เพราะเกาหลีเจริญกว่า

ตามดูห่างๆ มาหลายวัน

ไม่ใช่ "โอมิครอน"

ไม่ใช่ความเคลื่อนไหวทางการเมือง  

แต่เป็นเรื่องของ "ลูกหนัง ศีตลา"

นับวันสังคมไทยถอยห่างออกจากคำว่า "เหตุผล" มากขึ้นเรื่อยๆ

มีแต่เรื่อง "ชอบ" กับ "ไม่ชอบ"

ใช้อารมณ์นำหน้าในแทบทุกเรื่อง

เมื่อผสมโรงกับความขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งฝักฝ่าย แทบทุกอย่างจึงถูกแบ่งโดย ความชอบ หรือ ไม่ชอบ ทางการเมือง

สุดท้ายมักไปจบที่ปรากฏการณ์ศาลเตี้ยในโซเชียล

ต้องขยี้ให้ตายกันไปข้าง

ครับ... “ลูกหนัง ศีตลา” ลูกสาว "ตั้ว ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” กับ "เปิ้ล หัทยา วงษ์กระจ่าง" กำลังเดบิวต์เป็นไอดอลเกาหลี วง H1-KEY

แต่ถูกกลุ่มที่มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกับ "ตั้ว  ศรัณยู" โจมตีว่า เคยร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เป็นพวกสนับสนุนรัฐประหาร

น่าแปลกใจ คนรุ่นใหม่เชื่อง่าย หูเบา ถูกจูงจมูกไปทางไหนก็ไปทางนั้น ไม่ต่างวัวควายถูกจูงไปท้องไร่ท้องนา

วัว ควาย ยังดีที่ถูกจูงไปทำนา

แต่คนรุ่นใหม่ถูกจูงไปลดค่าความเป็นคนของตัวเอง

ย้อนกลับไปดูการร่วมชุมนุมของ "ตั้ว ศรัณยู" ก็เพื่อไล่รัฐบาลขี้โกง

ยุคนั้นระบอบทักษิณโคตรโกง โกงทั้งโคตร คนรุ่นใหม่อาจไม่ทราบ เพราะตัวเองโตไม่ทัน แต่ก็แปลกใจทำไมถึงเชื่อเป็นตุเป็นตะว่า "ตั้ว ศรัณยู" เป็นขี้ข้าเผด็จการ ทั้งๆ ที่ต่อสู้กับรัฐบาลขี้โกง

น้อยคนครับที่จะสู้กับรัฐบาลโคตรโกงแล้วเต็มใจต้อนรับรัฐบาลรัฐประหาร 

คนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับระบอบทักษิณ เข้าใจดีว่า ประชาธิปไตยคืออะไร และทุกคนล้วนต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย

แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ เนื้อในคือเผด็จการ

จนถึงทุกวันนี้ พรรคเพื่อไทย ยังอยู่ในวังวนประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ เนื้อในเป็นเผด็จการ บงการโดย  "ทักษิณ ชินวัตร"

ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรฯ หรือ กปปส. ต่างก็ไม่ได้มีเป้าหมายการต่อสู้เพื่อให้เกิดการรัฐประหาร

แต่การรัฐประหารคือภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากรัฐบาลโคตรโกง

ฉะนั้นไม่เป็นธรรมเลย ที่คนรุ่นใหม่จะตั้งข้อหา “ลูกหนัง  ศีตลา” คือลูกสาวของขี้ข้าเผด็จการ และพยายามทำทุกวิถีทาง ไม่ให้ “ลูกหนัง ศีตลา” ได้แจ้งเกิดที่เกาหลีใต้

สื่อไทยบางสำนัก พยายามโหมกระพือว่า เกิดประเด็นลุกลามใหญ่โตที่เกาหลีใต้

ชาวเน็ตและสำนักข่าวของเกาหลี เริ่มนำเสนอข่าว และ กระแส แบน “ลูกหนัง ศีตลา”

อ้างว่าชาวเน็ตเกาหลีบางส่วนเรียกร้องให้ถอดเธอออกจากวง

รวมถึง สื่อเกาหลีบางสำนัก ถึงกับพาดหัวข่าวว่า "เปิดตัวลูกสาวจอมเผด็จการ"

ผมอ่านเจอประเด็น "เปิดตัวลูกสาวจอมเผด็จการ" จึงอยากแสดงความเห็นบ้าง เพราะมันเลยเถิด เกินเลยจากความจริงไปมาก

มีความพยายามจะบอกว่า คนเกาหลีใต้เกลียดเผด็จการ ฉะนั้นใครก็ตามในประเทศไทยที่สนับสนุนเผด็จการจะเป็นที่รังเกียจของคนเกาหลีใต้ด้วย 

ตรรกะนี้ป่วยตั้งแต่ไปบูลลีว่าคนนั้นคนนี้สนับสนุนเผด็จการแล้ว

แต่ก็มีบางประเด็นอยากจะแลกเปลี่ยน เผื่อจะรู้ความจริงว่า คนเกาหลีใต้เขาคิดอย่างไร กับ เผด็จการ

แน่นอนครับในโลกนี้น้อยคนที่จะชอบเผด็จการ

คนเกาหลีใต้ คนไทย ส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบเผด็จการ โดยเฉพาะไทย เราเจอมาทั้งเผด็จการทหาร เผด็จการรัฐสภาโดยระบอบทักษิณ

มันเข็ดขยาด!

แต่บางทีเรื่องราวมันซับซ้อน จนคนไทยประเมินสถานการณ์ในเกาหลีใต้ไม่ถูก ไม่แน่ใจว่าคนเกาหลีใต้ตัดสินใจบางเรื่องราวภายใต้เงื่อนไขอะไร

อย่างที่บอก ผมติดใจกับคำว่า "เปิดตัวลูกสาวจอมเผด็จการ"

คนไทยน่าจะรู้จัก "พัค กึน-ฮเย" ประธานาธิบดี หญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ดีในระดับหนึ่ง เพราะบางแง่มุมของเธอคล้าย "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

"พัค กึน-ฮเย" ประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกถอดถอนจากการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภา และได้รับการรับรองโดยศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้

ศาลฎีกาเกาหลีใต้ พิพากษา จำคุก "พัค กึน-ฮเย" เป็นเวลา ๒๐ ปี

นอกจากนี้ศาลยังสั่งปรับเงินจำนวน ๑๘,๐๐๐ ล้านวอน  หรือประมาณ ๕๐๐ ล้านบาท ฐานฉ้อโกง ติดสินบน และใช้อำนาจในทางมิชอบ

ก่อนคิดคุก ปี ๒๕๕๗ "พัค กึน-ฮเย" ถูก นิตยสารฟอร์บส์ จัดลำดับให้เป็นสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ลำดับที่ ๔๖

และเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชียตะวันออก

ประเด็นที่จะพูดถึงคือ "พัค กึน-ฮเย" เป็นลูกสาว พัค  ชอง-ฮี อดีตผู้นำเผด็จการของเกาหลีใต้

"พัค ชอง-ฮี" อยู่ในอำนาจระหว่างปี ๒๕๐๔-๒๕๒๒  ใกล้เคียงกับยุคเผด็จการทหาร ถนอม, ณรงค์, ประภาส ของไทย

ขึ้นสู่อำนาจ จากการทำรัฐประหาร

ควบคุมประเทศด้วยกฎอันเข้มงวดยาวนานถึง ๑๘ ปี

กระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ค.ศ.๒๕๒๒

แต่ "พัค ชอง-ฮี" ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่นำพาเกาหลีไปสู่ยุคอุตสาหกรรมและเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปที่การส่งออกเป็นหลัก

ฉะนั้น หากพูดว่า "เปิดตัวลูกสาวจอมเผด็จการ" อย่างไรเสีย "พัค กึน-ฮเย" เข้าเค้ามากกว่า “ลูกหนัง ศีตลา”

อย่าลืมนะครับคนเกาหลีใต้เลือก "พัค กึน-ฮเย" เป็นประธานาธิบดีเมื่อปี ๒๕๕๖ นี่เอง ช่วงใกล้เคียงกับคนไทยเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ณ เวลานั้นทั้งคนเกาหลีใต้ และคนไทย ต่างก็แยกแยะได้ว่า เผด็จการ กับ ประชาธิปไตย ต่างกันอย่างไร 

