เรื่องจริงจากปาก

กูรูฟันธงว่านับถอยหลัง

สาเหตุเพราะ สภาล่ม!

ต้องยุบสภาแน่ๆ ในเร็วๆ นี้

ทายถูกแต่ไม่หมด

ถึงสภาไม่ล่มก็มีโอกาสยุบสภาในเร็วๆ นี้เช่นกัน

ขณะเดียวกัน ต่อให้สภาล่มทุกวัน สภาชุดนี้ก็สามารถอยู่ครบวาระ โดยไม่มีการยุบสภาได้เช่นกัน

ฉะนั้้นสภาจะล่มหรือไม่ล่ม จะยุบสภาหรือไม่ วันที่ ๗  กุมภาพันธ์นี้ ใครคิดจะย้ายพรรคก็รีบย้ายให้เสร็จสิ้น

เพราะหลังวันที่ ๗ หากไม่มีการยุบสภา ต้องอยู่พรรคเดิม ย้ายพรรคไม่ได้แล้ว เนื่องจากติดเงื่อนไขการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ๙๐ วัน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง

เรื่องสภาล่มต้องทำใจครับ ๑ เดือนนับนี้จะล่มทุกสัปดาห์ และจะไม่มีกฎหมายใดๆ ออกจากสภาชุดนี้อีกแล้ว

ถือว่าจบแล้ว!

รอสภาชุดต่อไปสถานเดียว

เรื่องสภาล่มก็อย่าไปโทษใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งวุฒิสภาในบางกรณี ล้วนจงใจทำให้สภาล่มด้วยกันทั้งนั้น

อยู่ที่เกมในแต่ละสัปดาห์ว่าใครจะเป็นผู้ทำให้ล่ม  ฉะนั้นต้องโทษทุกฝ่าย

ที่สำคัญในทางการเมือง นายกฯ รองนายกฯ รัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการถี่ยิบ แบบนี้ ส.ส.พรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามสะดุ้งซิครับ

แล้วใครจะไปอยู่เฝ้าสภาให้เสียเปรียบ

นักการเมืองเขาคิดกันแบบนั้นครับ

แต่ประชาชนเจ้าของภาษีไม่สนุกด้วย

เหมือนจ้างยามเฝ้าบ้าน แล้วดันหลับยาม ปล่อยขโมยขึ้นบ้าน 

เสียตังค์เปล่า ไม่มีอะไรงอกเงย

อย่างที่บอกต้องทำใจ 

สถานการณ์แบบนี้จะจบหลังเลือกตั้งมีสภาชุดใหม่   หากไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ การเข้าประชุมสภาของส.ส.ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ

ไปดูการตรวจราชการและการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีเส้นบางๆ แยกกันไม่ค่อยออกหรอกครับ แต่มันเป็นมานานหลายทศวรรษ

"ลุงตู่" เริ่มเป็นแล้ว!

เป็นนักการเมืองครับ

 วานนี้ (๓ กุมภาพันธ์) "นายกฯ ลุงตู่" ยกคณะไปแม่กลอง

ไปหารือแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างมูลค่า และยกระดับรายได้ของประชาชน จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมรับฟังปัญหาต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกร ทั้งเรื่องประมง  เรื่องปัญหานาเกลือ เรื่องปัญหาสวนมะพร้าว และผลไม้ทั้งส้มโอและลิ้นจี่

แบบนี้ฝ่ายเขาเรียกว่าไปหาเสียง 

เอาเข้าจริงทุกรัฐบาลก็ลงพื้นที่แบบนี้แหละครับ พรรคระบอบทักษิณก็เคยทำ

แต่มีสิ่งที่ไม่เหมือน

คือทัศนคติต่อพื้นที่ของผู้นำประเทศ

"ลุงตู่" ไปพูดที่แม่กลองว่า

 “..ผมเข้าใจ แต่เมื่อกี้ไม่ชอบอยู่อย่างหนึ่งคือ ที่พวกท่านพูดว่า จะยินดีให้ผมเป็นนายกฯ อีก ๒ ปี หากสามารถแก้ปัญหาให้ได้ ไม่จำเป็นหรอก ไม่จำเป็น ผมต้องการทำงานให้กับประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ผมเป็นนายกฯ ที่คิดถึงคนทั้งประเทศ ผมบอกได้แค่นี้แล้วกัน.."

บางคนได้ยินคงถึงขั้นสำลัก

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ "ทักษิณ ชินวัตร" ไปมอบหนังสือแสดงสิทธิสัญญาเช่าที่ราชพัสดุให้แก่ประชาชนตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ที่นครสวรรค์ วันนั้น "ทักษิณ" พูดกับชาวบ้านว่า

"...ต้องถือว่าจังหวัดนครสวรรค์ได้มอบความไว้วางใจให้กับรัฐบาล โดยเลือก ส.ส.รัฐบาลทั้งจังหวัด แน่นอน อันนี้ตรงไปตรงมา ต้องได้สิทธิดูแลเป็นพิเศษ

ผมตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่เราต้องดูแลคนทั้งประเทศด้วย แต่เวลาจำกัด ต้องเอาเวลาไปจังหวัดที่เราได้รับความไว้วางใจมากเป็นพิเศษ จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยต้องเอาไว้ทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป คิวต้องเรียงอย่างนี้

ผมเป็นคนพูดตรงไปตรงมา เปิดเผย สื่อมวลชนอยู่ต้องเปิดเผย ไม่มีความลับสำหรับผม วันนี้คิดกับประชาชนอย่างไร ก็อยากเห็นคนทั้งประเทศไม่ว่าอยู่ที่ไหน เลือกหรือไม่เลือกผม ก็อยากให้ทุกคนหายจน แต่เนื่องจากเวลาจำกัดก็ต้องไล่ลำดับกันไป แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำเหมือนกันหมดทั่วประเทศ...”

ยกมาเปรียบเทียบให้เห็น คนหนึ่งบอกว่าตัวเองคือฝ่ายประชาธิปไตยตัวท็อป อีกฝ่ายถูกด่าเป็นเผด็จการสืบทอดอำนาจ

สร้างภาพไปมันก็แค่นั้น

ทุกอย่างมันอยู่ในคำพูดนั่นแหละครับ

ใครแบ่งประชาชน ใครไม่แบ่ง

ใครของปลอม ใครของจริง

ยังมีเรื่องจริงกับปลอมอีกเรื่้องที่อยากพูดถึง เพราะสิ่งที่ปรากฏตามโซเชียล กับข้อเท็จจริงนั้นมันต่างกันหน้ามือเป็นหลังเท้า

ถ้าไม่ได้ "สรวิศ ลิมปรังษี" โฆษกศาลยุติธรรมแถลงข่าว คงไม่รู้ความจริงกันครับ

แต่ความเท็จมันก็ขยายตัวไปเร็วเหลือเกิน ถูกหลอกกันหมด

ความจริงที่เรารู้กันอยู่แล้วคือ "แบม" และ "ตะวัน" ขอถอนประกันตัวเอง แล้วประกาศท้าทายสู้แบบพลีชีพอดอาหารประท้วงในเรือนจำ ให้ยกเลิก ม.๑๑๒ เพราะ  ม.๑๑๒ คือต้นเหตุของปัญหา

ที่ โฆษกศาลยุติธรรม แถลงคือข้อมูลที่ฝ่ายสนับสนุน  "แบม" และ "ตะวัน" ไม่เคยพูดถึง โดยเฉพาะทีมทนายความ รวมไปถึงพรรคก้าวไกลที่ดูแลทั้งคู่อยู่

"...แม้นางสาว ท.จะยินยอมสวมกำไล EM และยอมรับเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถาน แต่ก็ได้รับอนุญาตจากศาลให้ไปทำกิจธุระหรือแม้แต่การไปเที่ยวพักผ่อนได้ตามสมควร ซึ่งนางสาว ท.ได้ขออนุญาตศาลไปทำกิจธุระรวม  ๑๙ ครั้ง ศาลอาญาได้พิจารณาอนุญาตถึง ๑๔ ครั้ง เช่น นำคอมพิวเตอร์ไปซ่อม ทำบัตรประจำตัวประชาชน ตัดชุดกระโปรงนักศึกษา ซื้อเอกสารประกอบการเรียน ไปเที่ยวจังหวัดระยอง เล่นบอร์ดเกม ฉลองหลังสอบเสร็จ ชมงานศิลปะ โดยศาลไม่อนุญาตเพียง ๕ ครั้ง ด้วยเหตุกิจกรรมที่ขออนุญาตไปดำเนินการ มีลักษณะที่จะผิดเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราว..."

ฉะนั้นถ้าไม่ถอนประกันตัวเอง ก็ยังสามารถไปเที่ยวไปเล่นเกมได้

ข้ออ้างที่ว่าต่อสู้เพื่อคนต้องคดี ม.๑๑๒ นี่ก็มาจากความเข้าใจที่ คลาดเคลื่อนอย่างมาก

ข้อมูลที่ โฆษกศาลยุติธรรม ให้มามีดังนี้ครับ

"...ในคดี ๑๑๒ ปัจจุบันในศาลอาญามีการปล่อยชั่วคราวเกือบทุกคดี

มีเพิกถอนปล่อยชั่วคราว ๓ คดี เนื่องจากมีการกระทำผิดเงื่อนไข อีกสองคดีเป็นคดีที่มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ทั้งสามคดีนี้ไม่รวมคดีของตะวันและแบมที่ยื่นขอถอนประกันตัวเอง

ที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันเลยมีแค่คดีเดียว

แต่ส่วนที่มีปัญหาคือเป็นคดี ๑๑๒ บวกกับความผิดข้อหาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย เช่นวางเพลิงวัตถุระเบิดซึ่งมีหลายคดี ซึ่งจะเห็นว่าพฤติการณ์แต่ละคดีจะไม่เหมือนกัน ถ้าเฉพาะมาตรา ๑๑๒ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้ารวมข้อหาวางเพลิงมีวัตถุระเบิดต่อสู้ขัดขวางก็จะต้องแยก..."

ครับ...การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพอย่างน้อยๆ ต้องเริ่มจากความจริงก่อน

หากบิดเบือนจับแพะชนแกะตั้งแต่แรก เมื่อความจริงปรากฏขึ้่นมามันจะหมดราคา

ถ้าจะให้ปล่อยตัวคนมีระเบิด วางเพลิง ก็ต้องปล่อยให้หมดทั่วประเทศ เพราะเป็นความผิดฐานเดียวกัน

จะเอาแบบนี้หรือเปล่า?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หนีล้มเจ้า' ปะ 'โกงคุก'

น่าจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกันเยอะพอควร ไม่ชอบ "ระบอบทักษิณ" แต่ไม่ไว้ใจ "ขบวนการล้มเจ้า" กัดฟันยอมเห็นพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลแทนพรรคก้าวไกล

ผิด 'ทักษิณ' ที่ล้างไม่หมด

มันเหลือเชื่อมั้ยล่ะครับ.... เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี่เอง "ประยุทธ เพชรคุณ" โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นั่งแถลงข่าวพูดถึงอาการของ "นักโทษชายทักษิณ" ว่าป่วยขั้นวิกฤต

๑ ประเทศ ๒ นายกฯ

มีคนสงสัยว่า "นักโทษชายทักษิณ" ออกนอกบ้านจันทร์ส่องหล้าได้หรือ

ปรากฏการณ์ทักษิณ

หวังว่าคงอยู่สุขสบายดีนะครับ ไม่ได้หมายถึง "นักโทษชายทักษิณ" แต่เป็น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กับ หมอใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

ยุบพรรค-ล้มล้าง

คำพูดสะท้อนแนวคิด วานนี้ (๑๓ มีนาคม) "ชัยธวัช ตุลาธน" เผยตัวตนที่แท้จริง ว่ามีแนวความคิดอย่างไรกับสถาบันพระมหากษัตริย์

ซีรีส์ยุบก้าวไกล

ถึงบางอ้อสิครับ... วานนี้ (๑๒ มีนาคม) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์