'เมตาเวิร์ส' มิติใหม่ของธุรกิจ

ต้องยอมรับว่าการระบาดของโควิด-19 จนเป็นเหตุให้เกิดการล็อกดาวน์กันทั่วโลก และยังได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย ทั่วโลกต่างเร่งเดินหน้าฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ในทางปฏิบัติ แม้ทุกกิจกรรมจะทยอยกลับคืนสู่สภาพปกติ แต่ผู้บริโภคเกือบทั้งหมดก็ยังคงพฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์ต่อไป ข้อมูลจาก UOB ASEAN Consumer 2021 Study พบว่า 98% ของผู้บริโภคชาวไทยเลือกที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจิปาถะต่างๆ, 95% เลือกที่จะใช้บริการส่งอาหาร และ 93% ซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านร้านค้าออนไลน์

และยังพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยทุกเจเนอเรชันมีการใช้งานสื่อออนไลน์สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่เกิดการระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคน Gen Z ที่มีการใช้งานยูทูบถึง 86% และเฟชบุ๊ก 74% สอดคล้องกับผลการศึกษาของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ที่พบว่าคน Gen Z ยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวันสูงที่สุด โดยมียอดการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 12 ชั่วโมง 5 นาที

สิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ระบุว่า จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า SMEs สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น เช่น กลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยหนุ่มสาว ซึ่งพวกเขาอาจยังไม่เคยทำตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าวัยนี้มาก่อน และกลุ่มคนวัยที่มีอายุมากกว่า เช่น วัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในการซื้อสูงกว่า การศึกษาว่าสิ่งใดที่สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้และสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญของ SMEs ที่กำลังมองหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ FinLab จัดโครงการ Smart Business Transformation (SBTP) ในปีนี้มุ่งเน้นไปที่การให้คำแนะนำด้านการตลาดดิจิทัลแบบครอบคลุมทุกเจเนอเรชัน เพื่อช่วย SMEs ในการใช้ประโยชน์จากโอกาสทองนี้ให้ได้มากที่สุด

ซึ่งปัจจุบัน แบรนด์และผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจใน Metaverse หรือจักรวาลนฤมิต ที่เป็นการนำเอาประสบการณ์แบบเสมือนจริงมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนเจเนอเรชันวัยหนุ่มสาวซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการท่องโลกออนไลน์ และเติบโตมากับอารยธรรมโลกดิจิทัลมากกว่าคนวัยอื่นๆ

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Techsauce Media, Thailand ผู้ให้บริการสื่อสำหรับสตาร์ทอัปสายเทคโนโลยีและนวัตกรรมองค์กร กล่าวว่า Metaverse ณ เวลานี้ยังคงอยู่ในช่วงของการริเริ่มบุกเบิก ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับ SMEs ที่จะนำแนวความคิดแบบ Test-and-learn หรือทดสอบและเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ ด้วยการเปิดใจให้กว้างในการทดลองใช้งาน Metaverse จากนั้นก็เร่งฟื้นตัวจากความผิดพลาดใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นและนำเอาความสำเร็จที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้าน ภาณุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Nudge Thailand ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและประสบการณ์ลูกค้า กล่าวว่า โดยธรรมชาติมนุษย์มีสัญชาตญาณการแข่งขันที่ต้องการเอาชนะ การนำสภาพแวดล้อมของเกมมาบรรจุลงในสินค้าและบริการจะช่วยกระตุ้นให้คนเกิดความรู้สึกตื่นเต้นและกระตือรือร้นต่อการได้รับรางวัลตอบแทน

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน การเรียน หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตให้คล้ายกับลักษณะของเกม เพื่อทำให้เกิดการจูงในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น หรือ Gamification วิธีง่ายๆ สำหรับ SMEs ในการเริ่มคือ ต้องเข้าใจในข้อมูลความชอบและความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย จากนั้นก็สร้างแคมเปญที่ง่ายและสนุกขึ้นมา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เข้าร่วมและมีของรางวัลตอบแทน

Gamification เป็นเทคนิคที่ SMEs สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเป้าหมายและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกได้ ยิ่ง SMEs มีความเข้าใจในตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้นเท่าใด การส่งเสริมแคมเปญก็ยิ่งเกิดประสิทธิผลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการเลือกใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ โซลูชัน และโปรโมชั่น ควรมีการพิจารณาหลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกแหล่งเพื่อค้นหาคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับลูกค้า Data-driven mindset จึงสามารถช่วยในการคัดสรรแนวทางการตลาดและแคมเปญที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายและบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”