ลีกุ่มกี่ เร่งเครื่องขยายสินค้าเพื่อสุขภาพ

24 พ.ค. 2566 – นางสาวปรมตา จันทกูล ผู้จัดการธุรกิจ ลีกุมกี่ ในประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 นี้ จะเน้นเปิดตัวสินค้าใหม่ ที่ตอบโจทย์ในกลุ่มโฮเรก้า เนื่องจากเป็นกลุ่มที่กำลังกลับมาเติบโต หลังจากสถานการณ์โควิด -19 คลี่คลาย จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตกันปกติเหมือนเดิมธุรกิจร้านอาหารมีการเติบโต จากก่อนหน้าที่ยอดจำหน่ายในกลุ่มผู้บริโภคที่ทำอาหารรับประทานเองที่บ้านเติบโตสูงเป็นอย่างมาก แต่ในตอนนี้ยอดขายในกลุ่มดังกล่าวเริ่มปรับตัวลดลง ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่กลับมารับประทานอาหารที่สาขากันมากขึ้น

ขณะเดียวกันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้นทำให้สินค้ากลุ่มสุขภาพได้รับความนิยมและเติบโตเป็นอย่างมาก โดยแบรนด์ลีกุมกี่ก็มีสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งสินค้ากลุ่มสุขภาพทำตลาดในเอเชียมาเป็นระยะเวลา5-6 ปีแล้ว ส่วนในไทยเริ่มทำตลาดมาได้ประมาณ 3 ปี โดยเป็นการจัดจำหน่ายในช่องทางฟู้ดเซอร์วิสและมีผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก จึงมีแผนจะขยายไปในช่องทางค้าปลีกให้มากขึ้น ซึ่งในไตรมาส 3 จะมีการเปิดตัวซอสหอยนางรม ไม่ใส่ผงชูรส จากในปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 ตัว

อย่างไรก็ดี บริษัทดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 135 ปี มีการจำหน่ายสินค้าไปมากกว่า 100 ประเทศ ด้วยสินค้ามากกว่า 300 เอสเคยู โดยเข้ามาทำการตลาดที่ประเทศไทยเป็นเวลา 20 ปี และมีสินค้าที่จำหน่ายประมาณ 40 รายการ ผ่านตัวแทนจำหน่าย 2 ราย ได้แก่ ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง และ บริษัท แพนฟู้ด จำกัด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุรินทร์' ยันประกันรายได้ 4 ปี ไม่มีทุจริต ไม่มีเงินรั่วไหล

“จุรินทร์” ชี้ประกันรายได้ 4 ปี ไม่มีทุจริต ไม่มีเงินรั่วไหล เกษตรกรได้ประโยชน์เต็ม ๆ ช่วยดึงราคาสินค้าขึ้น ต่างจากโครงการจำนำสินค้าเกษตร ที่เกิดทุจริตมโหฬาร สร้างความเสียหายเกือบ 1 ล้านล้านบาท ทุกวันนี้ยังชดใช้ไม่จบ หวังรัฐบาลใหม่เอาต่อประกันรายได้

'ณัฐพล' ถกผู้บริหารโตโยต้าแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 วอนเร่งใช้ยูโร 6

"ณัฐพล" ถกผู้บริหารโตโยต้า แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เร่งบังคับใช้มาตรฐานมลพิษรถยนต์ยูโร 6 พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะฝั่งเอกชน ขอให้ทำมาตรการเสริมควบคู่กันไป ดันการใช้งานรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

คลอดแล้ว! ราชกิจจาฯ ประกาศจัดตั้ง 'สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่'

ดีป้า ดัน BDI สำเร็จ หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศจัดตั้ง 'สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่' มุ่งขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