
ไชยันต์ ไชยพร
หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช (คณะกู้บ้านกู้เมือง) เซอร์ รอเบิร์ต ฮอลแลนด์ และ นายแบกซ์เตอร์ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทั้งสองได้บันทึกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการที่พระองค์ทรงทบทวนสถานการณ์ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เมื่อปีก่อนหน้านั้น
อัครราชทูตอังกฤษได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับพระราชดำรัสนี้ว่า “….จากข้อมูลที่ข้าพเจ้ามีอยู่นั้น การทบทวนสถานการณ์ (review of the situation) ตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อปีที่แล้วไม่เพียงแต่มิได้เป็นการขยายความจนเกินจริง (exaggerate) เท่านั้น หากแต่ยังอาจถือได้ว่า เป็น การเล่าเรื่องที่เชื่อถือได้โดยสมบูรณ์ (absolutely authentic account) ของสิ่งที่ได้เกิดขึ้น ที่น่าสนใจเป็นการเฉพาะ หากพิจารณาการวิพากษ์วิจารณ์ที่ได้เกิดขึ้นในตอนนั้น คือพระราชดำรัสเกี่ยวกับสภาวการณ์ที่ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินไปสงขลา (เรื่องเดียวกัน) ดังนั้น ในที่นี้ จึงจะขอนำบันทึกของ เซอร์ รอเบิร์ต ฮอลแลนด์ มาเสนอไว้ทั้งฉบับมิใช่เพียงเพราะความน่าสนใจทางประวัติศาสตร์ แต่เพื่อเป็นการปกป้องพระเกียรติยศแห่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องได้รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ในช่วงนั้นด้วย (Inclosure in Doc. 116, “Notes on Sir R. Holland’s Audience with His Majesty the King of Siam” อยู่ใน เรื่องเดียวกัน หน้า 131-132 ส่วน “Notes on Mr. Baxter’s Audience with His Majesty the King’s of Siam” อยู่ในรายงานฉบับเดียวกันนี้ หน้า 132-135 บันทึกทั้ง 2 ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2476)
ข้อความต่อไปนี้เป็นบันทึกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อบุคคลทั้งสองนี้ตามที่บันทึกไว้โดย เซอร์ รอเบิร์ต ฮอลแลนด์ (ต่อจากตอนที่แล้ว)
“………ส่วนของข้าพเจ้านั้นเป็นส่วนของความยากลำบากอย่างยิ่งยวด (great difficulty) ข้าพเจ้าถูกตำหนิอย่างขุ่นเคืองใจรุนแรง (bitterly reproached) ที่ไม่ได้กลับมากรุงเทพฯ และขึ้นเป็นผู้นำฝ่ายที่เรียกกันว่า ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalist party) หากทำเช่นนั้นแล้วจะได้อะไรขึ้นมา [หากทำเช่นนั้น] ข้าพเจ้าเองก็คงจะเป็นเบี้ย (pawn) ในมือของคณะใดก็ตามที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าคงจะลงไปในเวทีการเมือง ข้าพเจ้าอาจจะทำให้เกิดผลคุกคามต่อการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ การตัดสินใจของข้าพเจ้าที่จะไปสงขลาเกิดขึ้นในชั่วขณะสั้นๆ เท่านั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง แต่มันก็เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและบีบคั้นอย่างที่สุด (the most trying and wearing time) ข้าพเจ้าถูกตำหนิโดยทุกฝ่าย ทั้งตำหนิในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ทำไป และตำหนิในสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทำ ในประเทศอังกฤษเขากล่าวกันว่า พระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถทำอะไรผิด (“The King can do no wrong”) ในสยามดูเหมือนว่า พระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถทำอะไรได้ถูกเลย รัฐบาลระแวงสงสัยข้าพเจ้าทุกฝีก้าว และปัดข้อเสนอของข้าพเจ้าที่จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยอย่างไม่แยแส (discourteously discarded) รัฐบาลคงจะรับข้อเสนอหากสถานการณ์ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นใจต่อฝ่ายเขา แต่ทันทีที่เขารู้สึกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ เขาก็ไม่ต้องการให้ข้าพเจ้ามาเกี่ยวข้อง แต่ข้าพเจ้าคิดว่า สิ่งที่ได้เกิดขึ้นได้ขจัดเมฆหมอกต่างๆไปแล้ว สภาพโดยทั่วไปดีขึ้น พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้ที่จงรักภักดี และมีเหตุผลที่จะรู้สำนึกว่าอะไรเป็นอะไร (loyal and sensible) แต่เขาถูกแวดล้อมด้วยคนหนุ่มที่มีความกระตือรือร้นจนคลั่งไคล้ (fanatical young men)
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งคนเหล่านี้ก็ยังรับรู้ว่า ขณะนี้พระมหากษัตริย์เป็นส่วนที่จำเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ และข้าพเจ้าคิดว่า ความเชื่อมีมากขึ้นแล้วว่า ข้าพเจ้าต่อต้านอย่างที่สุด (absolutely opposed) ต่อความพยายามใดๆก็ตามที่จะรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใหม่ นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แล้ว มีหลายสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีความหวังในสถานการณ์ปัจจุบัน การเลือกตั้งได้ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และข้าพเจ้าก็เชื่อว่า ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนจากการเลือกของประชาชน (the people’s choice) จริงๆ พวกเขาได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้ถูกผลักดันให้เคลื่อนไหวโดยความคิดสุดขั้วด้านประชาธิปไตย และแม้กระทั่งผู้ที่ยึดถือในตัวหลวงประดิษฐ์มนูธรรมคนหนึ่ง ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรของกรุงเทพฯ ก็ยังได้ประกาศว่า เขามุ่งที่จะเป็นผู้แทนความคิดของประชาชนผู้ที่เลือกเขาและจะไม่เดินตามคำสั่งของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสมือนทาส มีความรู้สึกต่อต้านหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่นี้อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในบรรดานายทหาร เพราะพวกเขาหวั่นเกรงว่า หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอาจขัดขวางข้อเรียกร้องด้านงบประมาณให้แก่กองทัพบก และในบรรดาสมาชิกคนอื่นๆ เพราะคนเหล่านี้ยังคงระแวงสงสัยทัศนะแบบคอมมิวนิสต์ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ดังนั้น เมื่อเห็นว่ากลุ่มของตนเป็นเสียงข้างน้อย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงขอให้มีการไต่สวนอย่างเป็นทางการเพื่อจะตัดสินว่า เขาเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งคนหนึ่ง คือ พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (พลเอก พระยาเทพหัสดิน เป็น ส.ส. จังหวัดพระนคร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 และเคยเป็นหัวหน้าคณะทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาต้องมรสุมทางการเมืองสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมามีอำนาจแทน พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา จนกลายเป็นนักโทษประหาร และแม้จะได้รับพระรชทานอภัยโทษในที่สุด แต่ลูกชาย 2 คนก็ถูกประหารชีวิต) ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงความสามารถที่จะมีความคิดอิสระและทำให้มีผู้เข้ามาร่วมกลุ่มความคิด ไม่เพียงแต่จากสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งด้วยกันเท่านั้น แต่มีที่มาจากสมาชิกประเภทแต่งตั้งด้วย นั่นจึงทำให้ข้าพเจ้าคิดว่าลู่ทางได้ดีขึ้นตั้งแต่มีสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ถึงขณะนี้ข้าพเจ้าคิดว่า สถานการณ์จะผ่อนคลายลง หากข้าพเจ้าจะออกไปจากสยามสักชั่วระยะหนึ่ง หากข้าพเจ้ายังอยู่ในประเทศ แต่มิได้อยู่ในกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะควบคุมหรือมีอิทธิพลใดๆได้ และชื่อของข้าพเจ้าก็อาจจะถูกนำไปใช้โดยเปล่าประโยชน์โดยผู้ที่คบคิดต่อต้านรัฐบาลปัจจุบัน หากข้าพเจ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าก็อาจเป็นเป้าสำหรับการร้องเรียนและสำหรับบุคคลที่ไม่พอใจก็จะพยายามคบคิดกันโดยนำข้าพเจ้าไปเป็นศูนย์รวม หากข้าพเจ้าจากไปสักชั่วระยะหนึ่ง อาจจะมีโอกาสที่จะทำให้สิ่งต่างๆ ลงเอยได้ ข้าพเจ้าควรจะมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (Regency) ประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร โดยข้าพเจ้าสามารถติดต่อได้ไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ที่ไหนในยุโรป โดยทางโทรเลขหรือโทรศัพท์ และจริงๆแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะทนกับสภาพนี้ได้อีก ความตึงเครียดกดดัน (strain) ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเลวร้ายมาก ตาของข้าพเจ้าต้องได้รับการผ่าตัดต้อกระจก (cataract) ภายในเร็ววันและนายแพทย์โนเบิล (Dr. Noble) ก็ได้แจ้งแก่ข้าพเจ้าว่า จำเป็นจะต้องใช้เวลาพักผ่อนและฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย (recuperation) 2 เดือนก่อนจะทำการผ่าตัด
ข้าพเจ้ารู้สึกว่า อนาคตจะขี้นอยู่กับชะตากรรมของผู้ที่ได้รับเคราะห์กรรมจากผลของการก่อการกบฏเมื่อเร็วๆนี้เป็นสำคัญ ข้าพเจ้าได้เรียกร้องอย่างเร่งด่วนให้มีการยกเลิกโทษประหาร พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ตกลงในเรื่องนี้ แต่ก็ยังมีพวกเลือดร้อนหัวรุนแรง (hot-heads) จำนวนมากที่ยืนยันว่าจะต้องมีการประหารชีวิต (อัครราชทูตอังกฤษระบุว่า “จากที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมานั้น เป็น พันโท หลวงพิบูลสงครามและกองทัพบกเป็นสำคัญ ที่ยืนยันจะให้ใช้มาตรการปราบปรามรุนแรง (severe repressive measures) อันเป็นมาตรการที่กำลังใช้อยู่ขณะนี้” [F 7458/21/40] “Sir J. Crosby to Sir
การดำเนินงานเช่นนี้จะมีผลชี้ชะตาในอนาคต (fatal move) การแก้แค้น (vengeance) จะตามมาจัดการในระยะยาวกับผู้ที่รับผิดชอบ และผลก็คือ เราจะได้เห็นเพียงแต่การปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า (a vista of revolutions) โดยที่แต่ละครั้งก็จะสูญเสียเลือดเนื้อ (sanguinary) มากกว่าครั้งที่ผ่านมา...”
(แหล่งอ้างอิง: ฝรั่งมองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7: ตะวันออกที่ศิวิไลซ์ ?, ธีระ นุชเปี่ยม)
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิสุทธิ์' ลั่นไม่กังวลใครจะอยู่หรือไป เสียงรัฐบาลตอนนี้ 270-280 แล้ว
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ขอให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ไม่เช่นนั้นจะถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ว่า ตนไม่ทราบว่าเขาพูดจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม
‘วิทยา’ ย้ำมติ รทสช.ให้เปลี่ยนนายกฯ ชี้อยู่ต่อไม่เกิน 3 เดือน-จริยธรรมจ่อถล่ม
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ระบุเปลี่ยนนายกฯ คือทางรอดของพรรค ชี้ “แพทองธาร” หมดคุณสมบัติ รอดยากทั้งทางการเมืองและกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องรอผ่านงบฯ 69 เชื่อปัญหาจริยธรรมตามมาเป็นขบวน
'พีระพันธุ์' ชี้ชะตารัฐบาลอิ๊งค์ สมชัยชี้วินาทีเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ชี้ หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ คือผู้กุมชะตารัฐบาลแพทองธาร ย้ำ หากพีรพันธุ์เลือกถอนตัว จะเป็นจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ก
คลิปหลานฮุนเซนสะเทือน ปชป. 'ชนินทร์' ยื่นทบทวนร่วมรัฐบาล สก.กรุงเทพทยอยไขก๊อก
ชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาฯ ปชป. ร่อนหนังสือถึงหัวหน้าพรรค ขอประชุมทบทวนมติร่วมรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง ชี้ประชาชนไม่พอใจ-ฐานเสียงไหล ล่าสุด ส.ก.บางกอกน้อยลาออกกลางกระแสต้านนายกฯ ปมคลิปสนทนาฮุนเซน
'ดิเรกฤทธิ์' ชี้ 4 คดีรุม นายกฯ ไม่ลาออก รัฐบาลก็ไปไม่รอด
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย โพสต์เตือนจับตา 4 คดีใหญ่ที่รายล้อมนายกรัฐมนตรี ทั้งคดีอาญา-รัฐธรรมนูญ-ความมั่นคง ย้ำหากยังฝืนอยู่ในตำแหน่ง รัฐบาลชุดนี้ก็ไปต่อไม่ได้
'เทพไท' หนุนยุบสภาดีกว่าลาออก ชี้คืนอำนาจประชาชน สลายขั้ว-เปิดทางนายกฯใหม่
อดีต สส.นครศรีธรรมราช ชี้ปมคลิปหลุดแพทองธาร ทำให้สังคมกดดันนายกฯต้องแสดงความรับผิดชอบ เสนอ “ยุบสภา” เป็นทางออกในระบบประชาธิปไตย ย้ำมีข้อดีกว่าลาออกทั้งในแง่การเปิดทางคนใหม่ กระตุ้นเศรษฐกิจ และปลดล็อกทางการเมือง