
ไชยันต์ ไชยพร
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และฉบับที่ 3 คือฉบับ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ใช้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2475-2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่ระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร ได้แก่
1. การเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีสิทธิ์รับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และมีวาระอยู่ยาวตราบที่ยังบังคับใช้บทเฉพาะกาลอยู่
4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร
5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องซึ่งส่วนเป็นสมาชิกคณะราษฎรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 รับรองตัวเองให้เป็นคณะรัฐมนตรี
จาก 1-5 บรรดาสมาชิกคณะราษฎรต่างแต่งตั้งตัวเองกลับไปกลับมาหมุนเวียนกันเป็นคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลาถึง 13 ปี จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ แม้จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และให้มีสมาชิกพฤฒสภาขึ้นแทน แต่ก็ยังกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามีสิทธิ์ในการรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และแม้ว่าจะกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วงแรกให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากสมาชิกพฤฒสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นมาเป็นจำนวน 80 คน พบว่า เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นจำนวน 49 คน และเป็นสมาชิกคณะราษฎร 55 คน (ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนให้ตัวเลขไว้ 45 และ 51 คน เพราะตกหล่นไปสี่ท่าน คือพันโท ก้าน จำนงภูมิเวท, คุณปราโมทย์ [บุญล้อม] พึ่งสุนทร พ.ร.ต. พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ร.น. และคุณจิตตะเสน ปัญจะ
ที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรและได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ด้วย)
หมายความว่า กว่าครึ่ง (49/80 คน) ของสมาชิกพฤฒสภาสืบต่อมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และกว่าครึ่ง (55/80) ของสมาชิกพฤฒสภาเป็นสมาชิกคณะราษฎร นั่นคือ มีสมาชิกสภาพฤฒสภาที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 68.75 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
และเมื่อเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 จำนวน 78 คน พบว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 46 คน นั่นคือ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร 58.9 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกพฤตสภากลับเพิ่มมากขึ้นกว่าสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรก
ส่วนสมาชิกพฤฒสภาที่เหลือที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรมี 30 คน ได้แก่ นายแก้ว สิงหะคเชนทร์, พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน สรยุทธเสนี, นายเขียน กาญจพันธุ์, พันโท เจือ สฤษฎิ์ราชโยธิน, นายจินดา พันธุมจินดา, นายจำลอง ดาวเรือง, นายช่วย สุคนธมัต, นายไต๋ ปาณิกบุตร, นายถวิล อุดล, นายทองม้วน สถิรบุตร, นายทัน พรหมิทธิกุล, นายเธียรไท อภิชาตบุตร์, พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลนาชสุวัจน์), พระนิติการณ์ประสม (สงวน ชัยเฉนียน), นายปพาฬ บุญ-หลง, หลวงประสิทธิ์นรกรรม (นายเจี่ยน หงสประภาส), นายประทุม รมยานนท์, นายผูก ปาลธรรมี, พันตำรวจเอก พระพิจารณ์พลกิจ, นายพึ่ง ศรีจันทร์, นายมิ่ง เลาห์เรณู, ร้อยโท วิริยะ วิริยะเหิรหาว, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร, นายสนิท เจริญรัฐ, นายสุกิจ นิมมานเหมินท์, นายไสว อินทรประชา, พันโท พระอภัยพลรบ (ชลอ อินทรัมพรรย์), หลวงอรรถกัลยาณวินิจ (เอื้อน ยุกตะนันทน์), นายอรุณ แสงสว่างวัฒนะ
ในตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงประวัติของคุณพึ่ง ศรีจันทร์และคุณแก้ว สิงหะคเชนทร์ คุณเขียน กาญจพันธุ์ และพันโท เจือ สฤษฎิ์ราชโยธิน ต่อไปคือ คุณจินดา พันธุมจินดา
สำหรับผู้เขียน เมื่อพูดถึงคุณจินดา พันธุมจินดา จะนึกถึงชื่อ จินดา จินตนเสรี ผู้แปลหนังสือ social contract อันโด่งดังของรุสโซเป็นคนรก โดยชื่อภาษาไทยของหนังสือคือ สัญญาประชาคม ที่คุณจินดา เปลี่ยนนามสกุลมาเป็น จินตนเสรี ก็เพราะท่านนิยมในแนวคิดเรื่องเสรีภาพของรุสโซ เลยตั้งนามสกุลใหม่ จินตนเสรี เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็คือ free will หรือเจตจำนงเสรี และถ้าตีความจากที่ท่านชื่นชมงานของรุสโซ และเจตจำนงเสรี ก็คงเดาได้ว่า ท่านย่อมต้องเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งในปี พ.ศ. 2475 คุณจินดาอายุได้ 25 ปี กำลังหนุ่มแน่น อยู่ในวัยมีอุดมการณ์
และเมื่อกล่าวถึงนามสกุล จินตนเสรี หลายท่านย่อมนึกถึง คุณเสรี จินตนเสรี อดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณเสรีคือลูกชายของคุณจินดานั่นเอง และจะเห็นได้ว่า ความนิยมในเสรีภาพของคุณจินดา ไม่ได้หยุดอยู่เพียงการตั้งนามสกุลใหม่ แต่รวมไปถึงการตั้งชื่อลูกชายด้วย
การรู้เรื่องราวเหล่านี้ เกิดจากการที่ผู้เขียนต้องการสืบค้นเกี่ยวกับการแปลหนังสือของรุสโซของคุณจินดา โดยเริ่มต้นจากการที่ผู้เขียนค้นจากอินเตอร์เนทจนพบว่า มีชื่อคุณจินดา จินตนเสรี อยู่ในพิธีมิซซาที่อุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ก็สืบค้นจากกูเกิ้ล จนพบชื่อ จามรี จินตเสรี จากนั้น ก็ค้นหมายเลขโทรศัพท์บ้าน และโทรไปจนได้สนทนากับคุณจามรี และทราบว่าท่านเป็นบุตรีของคุณจินดา แต่ท่านออกตัวว่าไม่ค่อยจะทราบประวัติการแปลหนังสือของคุณพ่อเท่าไรนัก และแนะนำว่า น้องชายที่ชื่อ เสรี น่าจะทราบเรื่องมากกว่า และเสรีที่ว่านี้ คือ คุณเสรี จินตนเสรี อดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากนั้นผู้เขียนก็ได้ติดต่อกับคุณอาวีระชัย เอื้อวิไลจิต ผู้ใหญ่ที่ผู้เขียนเคารพ เพราะคุณอาวีระชัยเคยพูดถึงคุณเสรีอยู่เนืองๆ ก็เลยรบกวนให้ท่านช่วยติดต่อคุณเสรี จนได้สัมภาษณ์คุณเสรี จึงทราบว่า หนังสือสัญญาประชาคมที่คุณจินดาแปลครั้งแรก ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยในช่วงก่อน พ.