โมเดลพัฒนาผืนป่าพัฒนาแหล่งทำกิน สร้างรายได้ “ชุมชนป่าชายเลนปากน้ำปราณ”


เพิ่มเพื่อน    

 

พืชพันธุ์ และสมุนไพรของไทยถือได้ว่าเป็นของขวัญที่มอบให้แก่ประเทศและประชาชนทุกคน เพราะที่ผ่านมาศาสตร์การรักษาโรคก็จะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั้งนั้น ก่อนที่การรักษาแผนปัจจุบันจะแพร่หลายในประเทศ ปัจจุบันพืชสมุนไพรอาจจะถูกลดบทบาทลงบ้าง แต่เชื่อว่าหลายท่านยังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่เช่นเดิม ขณะที่การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งทางด้านการแพทย์ พืชสมุนไพรจึงถูกนำสรรพคุณไปใช้เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

 

 

พืชสมุนไพรส่วนใหญ่มักจะมาจากป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ หรือมีหลายชนิดที่นำมาปลูกได้ในครัวเรือน แต่น้อยครั้งที่เราจะได้ยินชื่อสมุนไพรที่มาจากพืชที่อยู่ในป่าโกงกาง ซึ่งเป็นแหล่งที่ถ้าพูดถึง ก็อาจจะไม่ได้นึกถึงในส่วนของพืชพันธุ์เท่าไหร่นัก เนื่องจากป่าโกงกางที่คุ้นเคยมักจะเป็นสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์ทะเล หรือเป็นแนวชายป่าที่ป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเล

 

แต่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ดึงเอาคุณสมบัติของพืชพันธุ์ในพื้นที่ป่าชายเลน รวมถึงสมุนไพรไทยที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จักมาแปรรูปและพัฒนาให้มีการใช้งานได้ง่ายขึ้น และยังสามารถสร้างอาชีพให้กับหลายครอบครัวในชุมชนได้อีกด้วย

 

โดยงานทั้งหมดเริ่มขึ้นจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามมกุฎราชกุมารี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีรับมอบโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ในส่วนที่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมดำเนินการปลูก ณ แปลงปลูกป่าเป้าหมาย FPT 29 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2545

 

ในวันดังกล่าว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดำรัสที่สำคัญต่อคณะทำงานตอนหนึ่งว่า “ปลูกป่าแล้วต้องให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย” พระราชดำรัสดังกล่าวนำไปสู่การต่อยอดพัฒนาแปลงปลูกป่าเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.

 

และเพื่อเป็นการสนองพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดจนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ปตท. โดยศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสังคม อาศัยความร่วมมือกับชุมชนขึ้น เพื่อให้ป่าชายเลนในพื้นที่เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการคงอยู่ของทรัพยากรป่าชายเลน นำไปสู่การอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ สิรินาถราชินีจึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนตำบลปากน้ำปราณในอดีต เช่น สรรพคุณด้านสมุนไพร การทำผ้ามัดย้อม และมีการสืบค้นข้อมูลและการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึงของชุมชน และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนปากน้ำปราณและก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ

 

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดรายได้กับชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน และนำรายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนในโครงการเพื่อน้อง เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ ทั้งนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ยังดำเนินงานควบคู่ไปกับการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากร ส่งเสริมให้ฐานทรัพยากรป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน นำไปสู่ความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรและร่วมกันดูแลรักษาให้ยั่งยืน

 

 

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณได้มีสินค้าที่พัฒนามาจากการนำพืชพันธุ์ในพื้นที่มาต่อยอด โดยสินค้าที่โดดเด่น เช่น ขี้ผึ้งสมุนไพรจากต้นสำมะง่า มีสรรพคุณ ต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้รอยฟกช้ำจากแรงกระแทก ยานวดนวดสมุนไพรจากต้นสารภีทะเล มีสรรพคุณลดการอักเสบ ระคายเคืองช่วยระบบการหมุนเวียนเลือด ลดอาการเมื่อยล้า บวม อักเสบของกล้ามเนื้อ และถอนพิษที่เกิดจากแมลง และสัตว์มีพิษกัดต่อย และสบู่สมุนไพรจากต้นขลู่ มีสรรพคุณต้านการอักเสบ ลดอาการคันผิวหนัง ทำให้ผิวชุ่มชื้น

 

รวมถึงการนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างเช่น ปากกาฝักโกงกาง ผลิตจากฝักโกงกางแห้ง หมึกสีน้ำเงิน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าเช็ดหน้าและกระเป๋ามัดย้อมจากใบโกงกางแห้ง เป็นต้น

 

 

การสนับสนุนดังกล่าวต่อยอดมาจากการพัฒนาพื้นที่ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ก่อน เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาป่าแล้ว ป่าก็จะสามารถคืนผลผลิตที่ดีกลับมาสู่มนุษย์ได้ จากความมุ่งมั่นและร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชนปากน้ำปราณ และ ปตท. ที่ตั้งใจจะต่อเติมผืนป่าครั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันชุมชนปากน้ำปราณ มีอาชีพ และกระจายรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อปี จึงเป็นโมเดลสำคัญที่สามารถนำไปใช้งานเพื่อพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับสังคมและประเทศต่อไปอย่างยั่งยืน

 

สามารถร่วมกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ ได้ผ่านทางเฟซบุ๊กผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ ส่วนผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม สามารถติดต่อ คุณสุภารัตน์ ปิ่นแก้วกาญจน์ 081-857-5930


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"