พปชร.แตกแยก เหตุแห่งการยุบสภา

การเมืองช่วงนี้วนลูปอยู่กับอาฟเตอร์ช็อกจากศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ กลุ่มก่อการล้ม “บิ๊กตู่”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่สำเร็จ ก็ต้องเป็นกบฏ และอีกฝ่ายย่อมต้องเอาคืนเป็นธรรมดา

แต่การเอาคืนกันไปมาไม่รู้จักจบสิ้น ทำให้ “พรรคพลังประชารัฐ” เกิดความแตกแยก

เมื่อ “พลังประชารัฐ” ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลแบ่งเป็นก๊ก ย่อมส่งผลกระทบถึงภาพรวมการบริหารประเทศ และการทำงานในสภาฯ

วันนี้อาจยังไม่ชัดเจนว่า “ยุบสภา” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุการณ์ก่อกบฏเกิดขึ้นได้ไม่เท่าไหร่ก็ปิดสมัยประชุมรัฐสภา

แต่ๆๆ อีกเดือนนิดหน่อยก็จะเริ่มเปิดประชุมอีกสมัยหนึ่ง หากในวันนั้นการโหวตกฎหมายใดๆ เริ่มมีอุปสรรค นั่นแหละคือ “สัญญาณ” ฉะนั้น ระหว่างนี้จึงเป็นเวลาทอง สมานแผลระหว่างคนของ

“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” กับคนของ “พล.ประยุทธ์”

ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าในการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งสำคัญที่ต้องจับตา เพราะเป็นการวางกติกาใหม่ในการเลือกตั้งรอบหน้า ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองช่วงชิงเขียนกติกานี้ให้ตัวเองได้เปรียบมากที่สุด

เสียงส่วนใหญ่มองตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 เปลี่ยนไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และมาตรา 91 การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรัฐสภามีมติเห็นชอบในวาระ 3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ก.ย. จะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับมาผงาดอีกครั้ง เผลอๆ เพื่อไทยจะแลนสไลด์เสียด้วย

แต่หนทางทางการเมืองมันยากเย็นกว่านั้น เพราะยังมีอีกด่านที่จะต้องฟาดฟันกัน คือการออกแบบวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ในกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส.นั่นเอง

หากไม่มีผู้ใดนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติเห็นชอบไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อพ้นกำหนดยื่นเรื่องของให้ศาลตีความวินิจฉัย 15 วัน นับจากที่โหวตวาระ 3 กันเรียบร้อย เท่ากับว่าเริ่มต้นเดินหน้ากระบวนการแก้ไขกฎหมายลูก ส.ส.ได้อย่างเป็นทางการ ในที่นี้พ้นกำหนดวันที่ 26 ก.ย.

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้พรรคการเมืองก็มีไอเดียในใจของตัวเองแล้วว่า จะใช้วิธีการคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ จำนวน 100 คน อย่างไร โดยเฉพาะการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำว่า ต้องได้คะแนนอย่างน้อยเท่าไหร่ถึงจะได้ ส.ส. 1 คน

ในส่วนของพรรคเพื่อไทยแว่วมาว่ามีหรือไม่มีก็ได้
ส่วนพรรคพลังประชารัฐ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” เปิดเผยว่า ในแนวทางจะใช้เหมือนกับการเลือกตั้งปี 2554 ที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 1% โดยคะแนนเฉลี่ยของบัตรบัญชีรายชื่อของทุกพรรครวมกันทั้งประเทศ มาคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคได้รับ เช่น การเลือกตั้งปี 2554 คะแนนพรรค ได้รวม 3.5 ล้านคะแนน หากคิดฐาน 1% จะเท่ากับ 3.5แสนคะแนน ถือเป็นคะแนนที่นำมาคำนวณเป็น ส.ส.พึงมีของแต่ละพรรค หากพรรคใดได้คะแนนต่ำกว่า 3.5 แสนคะแนน จะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ด้านพรรคประชาธิปัตย์ “ราเมศ รัตนะเชวง” บอกว่า ขอดูทิศทางลมก่อนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะออกแบบอย่างไร เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ทว่า “ราเมศ” กล่าวในเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า “รัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขครั้งล่าสุด ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำเอาไว้ มีแต่เพียงกำหนดว่า การคํานวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อต้องสัมพันธ์กันกับจำนวน ส.ส.เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น คะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อของทุกพรรครวมกันทั้งประเทศมี 40 ล้านคะแนน ก็จะต้องนำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน ไปหาร ผลลัพธ์ คือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน จะต้องใช้ 4 แสนคะแนน จากนั้นจึงนำไปเทียบบัญญัติไตรยางค์กับคะแนนที่พรรคได้รับต่อไป เป็นต้น”

