในการบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารมีอยู่เดิม จะทำให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบของความเสี่ยงได้อย่างมีความแม่นยำมากขึ้น

ต้องยอมรับว่า กระแสของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ถือเป็นหนึ่งในพลวัตสำคัญของโลกที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งหน่วยงานกำกับร่วมกันผลักดัน ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติ requirement และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ภาคธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาโลกร้อน 

ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลงานกองทุนโดยทางการ (Pillar 2) โดยเพิ่มการคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของเงินกองทุน ซึ่งถึงแม้ว่า ธปท.อาจจะยังไม่ได้ออกแนวทางที่ชัดเจนในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์การนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงในอนาคตของธนาคาร

ในระยะต่อไปจะเห็นภาคธุรกิจธนาคารยิ่งต้องปรับกลยุทธ์ โดยผนวกการบริหารความเสี่ยงที่พิจารณาถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และ ESG Risk อื่นๆ เข้ากับการดำเนินธุรกิจมากขึ้น เช่น มีการพิจารณาถึงผลกระทบจากระดับ ESG Risk ของลูกค้าแต่ละราย และมีการนำผลกระทบดังกล่าว มาใช้ในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าที่มีธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ รวมไปถึงการออกสินเชื่อสีเขียว ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นธนาคารหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ และมีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงด้าน ESG ให้มีความแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ รายงาน Risk and Regulatory Outlook 2022 ของ PwC ยังได้แนะนำแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีการนำแบบทดสอบภาวะวิกฤตด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศมาใช้ คือ 1.สร้างความสามารถด้านข้อมูลสำหรับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านเครดิต 2.ร่วมมือกับลูกค้าเพื่อการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่มีคุณภาพ ด้วยการจัดทำผลสำรวจเพื่อสอบถามและศึกษาข้อมูลของลูกค้า 3.มีจุดยืนเชิงกลยุทธ์สำหรับ Sustainable Financing 4.ผนวกความเสี่ยงด้านสภาพอากาศเข้ากับกรอบการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5.ยกระดับทักษะและความรู้การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศภายในองค์กร 6.อัปเดตกระบวนการกำกับดูแลที่มีอยู่ให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ  7.นำผลการประเมิน Climate Risk Stress Testing มาใช้ในการบริหารพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร 

อย่างไรก็ดี การจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ยังคงมีไม่เพียงพอ ถือเป็นความท้าทายของการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจไทย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ เพราะทำให้การประมาณการความเสียหายจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่ครอบคลุมทุกมิติ และอาจจะไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร ดังนั้น ภาคธุรกิจควรต้องพิจารณาว่าข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้ต่อยอดการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG ในอนาคต และภาครัฐควรให้การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการด้าน ESG ในทุกภาคส่วนมีการพัฒนาขึ้น.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว