ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 60)

 

ไชยันต์ ไชยพร

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490  เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และฉบับที่ 3 คือฉบับ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489  ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ใช้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2475-2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่ระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร ได้แก่

1. การเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีสิทธิ์รับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1

2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง

3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และมีวาระอยู่ยาวตราบที่ยังบังคับใช้บทเฉพาะกาลอยู่

4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร

5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องซึ่งส่วนเป็นสมาชิกคณะราษฎรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 รับรองตัวเองให้เป็นคณะรัฐมนตรี

จาก 1-5 บรรดาสมาชิกคณะราษฎรต่างแต่งตั้งตัวเองกลับไปกลับมาหมุนเวียนกันเป็นคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลาถึง 13 ปี จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ แม้จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และให้มีสมาชิกพฤฒสภาขึ้นแทน แต่ก็ยังกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามีสิทธิ์ในการรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง  และแม้ว่าจะกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วงแรกให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

จากสมาชิกพฤฒสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นมาเป็นจำนวน 80 คน พบว่า เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นจำนวน 50 คน  และเป็นสมาชิกคณะราษฎร 56 คน

หมายความว่า กว่าครึ่ง (50/80 คน) ของสมาชิกพฤฒสภาสืบต่อมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และกว่าครึ่ง (56/80) ของสมาชิกพฤฒสภาเป็นสมาชิกคณะราษฎร  นั่นคือ มีสมาชิกสภาพฤฒสภาที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 70 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

และเมื่อเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476  จำนวน 78 คน พบว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรเสีย 46 คน  นั่นคือ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร 58.9 % ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกพฤฒสภากลับเพิ่มมากขึ้นกว่าสมาชิกคณะราษฎรในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ตั้งขึ้นครั้งแรก และคนในสมัยนั้นเรียกพฤฒสภาว่าเป็น “สภาปรีดี”

ส่วนสมาชิกพฤฒสภาที่เหลือที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรมี 30 คน  ในตอนก่อนๆ ได้กล่าวถึงประวัติของสมาชิกพฤฒสภาไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรมี 30 คนไปบ้างแล้ว ได้แก่ คุณพึ่ง ศรีจันทร์   คุณแก้ว  สิงหะคเชนทร์  คุณเขียน กาญจพันธุ์ และพันโท เจือ  สฤษฎิ์ราชโยธิน คุณจินดา พันธุมจินดา (จินดา จินตเสรี) คุณจำลอง ดาวเรือง  คุณไต๋ ปาณิกบุตร คุณถวิล อุดล คุณทัน พรหมิทธิกุล มหาอำมาตย์ตรี พระยานลราชสุวัจน์  (ทองดี  นลราชสุวัจน์)  พระนิติการณ์ประสม  (สงวน  ชัยเฉนียน) คุณปพาฬ  บุญ-หลง หลวงประสิทธิ์นรกรรม              คุณประทุม  รมยานนท์     พันตำรวจเอก พระพิจารณ์พลกิจ และคุณพึ่ง ศรีจันทร์    คุณมิ่ง  เลาห์เรณู ร้อยโท  วิริยะ  วิริยะเหิรหาว คุณสนิท  เจริญรัฐ คุณสุกิจ นิมมานเหมินทร์ คุณไสว อินทรประชา และพันโท พระอภัยพลรบ  (ชลอ  อินทรัมพรรย์) และหลวงอรรถกัลยาณวินิจ  (เอื้อน  ยุกตะนันทน์)

ต่อไปจะได้กล่าวถึงคุณอรุณ  แสงสว่างวัฒนะ

คุณอรุณเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2543 ที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนแถวๆบ้าน ต่อมาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ และลาออกจากโรงเรียนขณะกำลังเรียนชั้นมัธยมหก ด้วยสาเหตุที่มีเป็นคนที่มีความคิดที่ไม่ค่อยเหมือนคนอื่นมาตั้งแต่เด็ก อรุณออกจากโรงเรียนไปทำมาหากิน โดยขอเงินมารดา 2,000 บาทเพื่อจะไปหาซื้อรถแทรกเตอร์มารับจ้างไถนา แต่ราคารถตอนนั้นคันละ 4,600 บาท จึงต่อรองขอดาวน์รถจากห้างฝรั่งจนสำเร็จ และนำรถแทรกเตอร์มาเปิดกิจการรับจ้างไถนาในวัยเพียง 16 ปี ทำให้เขาเป็นวัยรุ่นที่ร่ำรวยมากและกลายเป็นคนมีหน้ามีตาของปากน้ำโพเมื่ออายุเพี่งจะ 20 เศษๆ เท่านั้น ต่อมาเขาก็ตั้งร้ายขายปืนขึ้นที่อำเภอเมือง นครสวรรค์ การเป็นเจ้าของร้านขายปืนทำให้เขาได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะผู้ที่จะต้องพาลูกบ้านมาซื้ออาวุธไว้คุ้มครองทรัพย์สิน

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 คุณอรุณลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครสวรรค์ในขณะที่มีอายุได้ 23 ปี อีกสี่ปีต่อมา คุณอรุณตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับเลือกเป็นผู้แทนจังหวัดนครสวรรค์วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 และเป็นผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร และเป็นผู้แทนฯนครสวรรค์จนถึงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และอีก 9 ปีต่อมา คุณอรุณก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกพฤฒสภา(http://goto.thestarto.com:780/news/details.aspx?id=9878)

จากข้อมูลที่ค้นได้ ไม่พบร่องรอยความสัมพันธ์ระหว่างคุณอรุณกับปรีดี พนมยงค์ จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า การที่คุณอรุณได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภามีส่วนทำให้พฤฒสภาได้รับการขนานนามว่าเป็น “สภาปรีดี”

จากที่ได้ศึกษาประวัติของสมาชิกพฤฒสภาที่กล่าวไป คุณอรุณ แสงสว่างวัฒนะเป็นสมาชิกพฤฒสภาคนสุดท้ายตามรายชื่อของสมาชิกพฤฒสภาทั้งหมด 80 คน และมีสมาชิกพฤฒสภาจำนวน 3 ท่าน ที่ผู้เขียนยังไม่สามารถค้นประวัติในรายละเอียดได้ ทั้งสามท่านที่ว่านี้คือ คุณช่วย  สุคนธมัต คุณทองม้วน  สถิรบุตร และคุณเธียรไท  อภิชาตบุตร์

ในตอนต่อไป จะได้นำข้อมูลของสมาชิกพฤฒสภาที่กล่าวไปมาประมวลและสรุปความเป็น “สภาปรีดี”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประพันธ์-ดิเรกฤทธิ์ สองอดีต สว. 'อิ๊งค์' อยู่ต่อ-เป็นอันตรายต่อชาติ อัปยศ สยบยอมอริราชศัตรู

สถานการณ์การเมืองที่กระเพื่อมอย่างหนักขณะนี้ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของประชาชนจากหลายภาคส่วนที่ไม่พอใจ กับสิ่งที่แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประเทศไทย

'วิสุทธิ์' ลั่นไม่กังวลใครจะอยู่หรือไป เสียงรัฐบาลตอนนี้ 270-280 แล้ว

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ขอให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ไม่เช่นนั้นจะถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ว่า ตนไม่ทราบว่าเขาพูดจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม

‘วิทยา’ ย้ำมติ รทสช.ให้เปลี่ยนนายกฯ ชี้อยู่ต่อไม่เกิน 3 เดือน-จริยธรรมจ่อถล่ม

รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ระบุเปลี่ยนนายกฯ คือทางรอดของพรรค ชี้ “แพทองธาร” หมดคุณสมบัติ รอดยากทั้งทางการเมืองและกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องรอผ่านงบฯ 69 เชื่อปัญหาจริยธรรมตามมาเป็นขบวน

'พีระพันธุ์' ชี้ชะตารัฐบาลอิ๊งค์ สมชัยชี้วินาทีเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

สมชัย ศรีสุทธิยากร ชี้ หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ คือผู้กุมชะตารัฐบาลแพทองธาร ย้ำ หากพีรพันธุ์เลือกถอนตัว จะเป็นจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ก

คลิปหลานฮุนเซนสะเทือน ปชป. 'ชนินทร์' ยื่นทบทวนร่วมรัฐบาล สก.กรุงเทพทยอยไขก๊อก

ชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาฯ ปชป. ร่อนหนังสือถึงหัวหน้าพรรค ขอประชุมทบทวนมติร่วมรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง ชี้ประชาชนไม่พอใจ-ฐานเสียงไหล ล่าสุด ส.ก.บางกอกน้อยลาออกกลางกระแสต้านนายกฯ ปมคลิปสนทนาฮุนเซน

'ดิเรกฤทธิ์' ชี้ 4 คดีรุม นายกฯ ไม่ลาออก รัฐบาลก็ไปไม่รอด

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย โพสต์เตือนจับตา 4 คดีใหญ่ที่รายล้อมนายกรัฐมนตรี ทั้งคดีอาญา-รัฐธรรมนูญ-ความมั่นคง ย้ำหากยังฝืนอยู่ในตำแหน่ง รัฐบาลชุดนี้ก็ไปต่อไม่ได้