กลายเป็นกระแสที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง สำหรับ “มหกรรมสุขเต็มสิบ” งานใหญ่แห่งปีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเปิดสะพานทศมราชัน โดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ตั้งใจมอบประสบการณ์สุดพิเศษให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมฟรี ระหว่างวันที่ 10-19 มกราคม 2568 บนสะพานแห่งความภาคภูมิใจของไทย ก่อนเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ วันที่ 29 มกราคม 2568
สำหรับ สะพานทศมราชัน หรือสะพานพระราม 10 เดิมทีสะพานแห่งนี้มีชื่อว่า สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อสะพานนี้ว่า “ทศมราชัน” ซึ่งหมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้พิจารณากำหนดให้สะพานแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล คือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ซึ่ง สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ระบุว่า สะพานทศมราชัน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2563 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ถูกออกแบบและก่อสร้างเป็นสะพานคู่ขนานแห่งแรกของประเทศไทย มีความกว้างราว 42 เมตร ตัวสะพานมีความยาว 781.20 เมตร ช่วงกลางสะพานมีความยาว 450 เมตร รวมความยาวทั้งหมดของสะพาน ยาว 2 กิโลเมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 41 เมตร บริเวณเสาขึงมีความสูง 87 เมตร ทำให้สะพานพระราม 10 แห่งนี้มีความสูงเทียบเท่ากับสะพานพระราม 9 ที่ตั้งตระหง่านคู่กัน และยังกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่
สะพานทศมราชัน เป็นสะพานขึงเสาคู่ สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการก่อสร้างทางวิศวกรรมขั้นสูง สามารถรองรับแรงลมได้มากถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่าความแรงของพายุทอร์นาโด รองรับเหตุแผ่นดินไหวหรือพายุ และยังได้รับการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานความเป็นไทย ทั้งงานประติมากรรมที่มีรูปแบบการตกแต่งเป็นการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 อาทิ ประติมากรรมพญานาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปีมะโรง นักษัตรประจำปีพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเสาขึงรั้วกันกระโดด ที่สื่อถึงต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์” สุรเชษฐ์ กล่าว
สุรเชษฐ์ ยังกล่าวอีกว่า สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก เชื่อมต่อกับทั้งทางด่วนศรีรัชและเฉลิมมหานครโดยตรง โดยฝั่งธนบุรีจะเริ่มต้นที่เชิงลาดสะพานพระราม 9 ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ ส่วนฝั่งพระนครจะเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา มีระยะทางโครงการรวม 2 กิโลเมตร
ทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ สามารถใช้ทางขึ้นบริเวณด่านสุขสวัสดิ์ ถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อใช้งานสะพาน โดยสามารถวิ่งเข้าสู่ทางพิเศษเฉลิมมหานคร มุ่งหน้าบางนา-ดินแดง และทางพิเศษศรีรัช มุ่งหน้าแจ้งวัฒนะ-ถนนพระราม 9 บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคล่ ส่วนทิศทางขาออกกรุงเทพฯ สามารถใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ผ่านจุดเชื่อมต่อเข้ามาที่สะพาน บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคล่ และลงที่ทางลงบริเวณด่านสุขสวัสดิ์ เพื่อไปถนนพระรามที่ 2 ได้
สุรเชษฐ์ ยังให้ข้อมูลว่า เพื่อเฉลิมฉลองสะพานทศมราชัน กทพ.ได้จัดงานมหกรรมสุขเต็มสิบ ระหว่างวันที่ 10-19 มกราคม 2568 เวลา 16.00-22.00 น. นอกจากจะเป็นโอกาสสำคัญในการสัมผัสสะพานทศมราชันจากมุมมองใหม่แล้ว ยังเต็มไปด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการลิ้มลองอาหารเลิศรส ชมการแสดงดนตรีสดจากศิลปินชื่อดัง และดินเนอร์ชิลๆ บนสะพาน ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญครั้งหนึ่งที่ประชาชนจะได้สัมผัสสะพานทศมราชันในบรรยากาศเทศกาลอันน่าประทับใจ
พร้อมทั้งขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งสร้างประวัติศาสตร์บนสะพานทศมราชัน เพื่อเฉลิมฉลองส่งท้ายความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 26 มกราคม 2568 ค่าสมัครเพียง 499 บาท ผู้สมัคร 10,010 คนแรกจะได้รับเสื้อ Finisher และเหรียญที่ระลึกทันทีหลังเข้าเส้นชัย สำหรับอันดับท็อป 100 คนแรก (ชาย 100 คน หญิง 100 คน) จะได้รับเหรียญที่ระลึกปี 2530 ซึ่งเป็นปีที่เปิดสะพานพระราม 9 ส่วนผู้สมัครอื่นๆ จะได้รับของที่ระลึกโดยจัดส่งถึงบ้านทางไปรษณีย์ภายใน 30 วันหลังจบงาน ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งสร้างประวัติศาสตร์บนสะพานทศมราชันได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://race.thai.run/SukTem10.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชูภารกิจปั้น“กรมธนารักษ์”ยุคใหม่! เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ปั๊มMaster Planยกระดับทรัพย์สินรัฐ
“กรมธนารักษ์” ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่มีภารกิจสำคัญทั้งในเรื่องการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ และพัฒนาที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ
“กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา”พลิกฟื้นรถเมล์ไทย เปลี่ยนถ่ายยุคสันดาปสู่พลังงานสะอาดลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คงต้องบอกว่าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หลายๆ ท่านคงได้หยุดพักผ่อนกัน แต่สำหรับไทยโพสต์ยังคงไม่หยุดที่จะหาสาระดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง
‘วรวุฒิ กิตติอุดม’เพราะกล้าที่จะก้าวจากComfort Zone เดินหน้าหาโอกาสทางธุรกิจในวงการอสังหาฯ
หากพูดถึงนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและสามารถพลิกโฉมอุตสาหกรรมได้ “นายวรวุฒิ กิตติอุดม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โลนด์ ดีดี จำกัด (LOAN DD) คือหนึ่งในบุคคลที่ต้องจับตามอง
เปิดแนวคิด‘สอน.’ปรับพันธุ์อ้อย เพิ่มประสิทธิภาพ‘ลดเผา ลดฝุ่น!’
“ฝุ่นพิษ” หรือ PM2.5 ในช่วง 4-5 ปีก่อนคนอาจจะมองเป็นเรื่องเล็กน้อย และยังไม่ค่อยให้ความสนใจ แถมใช้ชีวิตกันอย่างปกติ แต่ในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันสถานการณ์เรื่องฝุ่นโหมหนักขึ้น จนสร้างผลกระทบหนักให้กับการใช้ชีวิตของคนในสังคมอย่าง