ศ. 2479 และทราบด้วยว่า คุณจินดามาจากครอบครัวที่ถือว่าร่ำรวยเป็นเศรษฐี เป็นเจ้าของตลาดบางบัวทอง ครอบครัวคุณจินดานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก (โรงเรียนเดียวกับผู้เขียน) ตั้งแต่ชั้นประถมมูล โดยเป็นเด็กประจำ และเรียนแผนกฝรั่งเศส หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมแล้ว ก็ได้เข้ารับราชการชั้นราชบุรุษในกรมสาธารณสุขเรื่อยมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คุณเสรีเล่าว่า คุณพ่อเป็นคนหัวก้าวหน้ามาก แม้ว่าจะไม่ใช่สมาชิกคณะราษฎร แต่น่าจะเป็นคนมีแนวคิดก้าวหน้าอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คุณจินดาศรัทธาในคณะราษฎรเป็นอย่างมาก และแสดงความนิยมชมชอบออกมาชัดเจนขึ้น ดังจะเห็นได้จากเมื่อคณะราษฎรได้ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2477 คุณจินดาก็ได้เข้าไปสมัครเรียนเป็นรุ่นแรกและจากการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2480 และในช่วงที่เรียนที่ธรรมศาสตร์ คุณจินดาน่าจะมีโอกาสได้สนิทสนมและรู้จักกับท่านปรีดี พนมยง์ ในทำนองเดียวกันกับ คุณเตียง ศิริขันธ์ ที่แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรตั้งแต่ต้น แต่โดยส่วนตัวเป็นคนหัวก้าวหน้าที่ชื่นชมปรีดีอยู่ห่างๆ
(โปรดติดตามเรื่องคุณจินดา จินตนเสรี ในตอนต่อไป)
(ข้อมูลจาก ศุภชัย ศุภผล, “การสร้างความนิยมและปัญหาเกี่ยวกับการตีความทฤษฎีการเมืองของ ฌอง ฌากส์ รุสโซ ในบริบทการเมืองไทย” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อึ้งทั้งบาง! 'องครักษ์' หา 'ปชน.' วางแผนประทุษกรรมซักฟอก 'ตระบัดสัตย์' จับมือลุง
สส.อนุสรณ์-องครักษ์พิทักษ์นาย โจมตี 'พรรคประชาชน' วางแผนประทุษกรรมซักฟอก สร้างความโกลาหลในสภา ก่อนนำไปขยายต่อโซเชียล พร้อมโชว์ตรรกะพิสดาร หา 'พรรคส้ม' ตระบัดสัตย์ 'จับมือลุง' ร่วมศึกซักฟอกแพทองธาร
ลือ 'เหลิม' ร่วมซักฟอก! รังสิมันต์ ลั่นโรยเกลือ 'แพทองธาร'
'รังสิมันต์' ย้ำศึกซักฟอก หลักฐานแน่ พร้อมเปิด 'ยุทธการโรยเกลือ' เอาผิดนายกฯแพทองธารหลังจบอภิปราย เย้ยฝ่ายรัฐบาลส่งสัญญาณเครียดจัดผ่านดินเนอร์ของพรรคร่วมรัฐบาล ขณะที่กระแสข่าว 'เหลิม' เข้าร่วมอภิปรายด้วยยังไม่คอนเฟิร์ม
โฆษกรัฐบาล ยืนยันนายกฯอิ๊งค์ 'เก่งจริง' จี้ฝ่ายค้านซักฟอกสร้างสรรค์ ไม่บูลลี่ด้อยค่า
จิรายุ-โฆษกรัฐบาล มั่นใจในความสามารถของ นายกฯแพทองธาร จะสามารถชี้แจงทุกประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พร้อมเรียกร้องฝ่ายค้านทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก๋าอภิปรายในเชิงสร้างสรรค์เพื่อร่วมแก้ปัญหาประเทศ
'นันทเดช-ไพบูลย์' ทะลวงศึกอภิปราย ปิดฉากดีลลับทักษิณ I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
'นันทเดช-ไพบูลย์' ทะลวงศึกอภิปราย ปิดฉากดีลลับทักษิณ อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568
ฝ่ายค้านได้เปรียบ 3:1 ยก 4 เหตุผลทำประชาชนจับตาศึกซักฟอก
อดีตหัวหน้า ศรภ. ยกเหตุผล 4 ข้อทำให้ประชาชนให้ความสนใจการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ในสภา ฝ่ายค้านมีความได้เปรียบ 3:1
องครักษ์ 20 คนไม่ช่วย! 'วิโรจน์' ซัด 'แพทองธาร' ไร้ภาวะผู้นำ-บริวารในกงสีแค่ทำคะแนน
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.ประชาชน ซัดแรง องครักษ์พิทักษ์แพทองธาร 20 คน เป็นแค่บริวารในกงสี ไม่มีผลต่อศึกซักฟอก ลั่นฝ่ายค้านถามลูก ไม่ได้ถามพ่อ! เตือนนายกฯ ต้องชี้แจงเอง ไม่ใช่พึ่งบริวาร