ไม่กลัวคำขู่ใช้กำลัง ชาวเมียนมานัดสไตรค์-ชุมนุมท้าทายรัฐบาลทหารต่อ


เพิ่มเพื่อน    

ชาวเมียนมาหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมประท้วงในหลายเมืองเมื่อวันจันทร์ ธุรกิจพร้อมใจสไตรค์ ท้าทายคำขู่ของรัฐบาลทหารที่ส่งสัญญาณใกล้หมดความอดทนกับพวก "อนาธิปไตย" หลังจากมีผู้ประท้วงโดนยิงตายไป 3 ศพเมื่อสุดสัปดาห์ กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาจวกยูเอ็น-ต่างชาติแทรกแซงอย่างโจ่งแจ้ง

ผู้ประท้วงชูภาพของนางอองซาน ซูจี และข้อความต้านรัฐประหาร เรียกร้องอารยะขัดขืน ขณะชุมนุมที่เมืองมัณฑะเลย์เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ก.พ. 2564 (Photo by Stringer/Anadolu Agency via Getty Images)

    การเดินขบวนประท้วงและการแสดงอาระขัดขืนต่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ยังคงดำเนินไปอย่างไม่ลดละตามเมืองต่างๆ ทั่วเมียนมา ถึงแม้ว่าเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทางการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงที่มัณฑะเลย์ทำให้มีผู้ชุมนุมโดนยิงด้วยกระสุนจริง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บอีกนับสิบ และมีผู้ประท้วงที่ย่างกุ้งโดนยิงตายด้วย 1 คน

    เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ว่า รัฐบาลทหารเมียนมาส่งสัญญาณอีกด้วยว่าทางการใกล้หมดความอดทนแล้ว ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ ออกอากาศทางสถานีเอ็มอาร์ทีวีเป็นภาษาพม่าพร้อมตัวหนังสือบรรยายภาษาอังกฤษ เตือนผู้ประท้วงว่าอย่าได้ยุยงปลุกปั่นให้เกิด "การจลาจลและอนาธิปไตย"

    "ขณะนี้พวกผู้ประท้วงกำลังยุยงให้ประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่นและเยาวชนที่ถือตามอารมณ์ ก้าวสู่เส้นทางของการเผชิญหน้าที่จะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียชีวิต" แถลงการณ์กล่าว

    ในวันจันทร์ ผู้ประท้วงยังคงออกมาชุมนุมโดยไม่หวั่นเกรงกับคำเตือน ที่ย่างกุ้งมีผู้คนนับหมื่นรวมตัวกันตามจุดชุมนุมใหญ่ รวมถึงที่แยกเลดัน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะวางกำลังตำรวจและรถบรรทุกทหารตามถนนสายต่างๆ จำนวนมาก และปิดกั้นเส้นทางสู่สถานทูตบางประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา

    จอ จอ นักศึกษาวัย 23 ปี กล่าวว่า พวกเตนออกมาวันนี้เพื่อร่วมการประท้วง และจะต่อสู้ไปจนกว่าจะชนะ "เรากังวลเกี่ยวกับการปราบราม แต่เราจะเดินหน้าต่อ พวกเราโกรธกันมาก" นักศึกษามหาวิทยาลัยรายนี้กล่าว

    ผู้ประท้วงอีกคนอายุ 29 บอกกับเอเอฟพีโดยขอปิดชื่อว่า กองทัพยึดอำนาจอย่างไม่ยุติธรรมจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเขาจะต่อสู้จะกว่าจะได้เสรีภาพ, ประชาธิปไตย และความยุติธรรม

    ที่กรุงเนปยีดอ ที่ซึ่งผู้ประท้วงหญิงโดนยิงศีรษะเมื่อกว่า 10 วันก่อนและเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ ประชาชนจำนวนมากมาร่วมพิธีศพของเธอเมื่อวันอาทิตย์ และในวันจันทร์ ผู้คนหลายพันคนออกมาเดินขบวนกันอีก รวมถึงขบวนกองทัพรถจักรยานยนต์

ชาวเมียนมาชุมนุมประท้วงที่มัณฑะเลย์เมื่อวันจันทร์ (Photo by Stringer/Anadolu Agency via Getty Images)

    นอกจากนี้ เอเอฟพีและรอยเตอร์กล่าวว่า ยังมีการประท้วงขนาดใหญ่ในหลายเมือง เช่น มัณฑะเลย์,  มิตจีนาและพะโมในรัฐกะฉิ่นทางภาคเหนือใกล้ชายแดนจีน, ทวายในภาคตะวันออกเฉียงใต้ และที่ปยินมานาในภาคกลาง

    ธุรกิจหลายแห่งในย่างกุ้งและเมืองใหญ่อื่นๆ ปิดกิจการในวันจันทร์ตามเสียงเรียกร้องให้พร้อมใจกันสไตรค์เพื่อสนับสนุนขบวนการอารยะขัดขืน นอกจากธุรกิจท้องถิ่น เครือข่ายธุรกิจข้ามชาติหลายแห่งก็ประกาศปิดบริการชั่วคราวในวันจันทร์ รวมถึงร้านฟาสต์ฟู้ดเคเอฟซีของบริษัท ยัมแบรนด์ และบริการฟู้ดแพนดา ของบริษัท เดลิเวอรีฮีโร่ บริการรับส่งของแกร๊บก็หยุดเช่นกัน ยกเว้นบริการแท็กซี่

    อีกด้านหนึ่ง ทางการเมียนมาจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตช่วงกลางคืนติดต่อกันเป็นคืนที่ 8 เมื่อวันอาทิตย์ ตามข้อมูลจากกลุ่มเน็ตบล็อกส์ ขณะเดียวกัน สมาคมให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมืองเผยว่า มีคนถูกจับกุมเพิ่มเป็น 640 คนแล้วนับจากวันรัฐประหาร ผู้ที่โดนจับรวมถึงเจ้าหน้าที่การรถไฟ, ข้าราชการ และพนักงานธนาคารที่ผละงานประท้วง

    เมื่อวันอาทิตย์ กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาออกแถลงการณ์อ้างว่า เมียนมาใช้ความอดกลั้นจนถึงที่สุดแล้ว และกล่าวหาองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และรัฐบาลหลายประเทศว่าแทรกแซงกิจการภายในของเมียนมาอย่างโจ่งแจ้ง

    "ทั้งที่กำลังเผชิญการเดินขบวนที่ผิดกฎหมาย, ยุยงปลุกปั่นความรุนแรงและความไม่สงบ แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ใช้ความอดกลั้นถึงที่สุด ผ่านการใช้กำลังน้อยที่สุดเพื่อจัดการกับการก่อความวุ่นวาย" คำแถลงกล่าว

    ทั้งนี้ ภายหลังการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงเมื่อวันเสาร์ ก็มีเสียงประณามจากเลขาธิการยูเอ็นและรัฐบาลหลายประเทศ อาทิ สหรัฐ, อังกฤษ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"