คนเกาหลีใต้ไม่ได้ลึกซึ้งการเมืองไทย ถึงขนาดสรุปว่า ลูกสาวแกนนำผู้ชุมนุมไล่รัฐบาลขี้โกงคนหนึ่ง คือลูกสาวเผด็จการ ต้องขวางไม่ให้ไปต่อ

ฉะนั้นการบอกว่าคนเกาหลีใต้ พากันแบน “ลูกหนัง ศีตลา” เพราะไม่ชอบ "ลูกสาวจอมเผด็จการ" จึงฟังดูแล้ว ไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก

และความจริงเป็นการยัดเยียดว่า “ลูกหนัง ศีตลา” เป็น "ลูกสาวจอมเผด็จการ" ด้วยซ้ำ

หลังฝุ่นตลบ ทางค่ายเพลงเกาหลีใต้ "แกรนด์ไลน์ กรุ๊ป" น่าจะแยกแยะได้แล้วว่า อะไรเป็นอะไร

แถลงการณ์ของ "แกรนด์ไลน์ กรุ๊ป" น่าจะทำให้คนไทยบางพวกดิ้นพล่านพอควร

"...อันดับแรกต้องขอโทษอย่างยิ่งต่อทุกคนที่อาจเจ็บปวด หรือไม่พอใจจากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เพิ่งเกิดขึ้น จากความซับซ้อนของประเด็นดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับศีตลา ซึ่งเป็นสมาชิกวง H1-KEY และการที่บิดาผู้ล่วงลับของเธอข้องเกี่ยวกับกิจการต่างๆ เช่น การเมือง รัฐบาล เศรษฐกิจ และสังคมไทย จึงต้องใช้เวลาสำหรับต้นสังกัดในการทำความเข้าใจปัญหาอย่างรอบด้าน และระมัดระวังอย่างมากในการจัดการกับประเด็นนี้

หลังการตรวจสอบรายละเอียดแล้ว ทางค่ายก็ตัดสินใจว่าจะเป็นเรื่องไม่ถูกหากให้ศีตลาอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบโดยลำพังจากการกระทำของบิดาผู้ล่วงลับ โดยเชื่อว่าจะเป็นเรื่องสุดโต่งเกินไปที่จะให้ศีตลาต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เธอไม่ได้มีบทบาทในนั้น ดังนั้น จึงตัดสินใจว่าจะไม่มีการเปลี่ยนตัวสมาชิกวง H1-KEY

ที่ศีตลาบอกว่าเลือกพ่อเป็นต้นแบบนั้น เป็นเพราะว่าพ่อของเธอเป็นนักแสดงและผู้กำกับที่ได้รับความเคารพมาอย่างยาวนานในสายงานบันเทิง ไม่ใช่เพราะกิจกรรมทางการเมืองของเขา

ศีตลาที่ทางค่ายรู้จักเป็นคนที่ซื่อสัตย์และมีมารยาทดี  เธอรักบ้านเกิดของตัวเอง ภูมิใจในวัฒนธรรมและคนไทย  เธอบอกอยู่เสมอว่าหนึ่งในแรงจูงใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับความสำเร็จของเธอ คือทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักจากคนทั่วโลกมากขึ้น..."

ครับ...ชัดเจน

ทัศนคติ การมองปัญหา เกาหลีใต้เขาแยกแยะเรื่องราวได้ดีกว่าคนไทยครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มันมากับความเงียบ

งานเลี้ยงใกล้เลิกรา... สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงเดือนพฤษภาคมนี้แล้วครับ

แผนแทรกแซงกองทัพ

ก็ยังไม่เห็นว่าหน้าตาชัดๆ เป็นอย่างไร หมายถึงกฎหมายต้านการปฏิวัติรัฐประหารครับ

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ

นักการเมืองคนไหนที่บอกว่า "รวยพอแล้ว" อย่าไปเชื่อ เพราะถ้าพอจะไม่แสวงอำนาจการเมือง

นายทุนก้าวไกล

เริ่มต้นด้วยเรื่องเงินๆ ทองๆ วานนี้ (๑๗ เมษายน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปยอดเงินบริจาคของพรรคการเมือง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ทั้งสิ้น ๑๓ พรรคการเมือง