'พุทธิพงษ์'หนุน'ดีป้า'ใช้ดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำชี้สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 2.1 หมื่นล้านบาท


เพิ่มเพื่อน    

 

22 ก.พ.2564 นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสำนักงานเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ได้พัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลให้กับนักเรียน นักศึกษา และแรงงานในภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกระดับทั้งแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล  โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลในประเทศ

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2561 - 2564 สามารถสร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 21,000 ล้านบาท ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การพัฒนากำลังคนและเพิ่มศักยภาพบุคลากรดิจิทัลของประเทศ ทั้ง Reskill และ Upskill และการเพิ่มทักษะใหม่ด้านดิจิทัลสำหรับวัยเรียนและผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (New skill) ผ่าน Digital Platform 

พร้อมกันนี้ได้เปิดหลักสูตรสร้างผู้บริหารขององค์กรรัฐและเอกชน กว่า 500 ราย, ผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data ภาครัฐ (Train the Trainer) กว่า 3,000 ราย, การยกระดับคุณภาพและความเชี่ยวชาญกำลังคนและบุคลากรด้านดิจิทัล กว่า 60,000 ราย, สร้างความตระหนัก ด้าน Cyber Security และกฎหมาย กว่า 7,500 ราย, การพัฒนาทักษะ Cybersecurity ขั้นสูงเพื่อเข้าสู่สายงาน White Hackers กว่า 200 ราย, สร้างกำลังคนด้านดิจิทัลในสาขาขาดแคลนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม 23 ราย, พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งแห่งศตวรรษที่ 21 (Coding School Champion) กว่า 100 โรงเรียน, เยาวชนทั่วประเทศ ด้าน Coding และ Stem ไม่ต่ำกว่า 17,000 ราย/ปี, บุคลากรทางการศึกษา กว่า 4,000 ราย นำร่องให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต สร้างมูลค่าการลงทุนราว 2,300 ล้านบาท รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป กว่า 3 ล้านราย เรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

"จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชน สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ผ่าน digital platform ได้สะดวกและตลอดเวลา ทำให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ในการสร้างงานสร้างอาชีพ นำไปสู่การต่อยอด หรือ ริเริ่มธุรกิจบริการด้านดิจิทัล สร้างการแข่งขันกับนานาประเทศได้  รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชน เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,250 ล้านบาท (ข้อมูลผลการสำรวจและประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Impact) จากการดำเนินงานโครงการสำคัญของ สศด. โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)"

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจร ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สนับสนุนผู้ประกอบการ หาบแร่แผงลอย เกษตรกร ชุมชน ประชาชน ได้เข้าถึงและได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจาก Digital Startup ไทยอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ยังผลักดันให้เกิดโครงการ Drone University เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle - UAV) หรือ Drone นำไปสู่การเกิดสถาบันด้าน Drone  เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้พัฒนายิ่งขึ้นต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"