เมื่อสถานการณ์เป็นดั่งข้างต้น จึงดูเหมือนว่าหน้าตากฎหมายลูกฉบับนี้จะเป็นรูปแบบใดขึ้นอยู่กับ ครม. และปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งปัจจัยคือ “พลังประชารัฐ” ที่ตอนนี้ขัดแย้งกันอยู่ จะเล่นแง่ ยืนตรงข้ามกับ ครม. ซึ่งมี “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นหัวโต๊ะ หรือไม่ด้วย
หากพรรคแกนนำรัฐบาลยังเคลียร์สมานใจเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ อุณหภูมิการเมืองในสภาคงจะระอุขึ้นอีกรอบ ในทางเลวร้ายที่สุด แก้ กม.ลูกไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ของใหม่ ส.ส.แบ่งแบบเขตมี 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อมี 100 คน แต่ถ้ากฎหมายลูกที่ต้องแก้ไขเพื่อรองรับรัฐธรรมนูญเกิดอุบัติเหตุกลางคัน และยังคงเป็นแบบเดิม กล่าวคือ ยังคงยึดตัวเลข ส.ส.แบ่งแบบเขต 350 คน และปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน อาจย้อนแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

กวาดสายตาไปทั่วๆ ทุกวันนี้ทุกภาคส่วนของการเมืองเหมือนเตรียมตัวในการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.มีการแก้กติกา ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกฉบับต่างๆ ฝั่งรัฐบาลตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร เคลื่อนไหว ลงพื้นที่พบชาวบ้าน ฝากฝั่งพรรคร่วมรัฐบาลอย่าง “ประชาธิปัตย์” ที่ผ่านมาออนทัวร์ใต้ฝั่งอันดามัน และเร็ววันนี้วางแผนขึ้นเหนือ

ประกอบกับปลดล็อกเลือกตั้งท้องถิ่น สนาม อบจ.ผ่านไปแล้ว และในเดือน พ.ย.กำลังจะเลือกตั้ง อบต. แม้จะสะท้อนความนิยมของพรรคไม่ได้มากเท่าไหร่ แต่ก็พอวัดความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อพรรคนั้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังเหลือสนามใหญ่อย่างการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกหนึ่งสนาม ซึ่งสามารถวัดความนิยมพรรคผ่านผู้สมัครในนามพรรคได้เป็นอย่างดี

ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่ยังพอใจในรัฐบาลนี้ ปีหน้าอาจมีการเลือกตั้งใหญ่ เหมือนที่ “พล.อ.ประวิตร” หลุดปากเมื่อครั้งลงพื้นที่ที่จังหวัดอยุธยาก็ได้ หรือจะอยู่ครบ 4 ปีก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับศิลปะของนายกฯ ตู่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วราวุธ' ลั่น 'ชทพ.' เป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่รับผิดชอบต่อนโยบายที่แถลงต่อสภา

นายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นประธานประชุมสามัญครั้งที่ 1 / 2567 พรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม

'สุทิน' ร่ายยาวครั้งแรกหลังมีชื่อพ้นครม. แจงดราม่า 'ทักษิณ' เมินมาลัย

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความพอใจผลงาน 6-7 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงกระแสข่าวจะถูกปรับออกจากรัฐมนตรี

นายกฯ ยัน ร่วมโต๊ะอาหารเที่ยงกับ 'เอกนัฏ'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับนายกรัฐมนตรีและคณะ

7 เดือน ‘รัฐบาลเศรษฐา’ เผชิญแรงบีบรอบด้าน!

แม้จะยังไม่ผ่านโค้งแรกในการบริหารประเทศของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เริ่มต้นทำงานได้เพียง 7 เดือน แต่ก็เหมือนถูกบีบจากสถานการณ์รอบด้าน ที่เข้ามาท้าทายความสามารถของผู้นำประเทศ อีกทั้งยังมีภาพนายกฯ ทับซ้อนที่ทำให้นายกฯ นิดดูดร็อปลงไป

'ทวี' ยันไม่เคยได้ยิน เพื่อไทยจะเอาตำแหน่งประธานสภาฯ

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีมีกระแสว่าพรรคเพื่อไทยจะขอเก้าอี้ประธานสภา ว่า รัฐธรรมนูญได้มีการเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนถึงการเข้าดำรงตำแหน่งประธานสภาว่าเป็นเรื่องของสภา ส่วนเรื่องคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรี